บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,913
เมื่อวาน 1,893
สัปดาห์นี้ 8,493
สัปดาห์ก่อน 13,692
เดือนนี้ 52,648
เดือนก่อน 76,883
ทั้งหมด 4,944,783
  Your IP :3.143.237.203

4 หุ่นยนต์เคลื่อนที่

 

รูปหุ่นยนต์เคลื่อนที่

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      หุ่นยนต์เคลื่อนที่ (Mobile Robots) ข้อด้อยของแขนกลอุตสาหกรรมก็คือไม่สามารถเคลื่อนที่ เคลื่อนย้ายไปมาจากตำแหน่งหนึ่งไปตำแหน่งหนึ่งได้ ทำให้มีข้อจำกัดเกี่ยวกับขอบเขตพื้นที่ทำงาน ซึ่งแตกต่างจากหุ่นยนต์ประเภทเคลื่อนที่ ที่สามารถเดิน หรือวิ่งไปมาได้อย่างอิสระ ส่วนในการควบคุมการทำงานนั้นสามารถควบคุมได้จากระยะไกล ยกตัวอย่างเช่นหุ่นยนต์ที่ถูกส่งไปสำรวจดาวอังคาร

 

 

รูปแสดงหุ่นยนต์สำรวจดาวอังคาร

 

      การเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์นั้นส่วนใหญ่เป็นการเคลื่อนที่ในแนวราบ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเคลื่อนที่ดีที่สุดก็จะเป็น ล้อ, ราง ที่นำมาใช้กับระบบการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ มันสามารถทำงานในภูมิประเทศที่เป็นสภาพทุรกันดาร มีการเคลื่อนที่ได้อย่างต่อเนื่องยิ่งถ้ามีหลายล้อความมีเสถียรภาพในการเคลื่อนที่ก็มีมาก แต่ในปัจจุบันก็มีจำนวนไม่น้อยที่มีการนำขามาใช้กับหุ่นยนต์ ข้อดีของขาก็คือสามารถปรับตัวได้มากกว่า เคลื่อนที่ในทางต่างระดับได้ดีกว่าล้อ เช่นไปตามพื้นที่ขรุขระที่สูงเกินความสามารถของล้อที่วิ่งได้

 

      หลักในการออกแบบขาที่นำมาใช้กับหุ่นยนต์มีการศึกษาทางชีวกายภาพ เพื่อสร้างให้หุ่นสามารถเลียนแบบพฤติกรรมการเดินของมนุษย์ หรือสัตว์

 

 

 

 

 

รูปหุ่นยนต์มีขา

 

วิดีโอหุ่นยนต์เคลื่อนที่ที่ใช้ขา บรรทุกสัมภาระในทางทหาร

 

      กำลังที่หุ่นยนต์เดินด้วยขาใช้อาทิเช่น สเต็ปปิ้งมอเตอร์, กระบอกสูบ หรือมอเตอร์ไฮดรอลิกส์ และนิวแมติกส์ (กรณีที่หุ่นยนต์มีขนาดใหญ่ต้องการกำลังมาก) เหล่านี้นำมาประกอบกับชิ้นส่วนขาให้ชิ้นส่วนขาสามารถทำงานได้คล้ายกับมีแรงส่งจากกล้ามเนื้อ ในการออกแบบที่ดีมีความเสถียรภาพอยู่ที่ตัวหุ่นยนต์สามารถตั้งอยู่ และเดินได้โดยปราศจากการสะดุดหกล้มของหุ่นยนต์ จึงต้องมีการคิดเกี่ยวกับการรักษาสมดุลในการเดินของหุ่น เราเรียกว่า ระบบสมดุล (Balance system) ยกตัวอย่างเช่นการใช้อุปกรณ์ไจโรสโคป (Gyroscopes) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้หุ่นยนต์เดินได้โดยไม่ล้ม

 

 

 

รูปอุปกรณ์ไจโรสโคปที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในหุ่นยนต์

 

วิดีโอตัวอย่างการใช้งานไจโรสดโคป

 

      ในการเดินของหุ่นยนต์ที่ใช้สองขา โดยทั่วไปจะไม่มีความเสถียร จึงต้องใช้อุปกรณ์ไจโรสโคปเข้ามาช่วย แต่ทว่าหุ่นยนต์ที่มีขามากกว่าสองขา ได้แก่หุ่นยนต์สี่ขา เช่นหุ่นยนต์สุนัข หรือหกขา เช่นหุ่นยนต์แมลง ความจำเป็นที่จะใช้อุปกรณ์ไจโรสโคปก็ลดน้อยลงไป หุ่นยนต์ที่มีหกขาในทางวิศวกรรมจะมีการทรงตัวที่ดีที่สุด และมันสามารถเดินไปในพื้นที่ภูมิประเทศที่มีความหลากหลาย

 

      ในการควบคุมหุ่นยนต์ให้เคลื่อนที่ได้โดยการใช้รีโมท และการควบคุมด้วยรีโมทนี้อาจมีทั้งควบคุมแบบใช้สาย และไร้สาย ในการควบคุมแบบไร้สายจะใช้คลื่นวิทยุ (Radio waves) หรือใช้การควบคุมโดยแสงอินฟาเรด (Infrared)

 

      โดยทั่วไปเรียกหุ่นยนต์ที่ควบคุมระยะไกลเหล่านี้ว่า หุ่นยนต์พั๊พเป็ท (Puppet robots) ประโยชน์ของหุ่นยนต์ที่ควบคุมระยะไกลเหล่านี้ เพื่อใช้ในการสำรวจในพื้นที่ที่อันตราย หรือสภาพแวดล้อมที่เข้าไม่ถึง ยกตัวอย่างเช่น สำรวจใต้ทะเลลึก, สำรวจในปล่องภูเขาไฟ สำรวจดวงดาวต่าง ๆ

 

รูปหุ่นยนต์สำรวจใต้ทะเลลึก

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“เมื่อก่อนยังไม่มีเรา
เราเพิ่งมีมาเมื่อไม่นานมานี้เอง
และอีกไม่นานก็จะไม่มีเราอีก
จึงควรรีบทำดี ในขณะที่ยังมี...เรา”

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา