บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,883
เมื่อวาน 1,893
สัปดาห์นี้ 8,463
สัปดาห์ก่อน 13,692
เดือนนี้ 52,618
เดือนก่อน 76,883
ทั้งหมด 4,944,753
  Your IP :3.138.101.51

หุ่นยนต์เบื้องต้น

1. บทนำ

 

รูปหุ่นยนต์

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

ส่วนประกอบของหุ่นยนต์ที่สำคัญ มีอยู่ 5 ส่วนได้แก่

 

1. โครงสร้าง (Structure) ของหุ่นยนต์

  

รูปโครงสร้างหุ่นยนต์ 1

 

รูปโครงสร้างหุ่นยนต์ 2

 

2. ระบบกลไก (Mechanics System) การเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์

 

รูประบบกลไกหุ่ยนต์

3. ระบบเซ็นเซอร์ หรือตัวตรวจจับ (Sensor system) ใช้รับข้อมูล และส่งไปให้สมองกลทำการประมวลผลเพื่อที่จะสั่งการให้หุ่นยนต์ทำงานต่อไป

 

รูประบบเซ็นเซอร์ หรือตัวตรวจจับ

 

4. แหล่งจ่ายพลังงาน (Power supply) ให้แก่ระบบ ทั้งระบบกลไกการเคลื่อนไหว ระบบเซ็นเซอร์ และระบบสมองกล

 

รูปแหล่งพลังงานของหุ่นยนต์

5. ระบบสมองกล หรือหน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit: CPU) ทำหน้าที่วิเคราะห์ และประมวลผลที่ถูกส่งมาจากตัวเซ็นเซอร์ตามจุดต่าง ๆ เพื่อทำให้หุ่นยนต์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

รูปตัวอย่างซีพียูที่ใช้ในหุ่นยนต์

 

 

      ที่กล่าวมาเป็นเพียงองค์ประกอบขั้นพื้นฐานที่สำคัญที่หุ่นยนต์ทุกตัวต้องมี ยังมีนอกเหนือจากที่กล่าวมาอีกมากเพื่อนำไปใช้ในงานต่าง ๆ ตามแต่ลักษณะของงาน หุ่นยนต์ในอนาคตอาจจะไปถึง มีความฉลาด และการมีความคิดเป็นของมันเอง

 

      การสร้างหุ่นยนต์สร้างตามลักษณะที่ต้องการใช้งาน หุ่นยนต์แต่ละแบบอาจจะมีความแตกต่างกัน หุ่นยนต์แต่ละชนิดจะเคลื่อนที่ไปตามโครงสร้างที่เป็นไปตามกฎของฟิสิกส์ คือมีการเคลื่อนไหวตามโครงสร้างที่ออกแบบ โดยตัวขับให้หุ่นยนต์ได้เคลื่อนไหว เช่น มอเตอร์ จะมีระบบเซนเซอร์ตรวจจับการทำงาน และมีสมองกลคอยควบคุมการทำงานของชิ้นส่วนทั้งหมด จุดประสงค์หลักในการสร้างหุ่นยนต์ขึ้นมานั้นต้องการให้หุ่นยนต์มีการทำงานแทนมนุษย์

 

 

โจเซฟ เอนเกลเบอเกอร์

 

      โจเซฟ เอนเกลเบอเกอร์ (Joseph Engelberger) เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกแนวคิดด้านหุ่นยนต์ เขาได้ให้ข้อคิดเห็นที่น่าสนใจอย่างหนึ่งว่า ฉันไม่สามารถให้คำจำกัดความของหุ่นยนต์ได้ แต่ฉันรู้ว่าเมื่อฉันเรียนรู้สิ่งหนึ่ง ฉันก็จะพบเห็นอีกสิ่งหนึ่งที่ลึกซึ้ง มันมีความแตกต่างจากเครื่องจักรกลทั้งหมด ที่มนุษย์เรียกมันว่า หุ่นยนต์ ที่คุณสามารถเห็นสิ่งนอกเหนือจากนิยาม และการจินตนาการ

 

ตัวอย่างหุ่นยนต์ที่อาจจะเคยผ่านสายตาท่านมาก่อน

 

o  อาร์ทูดีทู (R2D2) และ ซีทรีพีโอ (C-3PO) หุ่นยนต์ที่มีความฉลาดในภาพยนตร์เรื่องสตาวอร์ (Star Wars)




รูปซีทรีพีโอ และ อาร์ทูดีทู

 

 

o  หุ่นยนต์สุนัขไอโบ (AIBO) ของโซนี่ (Sony) เป็นหุ่นยนต์สัตว์เลี้ยง

 


รูปหุ่นยนต์สุนัขไอโบ

 

o  หุ่นยนต์อาซิโม (ASIMO) ของฮอนด้า เป็นหุ่นยนต์ที่สามารถเดิน-วิ่งได้สองขาคล้ายมนุษย์

 


รูปหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์อาซิโม

 

วิดีโอหุ่นยนต์อาซิโม

 

o  หุ่นยนต์ หรือแขนกลอุตสาหกรรม (Industrial Robot) เป็นหุ่นยนต์อัตโนมัติใช้ในโรงงานสมัยใหม่

 

 

รูปแขนกลอุตสาหกรรม

 

วิดีโอแสดงหุ่นยนต์อุตสาหกรรม

 

o  หุ่นยนต์กู้ภัย (Rescue Robot) เป็นหุ่นยนต์ช่วยชีวิตจากบริเวณที่เป็นอันตรายที่มนุษย์เข้าไปไม่ถึง

 

รูปตัวอย่างหุ่นยนต์กู้ภัยช่วยชีวิต

 

o  หุ่นยนต์สำรวจดาวอังคารของนาซ่า (NASA) เพื่อภารกิจในการสำรวจดวงดาว

 

รูปตัวอย่างหุ่นยนต์สำรวจดวงดาว

 

ฯลฯ

 

นี้คือตัวอย่างของหุ่นยนต์ที่เราอาจจะเคยพบเห็นได้ หุ่นยนต์แต่ละชนิดจะทำงานตามแต่ละหน้าที่ของมัน    

 

      หุ่นยนต์มีความแตกต่างจากเครื่องจักรกลแบบอื่น ๆ ตรงที่มันสามารถเคลื่อนไหวโครงสร้างได้ หุ่นยนต์แตกต่างจากคอมพิวเตอร์ตรงที่มันสามารถนำผลที่ได้จากการประมวลมาปฏิบัติให้เกิดงานในทางกายภาพได้ขณะที่คอมพิวเตอร์ไม่มี

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

“เรายังเคยเข้าใจผิดผู้อื่น ถ้าคนอื่นเข้าใจเราผิดบ้าง
ก็ใช่ว่าจะเป็นเรื่องแปลกอะไร ทำไมต้องเศร้าหมอง
ในเมื่อเราไม่ได้เป็นอย่างที่ใครเข้าใจ”

 

 

 

 

 

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา