บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 526
เมื่อวาน 1,634
สัปดาห์นี้ 6,756
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 34,991
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,379,488
  Your IP :3.144.17.45

ปัญหาที่ ๖ เต่า

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน ผู้ปฏิบัติพึงถือองค์ ๕ แห่งเต่านั้นเป็นไฉน”

 

 

รูปเต่า

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร ธรรมดาเต่า

 

      ๑. ย่อมอาศัยและเที่ยวไปในน้ำ

      ๒. จมอยู่ในน้ำ โผล่หัวขึ้นมาพบเห็นอะไรเข้า ก็กลับจมลงไปเสีย เพื่อมิให้ใครเห็น

      ๓. ครั้นขึ้นมาจากน้ำแล้ว ไม่เห็นอะไร ก็ตากกายอยู่ที่ชายหาด

      ๔. ขุดดินลงไปมุดตัวซ่อนอยู่ในที่สงัด

      ๕. เมื่อคลานไป ถ้าเห็นมนุษย์หรือสัตว์ หรือได้ยินเสียงก็หดอวัยวะทั้ง ๕ คือ เท้า ๔ ศีรษะ ๑ เข้าไปในกระดองของตนคอยระวังตัวหยุดนิ่งอยู่

 

      ขอถวายพระพร ผู้ปฏิบัติพึงกอปรด้วยองคคุณเช่นเดียวกับเต่านี้แล คือ

 

      ๑. พึงแผ่เมตตาจิตอันเยือกเย็น ตั้งใจให้เป็นประโยชน์แก่สัตว์โลกทุกถ้วนหน้า มิได้พยาบาทอาฆาตจองเวร ดำรงมั่นอยู่ในพรหมวิหาร

      ๒. เมื่อกิเลสเกิดขึ้น ก็พึงข่มใจให้จมลงในอารมณ์ดั่งกระแสน้ำ ยึดอารมณ์ไว้ให้มั่น ไม่ให้สรรพกิเลสเข้ามาท่วมทับได้

      ๓. นำจิตออกจากกิริยายืนเดินนั่งนอน พึงฝังไว้สัมมัปปธาน (การมุ่งมั่นทำความชอบ) ๔

      ๔. ไม่มุ่งหวังลาภสักการะ และคำสรรเสริญ แล้วพึงอยู่ในที่อันสงัด ดังภาษิตที่พระอุปเสนวังคันตบุตรกล่าวไว้ว่า ภิกษุพึงเสพเสนาสนะอันสงัดปราศจากเสียงกึกก้องอันเป็นที่อยู่อาศัยแห่งเนื้อร้าย เพราะเหตุแห่งการหลีกเร้น

      ๕. เมื่อทวารหกลงไปในกามารมณ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดยินดี ก็ปิดบานประตู คือสำรวมอินทรีย์เสียแล้วสะกดใจให้มีสังวร เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะนั่งรักษาสมณธรรม ดุจพุทธภาษิในสคาถวรรคสังยุตตนิกายว่า ภิกษุพึงประคองใจมิให้ตกอยู่ในวิตก ไม่ติดพันด้วยตัณหา และทิฐิไม่เบียดเบียนผู้อื่น ดับสนิทไม่กลัว

ค่อนขอดใคร ๆ ดุจเต่าหดศีรษะและเท้าเข้าในกระดองของตน ฉะนั้น”

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า “น่าฟัง”

 

 

 

 

ปัญหาที่ ๗ ปี่

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน ผู้ปฏิบัติต้องถือองค์ ๑ แห่งปี่นั้นเป็นไฉน”

 

 

รูปปั้น พระอภัยมณีเป่าปี่

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร ปี่ย่อมคล้อยเสียงไปตามลมคนเป่าฉันใด ผู้ปฏิบัติก็ต้องเป็นฉันนั้น

 

      คือต้องปฏิบัติตามแนวคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าดุจภาษิตที่พระราหุล กล่าวไว้ว่า

 

ท่านทั้งหลาย  จงอนุวัติตามคำสั่งสอนของพระชินสีห์อันมีองค์ ๙ ตั้งอยู่ในกรรม อันหาโทษมิได้ทุกเมื่อ แล้วพยายามบำเพ็ญความดีให้ยิ่ง ๆ ขึ้น”

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า “เห็นด้วยละ”

 

 

 

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา