บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 814
เมื่อวาน 2,429
สัปดาห์นี้ 9,473
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 37,708
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,382,205
  Your IP :18.188.66.13

 

ปัญหาที่ ๓ สัตว์มีโอกาสได้พ้นทุกข์ได้ทุกชนิดหรือไม่ (เอกัจจาเนกัจจานํธัมมาภิสมยปัญหา)

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน คนทุกคนถ้าปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบแล้ว ย่อมได้บรรลุมรรคผลนิพพานด้วยกันทั้งนั้นหรือ”

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร ไม่ทั้งนั้นมีบางจำพวกซึ่งแม้จะปฏิบัติดีสักเท่าไร ก็ไม่มีโอกาสที่จะได้บรรลุ”

 

      ม: “พวกนั้น ได้แก่ใครบ้าง”

 

      น: “ขอถวายพระพร ได้แก่คนเหล่านี้ คือ –

 

      (๑) คนมิจฉาทิฐิ

      (๒) คนกระทำอนันตริยกรรม  ๕ (ฆ่ามารดา, ฆ่าบิดา, ฆ่าพระอรหันต์, ทำร้ายพระพุทธเจ้าถึงห้อพระโลหิต, ทำสงฆ์ให้แตกจากกัน) แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง

      (๓) คนปลอมเพศเป็นพระภิกษุ

      (๔) พระภิกษุ กลับไปถือลัทธิอันผิด

      (๕) คนประทุษร้ายนางภิกษุณี

      (๖) พระภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วไม่ได้อยู่กรรม

      (๗) คนบัณเฑาะว์ (กะเทย)

      (๘) คนอุภโตพยัญชนก (คน ๒ เพศ)

      (๙) สัตว์เดียรฉาน

      (๑๐) เปรต

      (๑๑) เด็กอายุต่ำกว่า  ๗  ขวบ”

 

      ม: “สิบพวกข้างต้นนั้น ไม่ได้บรรลุมรรคผลนิพพานก็ตามที แต่เหตุไฉนเด็กอายุต่ำว่า ๗ ขวบ จึงไม่ได้บรรลุมรรคผลนิพพานเล่า”

 

      น: “เหตุว่าเด็กอายุเพียงเท่านั้น จิตยังไม่มีแนวความคิดที่จะให้เกิดความรู้สึกว่า ผลของความดี และความชั่วมีอยู่อย่างไร เมื่อไม่รู้จักผล ก็ไม่เกิดความคิดที่จะให้สาวไปหาเหตุแห่งผลนั้น ๆ ได้    

      เมื่อเป็นเช่นนั้น กำลังใจก็มีไม่พอที่จะให้ก้าวไปหามรรคผลนิพพานได้”

 

      ม: “เธอจงหาตัวอย่างมาเปรียบให้ฟัง”

 

      น: “ภูเขาสิเนรุ บุรุษพึงพยายามให้กำลังแรงของตน ยกเอามา จะไหวหรือไม่”

 

      ม: “ภูเขาใครจะไปยกไหวเล่าเธอ”

 

      น: “ขอถวายพระพร นั่นเป็นเพราะอะไร”

 

      ม: “เป็นเพราะกำลังมีไม่พอ กับน้ำหนักแห่งภูเขา”

 

      น: “นั่นแลฉันใด นี่ก็ฉันนั้นเหมือนกันการที่เด็กอายุต่ำว่า  ๗ ขวบไม่ได้บรรลุมรรคผลนิพพานนั้น ก็เพราะว่ากำลังใจมีไม่พอกับน้ำหนักแห่งมรรคผล นิพพานเช่นเดียวกันแล

 

      ขอถวายพระพร พระโสดาปัตติผล สกทาคามิผล  อนาคามิผล อรหัตตผล ทั้ง ๔ อย่างนี้ กับพระนิพพานเป็นธรรมที่เผล็ดมาจากเหตุคือมรรค ๔

 

      ก็เมื่อเด็กอายุเพียงนั้นยังไม่มีความคิดที่จะหยั่งลงไปสาวหา

ผลได้ดังนั้นแล้ว ไฉนเลยจะมีโอกาสได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ซึ่งเป็นเหตุ และผลของกันได้เล่า ถึงว่าจะได้อบรมบารมีมาแก่กล้าแล้ว และได้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเพียงไรก็ตาม ก็ย่อมเป็นไปไม่ได้”

 

      ม: “เธอว่านี้ชอบแล้ว”

 

จบเอกัจจาเนกัจจานํธัมมาภิสมยปัญหา

 

 

 

ปัญหาที่ ๔ พระนิพพานมีทุกข์ปนด้วยหรือไม่ (นิพพานอทุกขมิสสภาวปัญหา)

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน พระนิพพานมีความสุขอย่างเดียว หรือว่ามีความทุกข์ปนอยู่ด้วย”

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร พระนิพพานมีแต่ความสุขล้วน ไม่มีความทุกข์เจือปนเลย”

      ม: “จะไม่เช่นนั้นสิเธอ ข้าพเจ้าสังเกตดูคนที่ยังมุ่งหวังพระนิพพาน ร่างกายลำบากคือ ต้องสำรวมอิริยาบถ ต้องระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ต้องขัดเกลาจิตให้ผ่องใส

 

      เหล่านี้ล้วนแต่เป็นอาการแห่งความทุกข์ความลำบากทั้งนั้น ก็

ถ้าพระนิพพานมีแต่ความสุขล้วนจริงดังเธอว่า กายวาจาใจของผู้มุ่งหวังพระนิพพานก็ไม่ต้องรับการทรมานเช่นนั้น 

 

      เรื่องนี้แม้มาคัณฑิยปริพพาชก ก็ได้กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้าไว้ ซึ่งมีใจความว่า พระสมณโคดมไม่ได้รับความเจริญของโลกเลย”

 

      น: “ขอถวายพระพร อาตมภาพของทูลถามพระองค์บ้างว่า การเสวยราชสมบัติ ได้รับแต่ความสุขอย่างเดียวหรืออย่างไร”

 

      ม: “ก็เป็นสุขนี่เธอ ไม่เห็นทุกข์ยากลำบากอะไร”

 

      น: “คราวเมื่อปัจจันตชนบทกำเริบ พระองค์ต้องเสด็จกรีฑาทัพไปประทับแรมตามดงตามป่า ถูกเหลือบยุง และลมแดดเบียดเบียน เป็นต้น

     

      ขอถวายพระพร นั่นเป็นความทุกข์มิใช่หรือ”

 

      ม: “ก็เป็นความทุกข์สิเธอ แต่เรื่องนั้นเธอจะเอามาปนกับความสุขในราชสมบัติไม่ได้ เพราะการกระทำนั้น ๆ ทำเพื่อความมั่นคงในการหาความสุขในราชสมบัติต่างหาก”

 

      น: “นั่นแลฉันใด นี่ก็ฉันนั้นเหมือนกัน การที่ต้องสำรวมอิริยาบถต้องระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ต้องขัดเกลาจิตให้ผ่องใสนั้น ก็เพื่อความมั่นคงในการแสวงหาความสุขคือ พระนิพพานเช่นเดียวกัน เพราะพระนิพพานเป็นธรรมชาติหมดจดจากเครื่องเศร้าหมองทั้งปวง

     

      เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้มุ่งหวังพระนิพพานเป็นธรรมชาติหมดจดจากเครื่องเศร้าหมองทั้งปวง เมื่อเป็นเช่นนั้นผู้มุ่งหวังพระนิพพานก็ต้องทำบุญชำระสันดานของตนให้ปราศจากบาป อันทำให้หม่นหมอง ล้างจนกาย วาจา ใจ สะอาดหมดจดไม่ต้องกระทำการชำระล้างต่อไป เมื่อนั้นแลเป็นอันว่า ได้ประสบสุขคือพระนิพพาน

 

      ขอถวายพระพร เนื่องด้วยพระนิพพานหมดสิ้นมลทิน คือบาปธรรมอันเป็นต้นเหตุแห่งตัวทุกข์แล้วเช่นนี้และ จึงมีแต่ความสุขล้วนไม่มีความทุกข์เจือปนเลย”

 

      ม: “เธอว่านี้ชอบแล้ว”

 

จบนิพพานอทุกขมิสสภาวปัญหา

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา