บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,093
เมื่อวาน 1,871
สัปดาห์นี้ 7,198
สัปดาห์ก่อน 15,976
เดือนนี้ 70,124
เดือนก่อน 47,501
ทั้งหมด 4,338,011
  Your IP :52.205.159.48

ปัญหาที่ ๗ แรงบุญ และบาป (กุสลากุสลานํพลวาปัญหา)

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน บุญกับบาป ไหนจะมีกำลังกว่ากัน”

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร บุญมีกำลังมากกว่า”

 

      ม: “จะไม่เป็นเช่นนั้นสิเธอ ตามที่ได้ยินได้เห็นมา คนทำบาปย่อมได้รับผลในปัจจุบัน”

 

      น: “ขอถวายพระพร มี”

 

      ม: “ใครบ้าง”

 

      น: “คือ  ๑. พระเจ้ามันธาตุราช 

                  ๒. พระเจ้าเนมิราช   

                  ๓. พระเจ้าสาธีนราช 

                  ๔. นายติณบาล”

 

      ม: “ที่เธอว่านี้ดึกดำบรรพ์นัก ว่าเฉพาะในศาสนาพระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ มีบ้างหรือไม่”

 

      น: “ขอถวายพระพร มี คือ 

                  ๑. นายปุณณกะ ผู้ถวายอาหารบิณฑบาตแก่พระสารีบุตร แล้วได้รับตำแหน่งเศรษฐีในวันนั้น

 

                  ๒. นางโคปาลมาตา ถวายบิณฑบาตแก่พระมหากัจจายนเถร แล้วได้รับตำแหน่งพระอัครมเหสีของพระเจ้าอุเทนในวันนั้น

 

                  ๓. นางสุปปียาอุบาสิก เถือเนื้อของตนแกงถวายพระภิกษุไข้ ถึงวันที่ ๒ แผลก็หายสนิทไม่มีแผลเป็นเลย

 

                  ๔. นางมัลลิกาถวายอาหารบิณฑบาตแก่พระพุทธเจ้า แล้วได้รับตำแหน่งพระอัครมเหสีของพระเจ้าโกศลในวันนั้น

 

                  ๕. นายสุมนมาลาการบูชาพระพุทธเจ้าด้วยดอก

มะลิ ๘ กำมือ  แล้วได้ทรัพย์สมบัติมากมายในวันนั้น

 

                  ๖. เอกสาฏกพราหมณ์ บูชาพระพุทธเจ้าด้วยผ้าห่ม แล้วได้รับพระราชทานทรัพย์สมบัติต่าง ๆ

 

      ขอถวายพระพร ชนเหล่านี้ได้รับผลแห่งบุญกุศลในปัจจุบันทั้งนั้น”

 

      ม: “ถึงเช่นนั้น ก็มีเพียง ๖ คนเท่านั้น ส่วนคนทำบาปต้องได้รับโทษทัณฑ์ในปัจจุบัน นับได้ตั้งร้อยตั้งพัน ดูก่อนพระนาคเสน อสทิสทาน

 

(อสทิสทาน คือ ทานที่ไม่มีคราวไหนจะเปรียบได้ตามเรื่องว่า พระเจ้าโกศล กับชาวพระนครทรงบำเพ็ญและทำทานแข่งกัน ต่างฝ่ายต่างทวีขึ้นไปโดยลำดับ ที่สุดพระเจ้าโกศลทรงบำเพ็ญเกินวิสัยที่ชาวพระนครจะทำตาม พระองค์ได้คือทรงบริจาคพระราชทรัพย์ถึง ๑๔ โกฏิ และสิ่งของซึ่งมีค่าอีกมากมาย)

 

ที่พระเจ้าโกศลราชทรงบริจาคในพระพุทธศาสนา เธอก็ทรงทราบดีแล้วมิใช่หรือ”

 

      น: “ขอถวายพระพร”

 

      ม: “หลังจากทรงบำเพ็ญทานแล้ว พระเจ้าโกศลได้ทรงรับยศศักดิ์ หรือทรัพย์สมบัติซึ่งเป็นผลของทานในทันทีนั้นอย่างไรบ้างหรือไม่”

 

      น: “ขอถวายพระพร หามิได้”

 

      ม: “เป็นเช่นนี้แล ข้าพเจ้าจึงค้านเธอว่าบาปมีผลแรงกว่าบุญ”

 

      น: “ข้าวเบา (น่าจะเปรียบเหมือนกินข้าวต้ม) ทำได้รับผลเร็ว แต่ได้ผลน้อย ข้าวหนัก (น่าจะเปรียบเหมือนกินข้าวเหนียว) ทำได้รับผลช้า แต่ได้ผลมาก

 

      ขอถวายพระพร นี่พระองค์จะทรงเห็นว่าอย่างไหนผลมากน้อยกว่ากัน”

 

      ม: “ก็ข้าวหนักสิเธอได้รับผลมาก”

 

      น: “บุญบาปก็เป็นเช่นเดียวกันนี้แล คือ บุญมีผลมากกว่าแรงกว่าจึงได้ผลช้า ส่วนบาปมีผลน้อยกว่าเบากว่า จึงให้ผลเร็ว”

 

      ม: “ข้าพเจ้าจะเปรียบให้เธอฟังบ้าง ทหารคนใดสามารถจักศัตรูได้โดยเร็ว พลันทหารคนนั้นชื่อว่าเป็นผู้องอาจแกล้วกล้ามีกำลังมากกว่า นี่เธอสิ่งที่แปรไปเร็วให้ผลเร็ว ก็เพราะว่าสิ่งนั้นเป็นสภาพที่มีกำลังเช่นเดียวกับทหารผู้กล้าหาญนั้นแล

 

      พึงดูตัวอย่างเช่นคนที่ฆ่ามนุษย์หรือลักทรัพย์เขา ในเวลานั้นแลเจ้าพนักงานจะต้องจับเอาตัวมาเพื่อลงโทษทันที”

 

      น: “นั่นถูกทำโทษตามกฎของบ้านเมืองเพราะการกระทำนั้นๆ เป็นความผิดที่พระราชบัญญัติได้ระบุไว้ และจะจัดว่าเป็นโทษของบาปก็ถูก

 

      ขอถวายพระพร แต่ว่านี้พระองค์ทรงยกมาด้วยมีพระประสงค์จะแสดงให้เห็นว่า บาปกำลังมากกว่าบุญนั้นไม่ได้ เพราะการทำบุญกฎหมายมิได้ระบุผลที่จะพึงได้รับไว้ ฉะนั้นจึงไม่มีทั่วไปว่า คนทำบุญได้รับผลทันทีเหมือนคนทำบาป

 

      ขอถวายพระพร ถ้าพูดถึงกาลข้างหน้าบุญเป็นให้ผลแรงกว่าบาป ตัวอย่างความข้อนี้ เช่นพระองคุลิมาล ซึ่งตามประวัติปรากฏว่า ท่านฆ่ามนุษย์เสียจำนวนร้อย ครั้นท่านบรรลุพระอรหัตตผลแล้ว บาปนั้นก็ตามท่านไม่ทัน เพราะพระอรหัตตผลซึ่งเป็นตัวบุญกางกั้นไว้เสีย”

 

      ม: “พอฟังได้”

 

จบกุสลากุสลานํพลวาปัญหา

 

 

 

ปัญหาที่ ๘ การอุทิศบุญกุศล (เปตอุททิสสผลปัญหา)

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน การที่ทายกทำบุญให้ทาน แล้วแผ่ส่วนบุญอุทิศส่งไปยังญาติมิตรที่ตายไปแล้วนั้น ญาติมิตรนั้น ๆ จะได้รับผลแห่งบุญกุศลทุกคน หรืออย่างไร”

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร ไม่ทุกคน ได้รับเฉพาะแต่ญาติมิตรที่ไปเกิดเป็นเปรตจำพวกปรทัตตูปชีวีเปรตเท่านั้น

 

      นอกจากพวกนี้แล้ว เป็นอันไม่มีโอกาสที่จะได้รับผลแห่งบุญกุศลนั้น ๆ”

 

      ม: “ก็ถ้าญาติมิตรของทายกมิได้ไปเกิดเป็นเปรตจำพวกนั้นเลย ผลแห่งบุญกุศลนั้นๆ จะมิสูญไปเสียหรือ”

 

      น: “ขอถวายพระพร ไม่สูญ”

 

      ม: “ถ้าไม่สูญ ใครจะได้รับ”

 

      น: “ขอถวายพระพร ก็ทายกนั้นแลเป็นผู้ได้รับ”

 

      ม: “เธอจงหาตัวอย่างมาเปรียบให้ฟัง”

 

      น: “เจ้าถิ่นจัดอาหารไว้รับแขก ก็ถ้าแขกไม่ได้บริโภคอาหารนั้น ๆ จะพึงเป็นของใคร”

 

      ม: “ก็เป็นของเจ้าถิ่นสิเธอ”

 

      น: “นั่นแลฉันใด นี่ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ผู้ที่ทำบุญให้ทานแล้วแผ่ส่วนบุญอุทิศส่งไปยังญาติมิตรที่ตายไปแล้ว ถ้าญาติมิตรไม่ได้อยู่ในจำพวกที่มีโอกาส จะได้รับผลแห่งบุญกุศลที่อุทิศไปให้ไซร้ ผลบุญนั้น ๆ ก็ไม่สูญคงเป็นของแห่งผู้ทำบุญให้ทานเช่นเดียวกันนั้นแล

 

      ขอถวายพระพร อันการแผ่ส่วนบุญอุทิศให้นี้ ย่อมเป็นการเพิ่มพูนบุญกุศลยิ่งขึ้นอีกส่วนหนึ่งด้วย เพราะว่าการอุทิศให้นั้นกอบด้วยผู้อุทิศมีเจตนามุ่งบูชาบุญคุณท่าน หรือมีเมตตากรุณาในผู้ที่ตายไปแล้ว อาศัยเหตุผลที่บุญยังคงเป็นของแห่งทายก และเพิ่มพูนยิ่งขึ้นอีกเช่นนี้แล ผลบุญที่อุทิศส่งไปให้นั้นจึงจัดว่าสูญไม่ได้”

 

      ม: “เธอว่านี้ชอบแล้ว”

 

จบเปตอุททิสสผลปัญหา

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา