บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,001
เมื่อวาน 4,800
สัปดาห์นี้ 13,079
สัปดาห์ก่อน 12,965
เดือนนี้ 54,279
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,398,776
  Your IP :3.131.13.194

ปัญหาที่ ๔ ฤดูที่พระอาทิตย์ร้อน (สุริยตัปปภาวปัญหา)

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน พระอาทิตย์ย่อมร้อนอบอ้าวในเหมันตฤดู (ฤดูหนาว) แต่ไม่อบอ้าวในคิมหันตฤดู (ฤดูร้อน)  เป็นเพราะอะไร”

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร เป็นเพราะในคิมหันตฤดู เบื้องบนมีหมอกหนาทึบ เบื้องล่างลมพัดแรง ซึ่งทำให้ละอองฟุ้งขึ้นไปอยู่ในอากาศ

 

      เมื่อเป็นดังนี้ กำลังความร้อนแห่งพระอาทิตย์ที่ฉายแสงลงมายังเราก็เบาลง เรารู้สึกอบอ้าวน้อย ส่วนในเหมันตฤดู เบื้องล่างพื้น แผ่นดินเย็น เบื้องบนมหาเมฆเข้าไปจนเป็นก้อน ๆ มิได้กระจัดกระจายไปในที่ต่าง ๆ

 

      อนึ่งละอองน้ำ และฝุ่นธุลีทั้งหลาย ก็สงบไม่ฟุ้งไปในอากาศ ท้องฟ้าสะอาดปราศจากมลทิน ลมหากจะมีก็พัดอย่างอ่อน เมื่อไม่มีมหาเมฆมาปิดบัง พระอาทิตย์ก็แผดแสงกล้า

 

      ขอถวายพระพร เหตุนี้จึงร้อนในฤดูเหมันต์ ฯ”

 

      ม: “เข้าใจละ”

 

จบสุริยตัปปภาวปัญหา

 

 

 

ปัญหาที่ ๕ พระเวสสันดรบำเพ็ญบารมี (เวสสันดรปัญหา)

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน พระโพธิสัตว์ต้องบริจาคบุตรภรรยาให้เป็นทาน เหมือนอย่างพระเวสสันดรโพธิสัตว์เจ้าของเรา ทุก ๆ ท่านหรือ”

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร เหมือนกันทุกท่าน”

 

      ม: “การที่ท่านเหล่านั้นกระทำดังนั้นจะเป็นด้วยท่านสิ้นความรักใคร่ เกิดความรังเกียจในบุตรภรรยาแล้วกระนั้นหรือ”

 

      น: “หามิได้ แท้จริงปรากฏว่า ท่านยังรักใคร่เมตตา กรุณาบุตรภรรยา อย่างเดียวกับคนอื่นรักบุตรภรรยาเหมือนกัน

 

      ดังพระเวสสันดรโพธิสัตว์เจ้าของเรา คราวเมื่อพระองค์ทอดพระเนตรเห็นพราหมณ์ตี ๒ พระโอรสคือ พระชาลี กัณหาทันทีนั้น ทรงสังเวช และทรงบันดาลโทสะจะทรงประทุษร้ายพราหมณ์ตอบแทนบ้าง แต่แล้วก็ทรงอดกลั้นความโกรธนั้นเสียได้

 

      นี่ชี้ให้เห็นว่า พระองค์ยังทรงเมตตากรุณาพระโอรสอยู่ เช่น บิดากับบุตรธิดาอื่นเหมือนกัน แม้พระนางมัทรีพระองค์ก็ยังทรงรักใคร่เช่นเดียวกันเพราะได้ทรงร่วมสุขร่วมทุกข์กันตลอดมา

 

      ขอถวายพระพร แต่ท่านเหล่านั้นมีใจผูกพันในพระสัมมาสัมโพธิญาณมากกว่าความรักบุตรภรรยา เพราะท่านแน่ใจว่าต่อไปข้างหน้าพระสัมมาสัมโพธิญาณ จะเกิดประโยชน์สุขแก่ตนพร้อมด้วยบุตรภรรยา และแก่ผู้อื่นเป็นกำไรยิ่งกว่าหลายเท่า เหตุนี้ท่านจึงพยายามหักใจบริจาคบุตรภรรยาให้เป็นทานได้”

 

      ม: “นี่เธอ การที่พระเวสสันดรทรงบริจาคพระนางมัทรีและพระชาลี กัณหาให้เป็นทานนั้น พระชายาและพระโอรสทั้ง ๒ ทรงยินดีในทานนั้นด้วยหรือไม่”

 

      น: “ขอถวายพระพร พระนางมัทรีเมื่อทรงทราบเรื่องนี้ก็ทรงเลื่อมใส ยินดีตาม แต่พระชาลี กัณหาหาได้ทรงยินดีด้วยไม่ เพราะยังทรงพระเยาว์ไม่รู้เดียงสาอะไร จะพึงเห็นได้จากการที่ทรงวิ่งหนีลงไปซ่อนอยู่ในสระบัว เป็นต้น”

 

      ม: “เมื่อเป็นดังนั้น ก็เป็นอันว่าพระโอรสทั้ง ๒ นั้นได้รับแต่ความทุกข์ยากสองคนพี่น้องเท่านั้น ก็การกระทำบุญให้ทานเมื่อทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน จะเกิดผลเป็นบุญกุศลขึ้นได้อย่างไร”

 

      น: “อาตมภาพจะยกตัวอย่าง เปรียบถวายเหมือนพระองค์ทรงบัญชาให้เก็บราชพลีจากราษฎรทุกคน เพื่อทรงนำมากระทำวัตถุที่เป็นสาธารณประโยชน์และสาธารณสุขขึ้น

 

      ขอถวายพระพร ราษฎรเหล่านั้นบางคนก็ฝืนใจถวาย เพราะความขัดสนบังคับบ้าง เพราะเหตุอื่นบ้าง ก็เมื่อเป็นดังนั้น  วัตถุที่พระองค์ทรงจัดทำขึ้นนั้น จะสำเร็จประโยชน์สุขดังพระราชประสงค์หรือไม่”

 

      ม: “ก็สำเร็จสิเธอ”

 

      น: “นั่นแลฉันใด นี่ก็ฉันนั้นเหมือนกัน การที่พระเวสสันดรทรงบริจาค พระชายาและพระโอรสทั้ง ๒  ให้เป็นทานนั้น แม้ว่าจะเป็นความุทกข์ใจลำบากกายแก่พระโอรสทั้ง ๒ ก็จริง แต่ก็ทานบารมีนั้น และเป็นปัจจัยสำคัญส่วนหนึ่งที่ให้พระองค์ และผู้อื่นทั่ว ๆ ไป ได้รับประโยชน์สุขอันใหญ่ยิ่ง

 

      ขอถวายพระพร เมื่อเป็นดังนี้ ทานบารมีนั้นก็ต้องจัดว่าเป็นบุญกุศลได้ เพราะเกิดผลเป็นผลประโยชน์สุขทั่วไป”

 

      ม: “ดูก่อนพระนาคเสน การบริโภคอาหารเกินประมาณจัดว่าเป็น การเกินสมควรฉันใด แม้การที่พระเวสสันดรทรงบริจาคพระชายา และพระโอรสทั้ง ๒ ให้เป็นทานนั้น ก็จัดว่าเป็นการเกินสมควรเช่นเดียวกันฉันนั้นแล หรือว่าอย่างไร”

 

      น: “ความจริงเรื่องนี้จัดว่าเกินสมควรไม่ได้ เพราะทานปานนั้นแล จึงจะเป็นเหตุเป็นปัจจัย จะให้พระองค์ได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ

 

      ขอถวายพระพร พระองค์ทรงเข้าพระหฤทัยอย่างไร เรื่องทานการให้ต้องมีกำหนดให้ด้วยหรือ”

 

      ม: “มีสิเธอ การให้ ซึ่งไม่นับว่าเป็นทาน มีอยู่ดังนี้คือ

 

      ๑) ให้หญิงเป็นภรรยาชาย

 

      ๒) ให้โคตัวเมียแก่โคตัวผู้

 

      ๓) ให้น้ำเมาคือสุราและเมรัย

 

      ๔) ให้รู้ลามก

 

      ๕) ให้ศัสตราวุธ

 

      ๖) ให้ยาพิษ

 

      ๗) ให้เครื่องจองจำ

 

      ๘) ให้ไก่ตัวเมียแก่ไก่ตัวผู้

 

      ๙) ให้สุนัขตัวเมียแก่สุนัขตัวผู้

 

      ๑๐) ให้เครื่องนับเครื่องตวงซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับโกง”

 

      น: “ขอถวายพระพร คำที่อาตมภาพทูลถามมิได้มุ่งอย่างนั้น มุ่งว่าการให้ทานต้องมีกำหนดให้เท่านั้นเท่านี้ ด้วยหรือไม่”

 

      ม: “จะมีกำหนดกฎเกณฑ์อะไรเล่าเธอ สุดแต่มีจิตเลื่อมใสเท่าใด ก็ให้เท่านั้น”

 

      น: “ก็ถ้าอย่างนั้น ไฉนพระองค์จึงทรงท้วงการบริจาคบุตรภรรยาให้เป็นทานว่าเป็นการเกินสมควรไปเล่า

 

      ขอถวายพระพร ก็เมื่อบิดาเป็นหนี้เขาจะให้บุตรรับใช้หนี้แทนเพื่อเปลื้องตนเป็นไท จะไม่ได้ทีเดียวหรือ”

 

      ม: “ได้สิเธอ”

 

      น: “นี่ก็เป็นเช่นนั้นแล ขอถวายพระพร พระเวสสันดรทรงตั้งพระหฤทัยอยู่เสมอว่า จะทรงบำเพ็ญทานบารมีให้เต็มเปี่ยม ยาจกมาขออะไรก็ทรงบริจาคให้ทั้งนั้น

 

      เมื่อทรงผูกพระหฤทัยเป็นหนี้รัดพระองค์ไว้เช่นนั้นแล้ว

ครั้นมียาจกมาขอพระชายาและพระโอรส พระองค์ก็มีหน้าที่ที่จะต้องชำระหนี้

 

      กล่าวคือทรงบริจาคให้ตามที่ยาจกขอ ด้วยทรงหวังจะเปลื้องพระองค์ และผู้อื่นให้พ้นจากความเป็นทาสแห่งกิเลสและกองทุกข์ทั้งหลาย

 

      ขอถวายพระพรการเป็นเช่นนี้แล จึงว่าไม่เป็นการเกินสมควร”

 

      ม: “ที่จริงเรื่องนี้ ควรที่พระเวสสันดร จะทรงบริจาคตัวเองให้เป็นทานจะดีกว่าจะได้ไม่เดือดร้อนถึงผู้อื่น”

 

      น: “ขอถวายพระพร เมื่อยาจกมาขอน้ำก็ต้องให้น้ำ ขอข้าวก็ต้องให้ข้าว นี่เขามาขอเจาะจงเอาพระชายา และพระโอรสแล้วจะมอบพระองค์เองให้เขาไป จะเป็นการสมควรละหรือ”

 

      ม: “เธอว่าดังนั้นก็ถูก”

 

      น: “ขอถวายพระพร ถ้าพราหมณ์ทูลขอเจาะจงตัวพระองค์เองแล้ว พระองค์ก็ยินดีจะมอบทันที เพราะว่าพระองค์มีพระหฤทัยผูกพันมั่นอยู่ในพระสัมมาสัมโพธิญาณยิ่งกว่าอื่น ชีวิตก็ดี ความสุขส่วนพระองค์ก็ดี พระองค์ยินดีที่จะทรงพร่าออกให้ เพื่อแลกกับพระสัมมาสัมโพธิญาณอยู่ทุกขณะ ข้อนี้จะพึงพิสูจน์ได้จากพฤติการณ์ของพระองค์แต่ต้นจนตลอด”

 

      ม: “ชอบละ”

 

จบเวสสันดรปัญหา

 

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา