บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 2,600
เมื่อวาน 1,871
สัปดาห์นี้ 8,705
สัปดาห์ก่อน 15,976
เดือนนี้ 71,631
เดือนก่อน 47,501
ทั้งหมด 4,339,518
  Your IP :54.226.68.181

ปัญหาที่ ๒ทรงบัญญัติสิกขาไม่พร้อมกัน (สิกขาปทอปัญญาปนปัญหา)

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ครั้งก่อนนี้หมอผู้เชี่ยวชาญอยู่  ๗ หมอ  คือ

 

๑. นารทะ

 

๒. ธัมมันตริกะ

 

๓. อังคีรสะ

 

๔. กะปีละ

 

๕. กัณฑารัคคิกามะ

 

๖. อตุละ

 

๗. ปุพพกัจจายนะ

 

หมอทั้ง ๗ นี้ ย่อมคะเนอาการคนไข้ได้ว่า อีกเท่านั้นวัน

อาการจักมีจักเป็นอย่างนั้น ๆ

 

      นี่เธอ คนเหล่านี้แม้มิใช่สัพพัญญู  แต่ก็ยังคาดกาลข้างหน้าได้ถูกต้อง ส่วนพระพุทธเจ้าสิเป็นสัพพัญญูรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ไฉน จึงไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทล่วงหน้าไว้ให้ครบถ้วนเสียคราวเดียว”

 

น: “ก็เพราะว่าพระองค์ทรงเห็นว่า ถ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ครบถ้วนทั้ง ๑๕๐  คราวเดียว ก็อาจจะเป็นข้อหยุมหยิมของผู้แรกเข้ามาบวช จนให้เกิดความระอาใจก็เป็นได้

 

      เนื่องด้วยมีพระหฤทัยทรงอนุเคราะห์อยู่เช่นนี้แล จึงทรงรอไว้ต่อเมื่อมีเรื่องเกิดขึ้นก่อนแล้ว จึงทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามเป็นเรื่อง ๆ ไป”

 

      ม: “ชอบละ”

 

จบสิกขาปทอปัญญาปนปัญหา

 

 

 

ปัญหาที่ ๓ โรคของพระอาทิตย์ (สุริยโรคภาวปัญหา)

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน พระอาทิตย์บางคราวก็ฉายแสงอ่อนลงมิใช่หรือ”

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร เป็นดังนั้น”

 

      ม: “ด้วยอะไรนะเธอ จึงเป็นเช่นนั้น”

 

      น: “เป็นด้วยพระอาทิตย์ถูกโรคเบียดเบียน ขอถวายพระพร โรคที่เบียดเบียนพระอาทิตย์นั้น มีอยู่ ๔ อย่างคือ

 

๑. ควันไฟ

๒. เมฆ

๓. หมอก

๔. ราหู

 

(เรื่องพระราหูที่เป็นโรคของพระอาทิตย์พระจันทร์ นี้ก็คือ เรื่องสุริยคราส จันทรคราส เรื่องนี้แต่ก่อนเชื่อกันว่า เป็นเพราะพระราหูอมพระอาทิตย์ พระจันทร์ไว้ แม้ในสังยุตตนิกาย สุริยสูตร จันทิมสูตรก็ยังกล่าวความข้อนี้ไว้ และว่าพระราหูต้องปล่อยเพราะพุทธานุภาพ

 

        ก็การที่เรื่องไม่เป็นจริงเข้ามาแทรกแซงอยู่ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาได้

เช่นนี้ คงจะเป็นด้วยท่านผู้ร้อยกรองคัมภีร์ชั้นหลัง ๆ ซึ่งมีความเชื่อถือลัทธิ

ตามพื้นเมืองมาแต่งแทรกเข้าไว้ เพราะการถือพระพุทธศาสนายุคหลังย่อม

มีเหตุผันแปรไปต่างๆ ดังพระมติที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงค์เธอ กรมพระยา

ดำรงราชานุภาพทรงประทานไว้ในหนังสือตำนานพุทธเจดีย์สยามว่า

 

"เมื่อพุทธกาลล่วง ๑๐๐๐ ปี การถือพระพุทธศาสนาที่ในอินเดียเกิดผันแปรไป เหตุด้วยการแข่งขันในระหว่างพวกที่สอนศาสนาพราหมณ์ กับพวกที่สอน

พระพุทธศาสนามีมาช้านาน จนชาวอินเดียมักถือพระพุทธศาสนา กับศาสนา

พราหมณ์ระคนปนกันไป

 

        ดังปรากฏในจดหมายเหตุของหลวงจีนฮ่วนเจียง (หรือยวนฉ่าง) ซึ่งไปถึงอันเดียเมื่อ พ.ศ. ๑๑๗๒ กล่าวว่า ในสมัยนั้น พระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งเป็นพุทธศาสนูปถัมภกทรงพระนามว่า พระเจ้าสีลาทิตย์ครองเมืองกันยากุพช์ (เดี๋ยวนี้เรียกว่ากาโนช) เป็นราชธานีอยู่ในมัชฌิมประเทศ ให้ทำการสังคายนา

 

        แต่งานนั้น วันแรกแห่พระพุทธรูปออกมาเป็นประธาน วันที่สองแห่รูปพระอาทิตย์ออกมาเป็นประธาน ถึงวันที่สามแห่รูปพระอิศวรออกมาเป็นประธาน ดังนี้

ตามพระมติที่ทรงแสดงไว้นี้ ย่อมนำให้เห็นว่า ในระหว่างแข่งขันเอา

ชนะเอาแพ้กันเช่นนั้น ลัทธิต่างๆ น่าจะได้ช่องเข้ามาแทรกแซงอยู่ใน

คัมภีร์พระพุทธศาสนาอย่างถนัดใจ แล้วและนำสืบมาโดยความไม่รู้สึก”

 

        อาศัยเหตุดังกล่าวนี้แล เรื่องที่มีกะพี้ติดอยู่ด้วยจึงมีแทรกอยู่ใน

คัมภีร์พระพุทธศาสนาแม้ชั้นบาลี)

 

      เมื่อโรค ๔  อย่างนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง ไปบังแสงพระอาทิตย์ ๆ ก็ฉายมายังเราได้น้อย เมื่อเป็นดังนั้นแสงพระอาทิตย์ก็อ่อนลง”

 

      ม: “เข้าใจละ”

 

จบสุริยโรคภาวปัญหา

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา