บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,677
เมื่อวาน 2,429
สัปดาห์นี้ 10,336
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 38,571
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,383,068
  Your IP :13.58.151.231

ปัญหาที่ ๘ พระอรหันต์อาบัติได้หรือไม่ (อรหันตสัมโมหปัญหา)

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน พระอรหันต์ท่านหลงลืม บ้างหรือไม่”

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร พระอรหันต์ท่านไม่หลงลืม เพราะท่านมีสติกำกับใจอยู่เสมอ”

 

      ม: “ถ้าเช่นนั้น ท่านจะมิต้องอาบัติเลยหรือ”

 

      น: “ขอถวายพระพร ก็ต้องมีบ้าง”

 

      ม: “ต้องเพราะวัตถุอะไรบ้าง”

 

      น: “ต้องเพราะ

 

            ๑.สร้างกุฎี   

 

            ๒. เพราะสำคัญเวลาผิด 

 

            ๓. เพราะสำคัญเหตุผิดคือ ห้ามภัตรแล้ว เข้าใจว่ายังไม่ได้ห้าม 

 

            ๔. เพราะสำคัญสิ่งของผิด  คือของที่ยัง ไม่เป็นเดน เข้าใจว่าเป็นเดนแล้ว ”

 

      ม: “เธอเคยกล่าวอยู่ว่า ภิกษุย่อมต้องอาบัติด้วยอาการ ๒ คือ 

๑. ด้วยความไม่เอื้อเฟื้อ ๒. ด้วยความไม่รู้   

 

      ถ้าพูดสำหรับพระอรหันต์แล้ว ท่านคงไม่ต้องอาบัติ  ด้วยความไม่เอื้อเฟื้อมิใช่หรือ”

 

      น: “ขอถวายพระพร เป็นดังนั้น”

 

      ม: “ถ้าอย่างนั้น ก็เป็นอันว่า ท่านต้องด้วยความไม่รู้”

 

      น: “ขอถวายพระพร”

 

      ม: “เรื่องที่ให้ต้องอาบัติ ซึ่งพระอรหันต์ไม่รู้ก็มีด้วยหรือ”

 

      น: “มี ขอถวายพระพร อาบัตินี้จัดเป็น ๒  ประการคือ 

 

            ๑.โลกวัชชะ มีโทษทางโลก คนสามัญที่มิใช่ภิกษุทำเข้าก็เป็นความผิดเป็นความเสียหายเหมือนกัน เช่น ทำโจรกรรมฆ่ามนุษย์นี้ประการหนึ่ง เป็นปัณณัติติวัชชะ (โทษทางพระวินัยตำหนิ)

 

            ๒. มีโทษทางพระพุทธบัญญัติ คนสามัญทำไม่มีความผิด ไม่เสียหาย เป็นผิดเฉพาะแต่ภิกษุ โดยฐานละเมิดพระพุทธบัญญัติ เช่น ขุดดินฉันอาหารเมื่อล่วงเวลาแล้ว เป็นต้นนี้

 

      ขอถวายพระพร ในอาบัติ  ๒ ประการนี้  ส่วนที่เป็นปัณณัตติวัชชะ ถ้าข้อใดเรื่องใด พระอรหันต์ท่านไม่รู้ ท่านก็ย่อมล่วงอาบัติในข้อนั้น ในวัตถุนั้น เพราะว่าพระอรหันต์ท่านมิได้รู้ทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนอย่าง พระสัพพัญญูพุทธเจ้า”

 

      ม: “เข้าใจละ”

 

จบอรหันตสัมโมหปัญหา

 

 

 

ปัญหาที่ ๙ สิ่งที่ไม่เกิดแต่กรรม แต่ฤดู (นิพพานอัตถิภาวปัญหา)

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน สิ่งที่เกิดแต่กรรมแต่เหตุ แต่ฤดูก็มี พอจะคิดเห็น แต่สิ่งที่ไม่เกิดแต่กรรมหรือแต่เหตุ หรือแต่ฤดูอย่างใด อย่างหนึ่งมีบ้างหรือไม่”

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร มี  คือ ๑. อากาศ ๒. พระนิพพาน”

 

      ม: “เธออย่ากล่าวตู่พระพุทธพจน์ เมื่อไม่รู้ก็จงบอกว่าไม่รู้”

 

      น: “ถ้าอย่างนั้น พระองค์ทรงเห็นว่าอย่างไร”

 

      ม: “อากาศข้าพเจ้าก็เห็นด้วย แต่พระนิพพานตามที่เธอว่ายังคิดไม่เห็น เพราะว่าพระนิพพานย่อมมีมรรคเป็นเหตุทำให้เกิด แม้พระพุทธพจน์ก็มีอยู่ชัด ๆ ว่า มรรคเป็นเหตุกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน”

 

      น: “ขอถวายพระพร พระพุทธพจน์มีอยู่เช่นนั้นจริง แต่หาได้หมายความว่า พระนิพพานเกิดแต่เหตุ คือมรรคไม่”

 

      ม: “เธอพาเข้าที่มืดเสียแล้ว ก็เมื่อพระพุทธพจน์มีว่า มรรคเป็นเหตุกระทำให้แจ้ง ซึ่งพระนิพพาน แต่ไฉนเธอจึงว่า เหตุให้พระนิพพานเกิดไม่มีเล่า ธรรมดาต้นไม้เมื่อมียอดก็เป็นอันว่ามีรากและลำต้น”

 

      น: “พระองค์จะทรงเอาตัวอย่างนั้นมาเปรียบในที่นี้ไม่สมควร เพราะว่าพระนิพพานได้ถอนรากคือ ตัณหาอันก่อให้เกิดออกเสียแล้ว ฉะนั้นที่ทรงเข้าพระหฤทัยว่า พระนิพพานเกิดแต่เหตุนั้นจึงไม่ถูก ขอถวายพระพร เรื่องนี้ยากที่จะชี้แจงถวายให้เห็นชัด ๆ ได้”

 

      ม: “เธอจงหาตัวอย่างมาเปรียบให้ฟัง”

 

      น: “คนที่มีกำลังแข็งแรง จะสามารถไปยกเอาภูเขาหิมพานต์มาให้คนทั้งหลายดู จะได้หรือไม่”

 

      ม: “จะมีใครถึงกะสามารถไปยกเอาภูเขาหิมพานต์มาให้คนดูได้เล่าเธอ”

 

      น: “เป็นเพราะอะไร”

 

      ม: “เป็นเพราะภูเขาหิมพานต์หนักเกินกำลังคนมากนัก”

 

      น: “นั่นแลฉันใด นี่ก็ฉันนั้นเหมือนกัน  การที่จะทูลชี้แจงพระนิพพานถวายให้ทรงเห็นชัด ๆ ก็เกินกำลังความสามารถของอาตมภาพเช่นเดียวกัน

 

      เพราะอาตมภาพกล่าวได้แต่มรรคที่ทำพระนิพพานให้แจ้ง แต่ไม่อาจแสดงเหตุที่อาศัยให้เกิดพระนิพพานได้ การที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าพระนิพพานเป็นอสังขตธรรม (ธรรมที่ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ) ไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง รู้ไม่ได้ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย จะพึงรู้พึงเห็นได้ก็เฉพาะแต่พระอรหันต์ผู้มีจิตบริสุทธิ์สงบ และละเอียดเท่านั้น”

 

      ม: “ถ้าเช่นนั้น ใครเล่าจะเชื่อว่าพระนิพพานมี เธอจงหาตัวอย่างมาเปรียบ”

 

      น: “ขอถวายพระพร ลมมีหรือไม่”

 

      ม: “ก็มีสิเธอ”

 

      น: “ลมมีรูปร่างหรือสีสันเป็นอย่างไร ขอพระองค์ได้ทรงชี้แจงมาให้เห็น”

 

      ม: “จะชี้แจงให้เห็นได้อย่างไรเล่าเธอ เพราะลมไม่มีรูปร่างหรือสีสัน เช่นเธอว่า แต่ว่าถึงกระนั้น เราก็รู้ว่าลมมีจริงเพราะพัดมาต้องเราอยู่เนือง ๆ”

 

      น: “ขอถวายพระพร พระนิพพานก็เป็นเช่นเดียวกับลมนั้นแล คือไม่มีรูปร่าง ไม่มีสีสัน แต่ว่าท่านที่ได้บรรลุพระอรหันต์ได้รับความสุขกายเย็นใจ นั่นแล ท่านรู้ว่าพระนิพพานมีอยู่จริง เหมือนเรารู้สึกว่าลมมี ในขณะเมื่อพัดไปต้องใบไม้ เป็นต้น ให้หวั่นไหว หรือพัดมาต้องเรารู้สึกเย็นฉะนั้น”

 

      ม: “เข้าใจละ”

 

จบนิพพานอัตถิภาวปัญหา

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา