บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,424
เมื่อวาน 984
สัปดาห์นี้ 12,453
สัปดาห์ก่อน 29,853
เดือนนี้ 59,610
เดือนก่อน 65,987
ทั้งหมด 4,874,862
  Your IP :3.15.186.78

ปัญหาที่ ๒ ธรรมที่ไม่เนิ่นช้า (นิปปัญจธรรมปัญหา)

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน พระพุทธพจน์ที่ตรัสสอนว่า

ท่านทั้งหลาย จงทำใจให้เพลิดเพลินในนิปปัญจธรรม (ธรรมที่ไม่เนิ่นช้า)

 

ฉะนี้  ก็นิปปัญจธรรมนั้นได้แก่ธรรมเหล่าไหน”

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “ได้แก่ พระโสดาปัตติผล พระสกทาคามิผล พระอนาคามิผล พระอรหัตตผล

 

      ขอถวายพระพร พระอริยผลทั้ง ๓ นี้แล เป็นธรรมที่นำไปสู่พระนิพพานได้โดยเร็ว หรือโดยมีกำหนดแน่นอน”

 

      ม: “ก็ถ้าอย่างนั้น พระภิกษุทั้งหลาย จะพึงไปกังวลด้วยการเล่าเรียนพระนวังคสัตถุสาสน์

 

(นวังคสัตถุสาสน์ คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ๙ ประการคือ

 

๑. พระสูตร

๒. เคยยะ

๓. เวยยากรณ์

๔. คาถา

๕. อุทาน

๖. อิติวุตตก

๗. ชาดก

๘. อัพภูตธรรม

๙. เวทัลละ

 

ในหนังสือสารัตถสังคหะ แสดงความต่างแห่ง

นวังคสัตถุสาสน์ไว้ฉะนี้

        ๑. พระสูตรนั้น      ได้แก่อุภโตวิภังค์ นิเทศ

                                        ขันธก ปริวาร อนังคณสูตร

                                        รตนสูตร นาลกสูตร

                                        ตุวฎกสูตร เป็นอาทิอันมี

                                        ในคัมภีร์สุตตนิบาต ใช่แต่

                                        เท่านั้น ถ้ามีชื่อว่าสูตรแล้ว

                                        ก็จัดเข้าในองค์นี้

        ๒. เคยยะ            ได้แก่พระสูตรอันประกอบ

                                        ด้วยคาถา ถ้าจะว่าโดยวิเศษ

                                        คาถาวรรคทั้งสิ้น อันมีใน

                                        คัมภีร์สังยุตตนิกายจัดเข้าใน

                                        องค์นี้

        ๓. เวยยากรณ์      ได้แก่พระอภิธรรมปิฎกทั้งสิ้น

                                        และพระสูตรอันหาคาถามิได้

                                        และพระพุทธพจน์อื่นที่มิได้

                                        นับในองค์อื่น

        ๔. คาถา                     ได้แก่คาถาพระธรรมบท เถร

                                        คาถา เถรีคาถา สุตตคาถาอัน

                                        มีในคัมภีร์สุตตนิบาตที่มิได้

                                        ชื่อว่าสูตร

        ๕. อุทาน            ได้แก่สูตร ๘๒ สูตร ที่ประกอบ

                                        ได้ด้วยโสมนัสญาณสัมปยุตตคาถา

                                        คือคาถาที่เปล่งออกด้วยจิตอัน

                                        เบิกบาน

        ๖. อิติวุตตก         ได้แก่สูตร ๑๐๐ สูตร อันเป็นไป

                                        ด้วยนัยเป็นต้นคือ วุตตํ เหตํ ภควตา

        ๗. ชาดก                    ได้แก่ชาดก ๕๕๐ ชาดก มีอปัณณก

                                        ชาดกเป็นต้น

        ๘. อัพภูตธรรม     ได้แก่พระสูตรอันพระพุทธเจ้า

                                        ตรัสเทศนาประกอบไปด้วยความ

                                        อัศจรรย์

        ๙. เวทัลละ         ได้แก่สูตรมีจุลลเวทัลลสูตร มหา

                                        วเทัลลสูตรเป็นต้น ซึ่งได้แก่พระ

                                        สูตรอันบริษัทได้ซึ่งความยินดีปรี

                                        ดาแล้วไต่ถามขึ้น )

 

      และด้วยการสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ หรือด้วยการบูชาเป็นต้น เพื่อประโยชน์อะไร ซึ่งเป็นการทำให้ช้าไปเปล่า ๆ”

 

      น: “ขอถวายพระพร อันบันไดต้องก้าวแต่ขั้นต่ำขึ้นไปหาขั้นสูง มิใช่หรือ”

 

รูปเปรียบกับการขึ้นบันได

 

      ม: “ก็อย่างนั้นสิเธอ ไม่เช่นนั้นจะขึ้นไปถึงขั้นสูงสุดได้อย่างไร”

 

      น: “ขอถวายพระพร นี่ก็เช่นนั้นแล การที่พระภิกษุทั้งหลายต้องเรียน นวังคสัตถุสาสน์เ ป็นต้นนั้น ก็เพราะว่าการที่จะนำตนให้ก้าวไปถึงนิปปัญจธรรม นั้น ๆ ได้ ต้องศึกษาข้อวัตตปฏิบัติอันเป็นบันไดขั้นต้น เพื่อให้รู้ทางดำเนิน และต้องบำเพ็ญศีลสมาธิปัญญา ฝึกกายวาจาใจเพื่อให้มีกำลังพอที่จะให้ก้าวไปหาภูมิธรรมนั้น ๆ ได้

 

      มิฉะนั้นก็จะก้าวไปไม่ถูก หรือไม่ถึงเพราะเหตุนี้พระภิกษุ จึง

ต้องกระทำเช่นนั้นไปก่อน ขอถวายพระพร ส่วนพระพุทธพจน์ที่ตรัสสอนดังทรงยกมาในเบื้องต้นนั้นก็ด้วยมี พระพุทธประสงค์จะทรงเตือนมิให้สาวกทอดอาลัยในคุณเบื้องบนนั้น ๆ เสีย จะได้มีความพยายามก้าวหน้าต่อไปอยู่เสมอ จนกว่าจะถึงนิปปัญจธรรมทั้ง ๔ นั้น”

 

      ม: “เธอว่านี้ชอบแล้ว”

 

จบนิปปัญจธรรมปัญหา

 

 

 

ปัญหาที่ ๓ คนธรรมดาสำเร็จอรหันต์ (คิหิอรหัตตปัญหา)

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน คำที่เธอว่า

 

ฆราวาสเมื่อได้เป็นพระอรหันต์ ย่อมมีคติเป็น ๒ คือบวชในวันนั้นอย่าง ๑  ถ้าไม่เช่นนั้น ก็นิพพานในวันนั้นอย่าง ๑

 

นั้น ก็ถ้าในวันนั้นบวชไม่ทัน โดยหาอุปัชฌาย์ หรือเครื่องบริขารไม่ได้ จะมินิพพานเสียหรือ”

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร ก็นิพพาน”

 

      ม: “ถ้าอย่างนั้น จะมิเป็นอันชื่อว่า พระอรหัตตผลบั่นทอนชีวิตของท่านเหล่านั้นเสียหรือ”

 

      น: “ขอถวายพระพร การที่เป็นดังนั้นหาใช่เพราะพระอรหัตตผลบั่นทอนไม่ เป็นเพราะเพศฆราวาสไม่สามารถจะทรงคุณธรรมอันสูงสุดนั้นได้”

 

      ม: “เธอจงหาตัวอย่างมาเปรียบให้ฟัง”

 

      น: “เหมือนผู้บริโภคอาหารอันบริสุทธิ์ แต่บริโภคมากเกินส่วน ไฟธาตุย่อยไม่ไหว การบริโภคนั้นก็ย่อมให้โทษแก่ร่างกาย

 

ขอถวายพระพร นี่จะจัดว่าเป็นโทษของอาหารนั้นจะได้หรือ”

 

      ม: “ไม่ได้สิเธอ เพราะอาหารเป็นของบริสุทธิ์ ต้องจัดว่าเป็นโทษของการบริโภค เพราะมากจนไฟธาตุย่อยไม่ไหว”

 

      น: “นั่นแลฉันใด นี่ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จะว่าเป็นเพราะพระอรหัตตผลบั่นทอนชีวิตไม่ได้ เพราะพระอรหัตตผลเป็นคุณธรรมอันบริสุทธิ์

 

      ขอถวายพระพร การที่ท่านต้องนิพพานนั้น เป็นโทษของเพศฆราวาสซึ่งไม่มีกำลังสามารถจะทรงคุณธรรมอันสูงสุดนั้นได้”

 

      ม: “เธอว่านี้ชอบแล้ว”

 

จบคิหิอรหัตตปัญหา

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา