บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 2,460
เมื่อวาน 1,871
สัปดาห์นี้ 8,565
สัปดาห์ก่อน 15,976
เดือนนี้ 71,491
เดือนก่อน 47,501
ทั้งหมด 4,339,378
  Your IP :3.93.178.221

ปัญหาที่ ๔ พระสุวรรณสามถูกยิง (เมตตานิสังสปัญหา)

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน เมตตาพรหมวิหารมีอานิสงส์เท่าไร”

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “มี ๑๑ ประการ คือ

 

๑)            นอนเป็นสุข

 

๒)            ตื่นก็เป็นสุข

 

๓)           ฝันดีเป็นมงคล

 

๔)           เป็นที่รักใคร่ของหมู่มนุษย์

 

๕)           เป็นที่รักของพวกอมนุษย์

 

๖)            เทวดาย่อมรักษา

 

๗)          เพลิง หรือพิษ หรือศาสตราวุธย่อมไม่ตกต้อง

 

๘)          จิตย่อมมั่นคง

 

๙)           ผิวหน้าผ่องใส

 

๑๐)     จะตายก็มีสติ

 

๑๑)     ถ้ายังไม่ได้บรรลุมรรคผลก็ไปเกิดยัง

พรหมโลก”

 

 

      ม: “อานิสงส์ ๑๑ ประการนี้ พระพุทธเจ้าตรัสแจงไว้หรือ”

 

      น: “ขอถวายพระพร”

 

      ม: “ถ้าเช่นนั้น สามกุมาร (สุวรรณสาม) ผู้เจริญเมตตาพรหมวิหารอยู่เนือง ๆ แต่ก็เหตุไฉน  จึงถูกลูกศรของปิลิยักษ์ล้มสลบอยู่กับที่เล่า”

 

รูปสุวรรณสามชาดก

 

อ่านสุวรรณสามชาดก

 

      น: “เป็นเพราะในขณะนั้น พระสามะประมาท มิได้เจริญเมตตาพรหมวิหาร และเหตุที่ท่านเผลอไปดังนั้น ก็เพราะความเมื่อยล้า ซึ่งต้องเที่ยวเดินแสวงหาผลไม้มาเลี้ยงบิดามารดา ขอถวายพระพร เหตุนี้แลท่านจึงถูกยิง”

 

      ม: “เธอจงหาตัวอย่างมาเปรียบให้ฟัง”

 

      น: “ลูกศรที่ข้าศึกยิงมา จะป้องกันมิให้ถูกตัวได้ ก็เฉพาะเวลาสวมเกราะไว้ มิใช่หรือ”

 

 

 

รูปเสื้อเกราะ

 

 

      ม: “ก็อย่างนั้นสิเธอ ถ้าไม่สวม เขายิงมาเมื่อใดก็เป็นอันตรายเมื่อนั้น”

 

      น: “ขอถวายพระพร เมตตาพรหมวิหารก็เป็นเหมือนเกราะนั้นแล จะเกิดผลตามที่พระพุทธองค์ตรัสแจงไว้นั้นได้ก็ต่อเมื่อเจริญเป็นจิตตภาวนาอยู่เนืองนิตย์ 

 

      ถ้าประมาทละเลยเสีย เมตตาพรหมวิหารก็ไม่มีกระแสพอที่จะต้านทานอันตรายนั้น ๆ ไว้ได้ ขอถวายพระพรตามเรื่องปรากฏว่า พระเจ้าปิลิยักษ์มีพระอัธยาศัยโปรดการล่าสัตว์ยิงเนื้อเสวยอยู่เนือง ๆ

 

      ครั้นมาทอดพระเนตรเห็นพระสามะเดินแบกหม้อน้ำมาตักน้ำพร้อมด้วยฝูงเนื้อ ก็หลากพระหฤทัยทรงพระดำริว่า ต้องยิงให้หนีไม่ได้ จึงจะมีโอกาสถามเรื่องราวได้ตลอด

 

      ขอถวายพระพร เมื่อท้าวปิลิยักษ์จะทรงปล่อยลูกศร ยิงพระสามะนั้น ประจวบกับขณะที่พระสามะประมาทมิได้เจริญเมตตาพรหมวิหารซึ่งเป็นขณะที่เมตตาจิตมีกระแสน้อยลง มีกำลังไม่พอที่จะดึงดูดพระนิสัยอันทารุณนั้นให้จางลงได้

 

      ขอถวายพระพร เหตุดังทูลมานี้แล พระสามะจึงถูกลูกศรสลบอยู่กับที่”

 

      ม: “เธอว่านี้ชอบแล้ว”

 

จบเมตตานิสังสปัญหา

 

 

 

ปัญหาที่ ๕ ผลของความดี และความชั่ว (กุสลากุสลการิสุสสมาสมปัญหา)

 

      พระเจ้ามิลนท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน ความดีกับความชั่วให้ผลเสมอกันไป หรือให้สูงให้ต่ำกว่ากัน”

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร ความดีมีผลเป็นสุข ให้เกิดในฐานะสูง ความชั่วมีผลเป็นทุกข์ ให้เกิดในฐานะต่ำ”

     

      ม: “ถ้าเป็นอย่างนั้น ไฉนพระเทวทัตซึ่งปรากฏว่า เป็นผู้กระทำความชั่วจ้องล้างผลาญ พระโพธิสัตว์เจ้าตลอดกาล จึงมียศศักดิ์ตระกูลและสมบัติเท่าเทียมพระโพธิสัตว์ หรือบางคราวสูงยิ่งกว่า เช่นชาติหนึ่งพระเทวทัตเกิดเป็นบุตรปุโรหิต แต่พระโพธิสัตว์เกิดเป็นบุตรคนจัณฑาลนี่เธอจะว่าอย่างไร”

 

      น: “ขอถวายพระพร พระเทวทัตใช่ว่าจะกระทำแต่ความชั่วอย่างเดียวหามิได้ ความดีทั้งหลายก็ปรากฏว่าได้กระทำมาในชาตินั้น ๆ มีอาทิเช่น ให้กระทำการอารักขาทั่วไปในชนบท ให้คนทำสะพานและโรงทานเป็นต้น

 

      ขอถวายพระพร การที่พระเทวทัตได้มียศศักดิ์ตระกูล และสมบัติในชาตินั้น ๆ ก็เพราะความดีทั้งหลายตามมาให้ผล ส่วนความชั่ว คือการผูกพยาบาทในพระโพธิสัตว์นั้น นาน ๆ พระเทวทัตจึงจะมีโอกาสกระทำได้สักครั้งสักคราวหนึ่ง เหตุว่ามิได้เกิดร่วมกาลเทศะกันทุก ๆ ชาติไป 

 

      ขอถวายพระพร เหล่าสัตว์ย่อมไหลไปตามกระแสแห่งสังสารวัฏ บางชาติก็เกิดมาพบผู้ที่รักใคร่กัน บางชาติก็เกิดมาพบ

ผู้ที่เกลียดกัน เปรียบเหมือนกระแสน้ำย่อมพัดสิ่งที่สะอาดบ้าง สิ่งที่ไม่สะอาดบ้าง ลอยไปฉะนั้น”

 

      ม: “เธอว่านี้ชอบแล้ว”

 

จบกุสลากุสลการิสุสสมาสมปัญหา

 

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา