บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 4,679
เมื่อวาน 4,086
สัปดาห์นี้ 11,957
สัปดาห์ก่อน 12,965
เดือนนี้ 53,157
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,397,654
  Your IP :3.15.3.154

ปัญหาที่ ๖ ไม่ให้อาลัยที่อยู่ (อนิเกตานาลยกรณปัญหา)

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน พระพุทธเจ้าตรัสห้ามมิให้พระภิกษุผูกใจในที่อยู่ มิใช่หรือ”

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร เป็นดังพระองค์ตรัสนั้นแล”

 

      ม: “ก็ถ้าอย่างนั้น เหตุไรจึงทรงอนุญาตให้ทายก สามารถสร้างวิหารถวายพระภิกษุ ผู้เป็นพหูสูตได้เล่า”

 

      น: “ขอถวายพระพร การที่พระพุทธองค์ตรัสห้ามมิให้พระภิกษุผูกใจในที่อยู่นั้น ก็ด้วยทรงเห็นว่าไม่เป็นการสมควรแก่สมณะ ผู้มีปฏิปทา (ทางดำเนิน,ความประพฤติ,วิถีปฏิบัติ: Mode of practices ) อันสงบระงับ

 

      เพราะว่าเมื่อไม่เอาที่อยู่มาผูกใจให้เกิดความพัวพันขึ้นแล้ว ใจก็จะเป็นธรรมชาติควรแก่การงานตามหน้าที่ของตนจะได้ไม่กังวลในที่ใช่ฐานะ

 

 

รูปเปรียบดุจสิงโต

 

      ดุจราชสีห์เมื่อเที่ยวไปในป่าย่อมไม่มีความอาลัยในที่อยู่ จนใครสังเกตที่อยู่ไม่ได้ฉันใด พระภิกษุซึ่งมีหน้าที่ทำลายบาปอกุศลก็ต้องมีปฏิปทา ฉันนั้นเหมือนกัน

 

      เพราะเมื่อทำใจไม่ให้เกี่ยวเกาะอยู่ในที่อยู่ได้แล้ว ก็เป็น

เหตุเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่จะตัดความกังวลเสียได้ ซึ่งเป็นโอกาสที่จะให้กระทำความดีได้สะดวก

 

      ส่วนการที่พระองค์ทรงอนุญาตให้ ทายกสร้างที่อยู่ถวายแก่พระภิกษุผู้พหูสูตนั้น ก็ด้วยพิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์  ๒ 

ประการ คือ

 

      ประการแรก การสร้างวิหารถวายพระภิกษุ พระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ทรงสรรเสริญตรัสชมไว้ว่าเป็นปัจจัยอันหนึ่ง ซึ่งทำให้พ้นจากความเกิด ความแก่ ความตายได้

 

      อีกประการหนึ่ง พระภิกษุ และนางภิกษุนีจักได้มีที่อยู่

เป็นหลักแหล่ง ถึงคราวผู้มีศรัทธาจะทำบุญให้ทานก็ย่อมทำได้โดยสะดวก”

 

      ม: “ฟังได้”

 

จบอนิเกตานาลยกรณปัญหา

 

 

 

ปัญหาที่ ๗ พระพุทธเจ้า กินอาหารมากน้อยแค่ไหน (อุทรสังยมปัญหา)

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน พระพุทธเจ้าตรัสสอนเขาว่า

 

พึงเป็นผู้สำรวมท้อง

 

ฉะนี้ แต่เหตุไฉนพระองค์เองจึงตรัสว่า

 

บางคราวเราบริโภคเสมอขอบบาตรบ้าง บางคราวก็ยิ่งกว่า

 

(คำนี้พระพุทธเจ้าตรัสกะสกุลุทายิปริพพาชก (มหาสกุลุทายิสูตรมัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก)

 

(ซึ่งสมเด็จ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงแปลจากพระสูตรนั้นไว้ว่า "อุทายิ บางคราวเราฉันเต็มขอบบาตรนี้ก็มี ยิ่งกว่าก็มี หากว่าพวกสาวกของเราจะสักการะเคารพนับถือบูชาเราแล้วอยู่พึ่งเรา ด้วยเข้าใจว่าเรามีอาหารน้อย และสรรเสริญความเป็นผู้มีอาหารน้อย สาวกของเราผู้มีอาหารน้อยเพียงเท่าโกสะ (บรรจุในผลกระเบา?) หนึ่งก็มี เพียงเท่าเวฬุวะ (บรรจุในผลมะตูม?) หนึ่งก็มี เพียงกึ่งนั้นก็มี ที่ไหนเธอจะสักการะเคารพนับถือบูชาเราแล้วอยู่พึ่งเราเล่า" 

 

และทรงสันนิษฐานไว้ว่า "แม้ในที่อื่นก็กล่าวว่า พระศาสดาเสวยพระอาหารน้อย พระอาหารเต็มขอบบาตรที่ว่าเสวยหมด นั้นคงไม่เท่าไรนั้น"

 

        แต่ตามสำนวนที่ท่านแก้ไว้ในมิลินทปัญหานี้ ดูเป็นที่ว่าพระพุทธเจ้าเสวยพระอาหารมาก โดยมิได้ทรงคำนึงถึงความพอเหมาะและทั้งที่ทรงนำมาตรัสสอนเขาเลย ทั้งนี้น่าจะเป็นเพราะท่านเข้าใจขนาดบาตรใหญ่กว่าความจริง ท่านจึงแก้เหตุเลยไปว่า พระพุทธเจ้าเสร็จกิจไม่ต้องทรงกระทำต่อไปอีกแล้วจะเสวยสักเท่าไรก็ได้

 

        แท้จริงไม่ปรากฏว่า พระพุทธเจ้าทรงกระทำสิ่งที่พระองค์ทรงห้ามมิให้ผู้อื่นกระทำ เพราะว่าพระองค์มีพระชาติเป็นกษัตริย์ และมีพระนิสัยเป็นศาสดาผู้สอนเขาด้วย

 

        เรื่องเช่นนี้ ท่านผู้แต่งปกรณ์ชั้นหลัง ๆ ทำเป็นกาฝากจับไว้ในคัมภีร์พระพุทธศาสนามากแห่ง เช่น เรื่องยมกปาฏิหาริย์ เป็นต้น การที่เป็นดั่งนี้ก็เพราะว่า ท่านเหล่านั้น มีสติสัมปชัญญะไม่พอบ้าง ต้องการจะส่งเสริมพุทธาภินิหารให้สมกับใจ

ที่ท่านเคารพนับถือบ้างและถูกกาลเทศะจูงให้เป็นไปบ้าง

 

        ความเป็นมาแห่งคัมภีร์พระพุทธศาสนามีอยู่เช่นนี้ จึงปรากฏเรื่องที่

เชื่อไม่สนิทหรือเชื่อไม่ได้อยู่มากเรื่อง) ดังนี้เล่า”

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร ผลร้ายของการไม่สำรวมท้อง ก็มีเช่น ให้ฆ่าสัตว์บ้าง ให้ลักขโมยของเขาบ้าง ให้ประพฤติผิดในกามบ้าง ให้กล่าวเท็จบ้าง ให้ดื่มน้ำเมาบ้าง และให้กระทำความผิดอื่น ๆ บ้าง

     

      เพราะเหตุนี้ พระองค์จึงตรัสสอนให้เป็นผู้สำรวมท้องจะได้ป้องกันความชั่วทั้งหลายเสีย ส่วนพระองค์เองเสวยเสมอขอบบาตร  บางคราวก็ยิ่งกว่านั้นก็เพราะว่า พระองค์มีพระธุระได้ทรงกระทำเสร็จสิ้นแล้ว กิเลสมิได้กลับกำเริบในพระหฤทัยอีก”

 

      ม: “เธอจงหาตัวอย่างมาเปรียบให้ฟัง”

 

      น: “เหมือนคนเจ็บ หมอย่อมห้ามมิให้บริโภคของแสลง เพื่อมิให้โรคกำเริบ แต่ครั้นหายแล้ว หมอก็อนุญาตให้บริโภคได้ทุกอย่างตามความปรารถนา

 

      ฉันใด แม้พระพุทธเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน พระองค์ได้สำรอกกิเลส กำจัดความชั่วทั้งหลายให้ศูนย์สิ้นไป กิเลสไม่กลับมากำเริบต่อไปอีก เพราะฉะนั้น การเสวยของพระพุทธองค์เช่นนั้น จึงไม่เป็นการแสลงอะไร”

 

      ม: “เธอฉลาดว่า”

 

จบอุทรสังยมปัญหา

 

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา