บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 754
เมื่อวาน 2,429
สัปดาห์นี้ 9,413
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 37,648
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,382,145
  Your IP :3.19.56.45

ปัญหาที่ ๖ สะเก็ดหินกระเด็นโดนพระบาทของพระพุทธเจ้า (ภควโตปาทปัปปฏิกติตปัญหา)

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน ที่เธอว่าพระพุทธองค์เสด็จดำเนินไปทางไหน แผ่นดินซึ่งไม่มีเจตนาแห่งใดลุ่มก็ฟูขึ้น แห่งใดดอนก็ยุบลง เรียบราบเสมอกัน ฉะนี้มิใช่หรือ”

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร เป็นดังพระองค์ตรัสนั้นแล”

 

      ม: “ก็เป็นเหตุไฉน พระบาทของพระพุทธเจ้าจึงถูกสะเก็ดหินกระทบ”

 

      น: “เป็นเพราะสะเก็ดหินนั้นมิได้ตกลงตามธรรมดาของตน แต่ตกลงมาด้วยความเพียรพยายามของพระเทวทัต ขอถวายพระพร พระเทวทัตผูกอาฆาตในพระพุทธเจ้ามานานจึงพยายามกลิ้งหินก้อนโตขนาดเท่าเรือนยอด หวังจะให้ทับพระพุทธเจ้าแต่มีภูเขา ๒ ภูเขาผุดขึ้นมารับไว้ ด้วยกำลังแห่งการกระทบกันนั้น จึงมีสะเก็ดหินกระเด็นไปต้องพระบาทพระพุทธเจ้าเข้า”

 

      ม: “ก็มีภูเขาผุดขึ้นมารับตั้ง ๒ ภูเขาแล้วทำไมจึงกระเด็นลงไปถูกได้อีกเล่า”

 

      น: “ขอถวายพระพร แม้มีของรองรับแล้ว แต่ก็ยังรั่วไหลไปได้เหมือนเทน้ำลงในฝ่ามือ น้ำก็ย่อมรั่วไหลออกตามนิ้วมือได้ฉะนั้น”

 

      ม: “เอาละข้อนั้นข้าพเจ้าเข้าใจ แต่มาสงสัยว่า ทำไมสะเก็ดหินจึงไม่กระทำความเคารพยำเกรงเหมือนอย่างแผ่นดินใหญ่บ้างเล่า”

 

      น: “ขอถวายพระพร เหตุปัจจัยที่จะไม่ให้กระทำความเคารพยำเกรงมีอยู่ดังนี้ คืออำนาจแห่งราคะ, อำนาจแห่งโทสะ, อำนาจแห่งโมหะ, อำนาจแห่งโลภะ, อำนาจแห่งความพยาบาท, อำนาจแห่งมานะ, อำนาจแห่งอิติมานะ, ความไม่นิยมนับถือ, ความเป็นคนเลว, ความไม่มีอิสระแก่ตน, ความตระหนี่ตน, ความสาละวนแต่งาน

 

      ขอถวายพระพร ก็และสะเก็ดหินชิ้นนั้น  กลิ้งมาด้วยอำนาจความพยาบาทของพระเทวทัตแตกออกเพราะกระทบกัน เหตุกำลังแรงนั้นแลสะเก็ดหินจึงกระเด็นไปถูกพระบาทพระพุทธเจ้าเข้า  เหมือนละอองอันกำลังลมพัดหอบไป ย่อมกระจายไปทั่วทิศฉะนั้น”

 

      ม: “ฟังได้”

 

จบภควโตปาทปัปปฏิกติตปัญหา

 

 

 

ปัญหาที่ ๗ ทานกถา มิใช่แทนการพูดเทียมขอ (คาถาภิคีตโภชนทานกถายกถนปัญหา)

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน พระพุทธเจ้าตรัสว่า

 

การไม่บริโภคโภชนะที่ได้มาจากการกล่าวขับคาถา (พูดเทียมขอ) เป็นจารีตของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

 

ฉะนี้มิใช่หรือ”

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร เป็นดังพระองค์ตรัสนั้นแล”

 

      ม: “ก็ถ้าอย่างนั้น เหตุไรเมื่อพระพุทธองค์ตรัสอนุปุพพิกถา

 

(อนุปุพพิกถา คือ เทศนาที่แสดงไปโดยลำดับ เพื่อฟอกอัธยาศัยของผู้ฟังให้หมดจดเป็นชั้นๆ มี ๕ อย่างดังนี้ คือ:-

 

       (๑) ทานกถา กล่าวถึงลักษณะและประโยชน์ของการให้

 

       (๒) สีลกถา กล่าวถึงความประพฤติเรียบร้อย

 

       (๓) สัคคกถา กล่าวถึงความดีความงามอันผู้ให้ทานรักษาศีลขึ้นนั้นจะพึงได้รับ

 

       (๔) กามาทีนวกถา กล่าวถึงผลความดีความงามอันเกิดแต่ทานศีลนั้นว่า แม้จะมีผลเป็นสุข แต่ก็ยังเจือไปด้วยความทุกข์

 

       (๕) เนกขัมมานิสังสกถา กล่าวถึงคุณของการทำจิตมิให้หมกมุ่นอยู่ในความสุขอันเจือทุกข์นั้น

 

       อนุปุพพิกถานี้ ปรากฏว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงคราวเมื่อผู้ฟังมีอุปนิสัยสามารถจะได้บรรลุมรรคผล เพราะผู้ที่ไม่เห็นแก่ตัวบริจาคทรัพย์ของตนเกื้อกูลแก่ผู้อื่น มีความประพฤติเรียบร้อยตั้งตนไว้ในสุขสมบัติได้แล้ว แต่ไม่หมกมุ่นอยู่ในความสุขนั้น พิจารณาเห็นโทษเกิดความเบื่อหน่าย หวังความสุขอันสงบยิ่งขึ้น, ย่อมเป็นผู้สมควรรับเทศนาอย่างสูงขึ้นไปอีก ประหนึ่งผ้าที่ฟอกสะอาดหมดจดแล้ว ย่อมรับน้ำย้อมต่างสีได้ตามความประสงค์ฉะนั้น)

 

จึงทรงยกทานกถาตรัสพรรณนาถึงทานการให้และผลของการให้ เป็นกถาหนึ่งและตรัสไว้ในเบื้องต้นด้วยเล่า จนเทวดา และมนุษย์ทั้งหลายพากันยินดีถวายทาน ตามพระดำรัสที่ตรัสสอนนั้น”

 

      น: “ขอถวายพระพร เหตุที่พระพุทธเจ้าตรัสอนุปุพพิกถาทรงยกทานการให้เป็นข้อหนึ่ง และตรัสไว้เป็นข้อต้นด้วยนั้น ก็เพราะว่า การบริจาคทานย่อมเป็นปัจจัยแห่งการอำนวยประโยชน์สุขได้ประการหนึ่ง และทั้งเป็นดุจบันไดขั้นต้นที่ชักจูงใจทายกให้ก้าวหน้าต่อไปยังคุณเบื้องบน เหตุนี้พระองค์จึงตรัสสอนและทรงชี้แจงก่อนธรรมข้ออื่น

 

      ขอถวายพระพร เนื่องด้วยพระพุทธองค์ทรงแสดงทานและผลของทานให้ทายกผู้บริจาคทานฟังเช่นนี้ พระองค์จึงทรงบัญญัติกฏเกณฑ์ห้ามมิให้ภิกษุแสวงหาในทางที่ผิดจากพุทธจารีต เช่นทรงห้ามไม่ให้ออกปากขอของต่อคนที่ไม่ควรขอ หรือในเวลาที่ไม่ควรขอ เป็นต้น

 

      เพื่อจะได้เป็นระเบียบให้พระภิกษุประพฤติตนสมควรแก่ทักขิณาทานนั้น ๆ และอีกทั้งจะได้เป็นปัจจัยส่งเสริมทานสมบัติให้เกิดผลไพบูลย์ยิ่งขึ้น ขอถวายพระพร ทั้งนี้ก็เพราะว่า พระองค์ทรงประพฤติตามจารีตของพระพุทธเจ้าทั้งทลาย ดังพระพุทธพจน์ในเบื้องต้นนั้นแล”

 

      ม: “เธอฉลาดว่า”

 

จบคาถาภิคีตโภชนทานกถายกถนปัญหา

 

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา