บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 421
เมื่อวาน 2,429
สัปดาห์นี้ 9,080
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 37,315
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,381,812
  Your IP :3.144.212.145

ปัญหาที่ ๔ การถวายบิณฑบาตที่มีผลมากสุด (เทฺวปิณฑปาตมหัปผลภาวปัญหา)

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน พระพุทธเจ้าเสวยพระกระยาหาร ของนายจุนทะแล้ว ก็ทรงพระประชวรเสด็จเข้าสู่นิพพาน ฉะนี้มิใช่หรือ”

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร เป็นดังพระองค์ตรัสนั้นแล”

 

      ม: “ถ้ากระนั้น จะมิเป็นอันว่า การถวายอาหารบิณฑบาตของนายจุนทะ กระทำให้พระพุทธเจ้าต้องเสด็จเข้าสู่ปรินิพพานหรือ”

 

      น: “มิใช่อย่างนั้น ขอถวายพระพร การถวายอาหารบิณฑบาตของนายจุนทะนั้น หาได้เป็นการทอน (ลด) พระชนมายุของพระพุทธองค์ไม่เลย

 

      เพราะว่าก่อนแต่วันนั้น พระองค์ก็แน่พระหฤทัยอยู่แล้วว่าจักต้องนิพพานในวันนั้นแน่นอน”

 

      ม: “ก็แลเหตุอะไรเล่า พระพุทธองค์ จึงตรัสยกย่องทานนั้นว่ามีผลอานิสงส์ล้ำเลิศ ยิ่งถึงกะทรงเทียบเท่ากับผลทานของนางสุชาดาผู้ถวายเมื่อก่อนหน้าตรัสรู้”

 

      น: “ขอถวายพระพร เหตุที่ทำให้การถวายอาหารบิณฑบาตของนายจุนทะมีผลานิสงส์ยิ่งใหญ่นั้น ก็เพราะว่าพระพุทธองค์ทรงเสวยอาหารบิณฑบาตนั้นแล้ว

 

      ตอนปัจฉิมยามก็เสด็จเข้าสู่อนุปุพพวิหารสมาบัติ (อนุปุพพวิหารสมาบัติคือ สมาปัตติธรรมเป็นเครื่องอยู่โดยลำดับกันมี ๙ ประการ คือ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ สัญญาเวทยิตนิโรธ ๑) ๙ ประการโดยอนุโลมและปฏิโลม ครั้นแล้วก็เสด็จปรินิพพาน”

 

      ม: “เธอว่านี้ชอบแล้ว”

 

จบเทฺวปิณฑปาตมหัปผลภาวปัญหา

 

 

 

ปัญหาที่ ๕ พุทธบูชา (พุทธปูชานุญญาตปัญหา)

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน พระพุทธเจ้าตรัสไว้ต่อหน้าพระอานนท์ว่า

 

ท่านทั้งหลายจงอย่าได้ขวนขวาย ในการบูชาสรีระของตถาคตเลย

 

ฉะนี้มิใช่หรือ”

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร ตรัสดังนั้นจริง”

 

      ม: “ก็เหตุไร พระพุทธองค์จึงตรัสไว้อีกว่า จงบูชาธาตุของบุคคลผู้ควรบูชา (เรื่องเดิมที่จะให้เกิดปัญหานี้มีอยู่ดังนี้ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงประชวรใกล้จะนิพพาน พระอานนท์พุทธอุปฐากทูลถามถึงการที่พุทธสาวกจะพึงปฏิบัติในพระพุทธสรีระอย่างไร

 

        พระพุทธองค์จึงตรัสว่า เหล่าภิกษุจงมุ่งหมายดับทุกข์ดับกิเลสอันเป็นประโยชน์ของตนเถิด อย่าได้ขวนขวายในการบูชาสรีระของตถาคตเลย เพราะว่ากิจนั้น ๆ เป็นธุระของกษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี ผู้เป็นบัณฑิต

 

        แต่พระอานนท์เป็นผู้ไปในอำนาจแห่งเหตุ จึงทูลย้อนถามว่า ก็เมื่อบัณฑิตยชนนั้น ๆ จะบูชา จะพึงปฏิบัติในพระพุทธสรีระอย่างไร พระพุทธองค์จึงตรัสให้ปฏิบัติอย่างเดียวกันกับสรีระของพระเจ้าจักรพรรดิ์ และตรัสว่า แม้อัฐิธาตุก็พึงทำสถูปบรรจุไว้ ณ ทางสี่แพร่งเช่นเดียวกัน เพื่อจะได้เป็นที่สักการบูชาของหมู่ชนอันมาแต่ทิศทั้ง ๔)

 

ฉะนี้อีกเล่า”

 

      น: “ขอถวายพระพร พระพุทธพจน์ตอนต้นพระองค์ตรัสด้วยมุ่งพระหฤทัยจะเตือนพระภิกษุ มิให้ใส่ใจในการที่จะต้องขวนขวายในการบูชา แล้วจะได้มีโอกาสพิจารณาสังขารทั้งหลายให้รู้จริงเห็นจริงตามคติธรรม

 

      ส่วนพระพุทธพจน์หลังนี้ พระองค์ตรัสให้เป็นกิจสัมมาปฏิปทาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย”

 

      ม: “เธอจะหาตัวอย่างมาเปรียบให้ฟัง”

 

      น: “ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนการเรียนศิลปะอันเกี่ยวด้วยช้าง ม้า รถ ธนู เป็นกิจของพวกกษัตริย์

 

การเรียนไตรเพท และลักษณศาสตร์เป็นกิจของพวกพราหมณ์

 

การเรียนกสิกรรมเป็นกิจของพวกเวศย์

 

การเรียนวิชาพล มากกว่านี้เป็นกิจของพวกศูทร

 

นี้ฉันใด การบูชาพระสรีระผู้ควรบูชาก็ฉันนั้นเหมือนกัน มิใช่เป็นกิจที่พระภิกษุผู้มีหน้าที่ทำลายบาปอกุศลทั้งหลายจะพึงกระทำ เป็นกิจโดยตรงของเทวดาและมนุษย์ผู้หวังบุญกุศล จะต้องกระทำการขวนขวายไปตามรูปและภาวะของตน ๆ”

 

      ม: “เข้าใจละ”

 

 

จบพุทธปูชานุญญาตปัญหา

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา