บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,463
เมื่อวาน 984
สัปดาห์นี้ 12,492
สัปดาห์ก่อน 29,853
เดือนนี้ 59,649
เดือนก่อน 65,987
ทั้งหมด 4,874,901
  Your IP :3.145.164.47

ปัญหาที่ ๑๐ พลังแห่งอิทธิบาท (อิทธิปาทพลทัสสนปัญหา)

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน พระพุทธพจน์ที่ตรัสแก่พระอานนท์ว่า อิทธิบาท ๔ ประการ (๑. ฉันทะ ความพอใจ, ๒. วิริยะ ความเพียร, ๓. จิตต ความเอาใจใส่, ๔. วิมังสา การพิจารณา) ตถาคตได้ให้เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วและด้วยอานุภาพแห่งการเจริญอิทธิบาทนั้น ถ้าตถาคตประสงค์จะดำรงชีวิตอยู่ต่อไป ตลอดกัปป์หนึ่งหรือเกินกว่ากัปป์ขึ้นไปก็อาจอยู่ต่อไปได้สมประสงค์

 

ตอนต้นตรัสไว้ฉะนี้ แต่ไฉนตอนหลังพระพุทธองค์จึงตรัสว่า

 

      ดูก่อนอานนท์ อีกสามเดือนตถาคตจักปรินิพพาน

 

นี่แลเธอพระพุทธพจน์ทั้งสองตอนนี้ฟังดูไม่สมกันเลยเธอจะว่าอย่างไร เพื่อที่ว่าพระพุทธพจน์ตอนหลังจึงจะไม่แย้งตอนต้นนั้นได้”

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร พระพุทธพจน์ตอนหลังนั้น พระพุทธองค์ตรัสโดยทรงกำหนดพระชนมายุ ซึ่งจะสิ้นสุดลงภายในเขตกำหนดนั้น

 

      ส่วนตอนต้นพระองค์ตรัสด้วยมีพระพุทธประสงค์จะทรงแสดงอานุภาพแห่งการ เจริญอิทธิบาท ๔ ประการว่า สามารถจะให้สำเร็จผลได้สมประสงค์ทุกอย่าง ซึ่งเป็นการไม่เหลือวิสัยที่สุดแม้จะให้อายุยืนยาวออกไปอีกก็ได้”

 

      ม: “อานุภาพแห่งการเจริญอิทธิบาทอาจจะต่ออายุให้ยืนยาวได้จริงดังนั้นทีเดียวหรือเธอ”

 

      น: “ขอถวายพระพร ต่อได้จริง”

 

      ม: “ก็ถ้าอย่างนั้น เหตุไฉนพระพุทธองค์ จึงไม่เสด็จดำรงพระชนม์อยู่ต่อไปอีกเล่ามาด่วนนิพพานเสียทำไม”

 

      น: “อาตมภาพจะขอทูลถามพระองค์ก่อนว่า พระองค์ทรงเชื่อความเร็วแห่งฝีเท้าม้า ของพระเจ้าจักรพรรดิ์ซึ่งวิ่งเร็วดังลมพัดหรือไม่”

 

      ม: “เชื่อสิเธอ เพราะเป็นม้าวิเศษซึ่งถึงกะได้นามว่าม้าแก้ว”

 

      น: “ก็เมื่อความเจริญมีอยู่เช่นนั้น แม้พระเจ้าจักรพรรดิ์จะมิได้เสด็จขึ้นทรงอวดคนทั้งหลายเลย ความเร็วแห่งฝีเท้าม้านั้น จะชื่อว่าเป็นอันมีอยู่หรือไม่”

 

      ม: “ก็มีสิเธอ ความเร็วมีอยู่อย่างใด ก็คงมีอยู่อย่างนั้น หากแต่พระเจ้าจักรพรรดิมิได้ทรงให้ดูเท่านั้น”

 

      น: “ขอถวายพระพร เรื่องนี้ฉันใด แม้พระพุทธเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าพระองค์จะประสงค์ดำรงพระชนม์อยู่ต่อมาให้ยืดยาว ก็อาจดำรงพระชนม์ให้ยืดยาวต่อมาได้ ด้วยอานุภาพแห่งการเจริญอิทธิบาทธรรม ๔ ประการนั้น

 

      ขอถวายพระพร แต่พระพุทธองค์หามีพระประสงค์เช่นนั้นไม่      เหตุที่เป็นดังนั้นก็เพราะว่าพระองค์ไม่ทรงผูกพันในการที่จะมีพระชนม์อยู่ต่อมา ข้อนี้จะพึงพิสูจน์ได้จากพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาคูถ (ของเน่าเสีย อุจจาระ ปัสสาวะ) แม้จะมีประมาณน้อยก็มีกลิ่นเหม็นฉันใด เราตถาคตไม่สรรเสริญความเกิดแม้มีประมาณน้อยฉันนั้นเหมือนกัน

 

      ขอถวายพระพร ตามนัยแห่งพระพุทธพจน์นี้ย่อมชี้ให้เห็นว่า การมีชีวิตอยู่ได้ยืดยาว ไม่เป็นความปรารถนาของพระพุทธองค์นัก แต่ก็ไม่ถึงกะทรงรังเกียจการมีพระชนม์อยู่ต่อไป เป็นอันว่าพระพุทธองค์ไม่ทรงประสงค์หรือไม่ทรงเบื่อหน่ายต่อความเป็นอยู่อันยืดยาวแห่งพระชนม์มายุ พระหฤทัยมิได้ทรงฝักใฝ่ในเรื่องนี้ คติธรรมดาแห่งสังขารมีอยู่อย่างใดก็ทรงปล่อยให้เป็นไปอย่างนั้น”

 

      ม: “เธอว่านี้ชอบแล้ว”

 

จบอิทธิปาทพลทัสสนปัญหา

จบวรรคที่ ๑

 

 

 

 

วรรคที่ ๒

ปัญหาที่ ๑ พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ถอนสิกขาบทได้เล็กน้อย (ขุททานุขุททกปัญหา)

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน พระพุทธพจน์ที่ว่า

 

 ภิกษุทั้งหลายเราตถาคตแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง มิได้แสดงเพื่อความรู้ไม่ยิ่ง

 

ฉะนี้นั้นมีจริงหรือ”

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร มีอยู่จริง”

 

      ม: “ถ้าอย่างนั้น เหตุไฉนเมื่อจวนจะนิพพานจึงจะตรัสกะพระอานนท์ว่า

 

เมื่อตถาคตนิพพานแล้ว สงฆ์จำนงจะถอนสิกขาบท (Education :ข้อที่จะต้องศึกษา) เล็กน้อยก็จงถอนเถิด

 

ตามนัยนี้จะมิเป็นอันว่า สิกขาบทเล็กน้อยที่ทรงบัญญัติไว้นั้น มิได้เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่งหรือ จึงทรงอนุญาตการถอนไว้และถ้าเป็นจริงจะมิค้านกับพระพุทธดำรัสต้นนั้นไปหรือ”

 

      น: “ขอถวายพระพร ไม่ค้าน การที่ทรงอนุญาตให้สงฆ์ถอนสิกขาบทเล็กน้อยนั้นก็ด้วยมีพระพุทธประสงค์จะตรัสลองใจพระภิกษุสงฆ์ดู

 

      เปรียบเหมือนพระเจ้าจักรพรรดิ์ตรัสกะพระราชโอรสในเวลาจวนจะสวรรคตว่า เขตพระราชอาณาจักรกว้างขวางมากนักยากแก่การปกครอง เมื่อลูกจะทอดทิ้งเสียบ้างก็ตามใจเถิด แล้วก็เสด็จสวรรคต

 

      ขอถวายพระพรพระราชกุมารนั้นจะพึงทอดทิ้งเขตแดนซึ่งพระชนกปราบไว้ได้นั้น ๆ ทีเดียวหรือ”

 

      ม: “หามิได้ ด้วยว่าธรรมดาพระมหากษัตริย์ย่อมมีความประสงค์อย่างยิ่งในการที่จะขยายพระราชอาณาเขต”

 

      น: “ขอถวายพระพร นั้นแลฉันใด นี่ก็ฉันนั้นเหมือนกันการที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้สงฆ์ถอนสิกขาบทเล็กน้อยนั้นก็ด้วยมีพระพุทธประสงค์จะตรัสลองใจพระภิกษุสงฆ์ แต่พระหฤทัยทรงมุ่งจะให้สงฆ์คุ้มครองรักษาสิกขาบทเล็กน้อยนั้น ๆ ไว้ด้วยความปรารถนาในข้อวัติปฏิบัติ เพื่อขยายการบำเพ็ญออกไปเช่นเดียวกัน เมื่อเป็นเช่นนี้จะว่าพระพุทธพจน์ของพระองค์ไม่เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่งได้อย่างไร”

 

(คำถวายวิสัชนาของพระนาคเสนในปัญหานี้ ข้อที่ว่าพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้สงฆ์ถอนสิกขาบทเล็กน้อย ด้วยมีพระพุทธประสงค์จะตรัสลองใจพระภิกษุสงฆ์ แต่พระหฤทัยทรงมุ่งจะให้สงฆ์ปรารถนาในข้อวัติปฏิบัติยิ่งขึ้นนั้น ฟังดูไม่สมกับพระพุทธจรรยา เพราะปฏิปทาของพระพุทธเจ้าไม่มีปรากฏที่ไหนว่า ทรงดำริอย่าง ๑

แต่ตรัสไปอีกอย่าง ๑  ยิ่งกว่านี้พระพุทธโอวาททั้งหลายจะชี้ให้เห็นว่า พระองค์เป็น

ผู้มีกายวาจาใจตรงกัน แต่ก็เหตุไฉนพระปิฏกจุฬาภัย (ท่านผู้แต่งหนังสือมิลินทปัญหานี้)

จึงได้กล่าวไว้เช่นนี้  ข้อนี้เห็นจะเป็นด้วยท่านเชื่อมั่นในอนาคตังสญาณของพระพุทธเจ้า

ว่า "พระพุทธองค์ย่อมทรงทราบว่า สงฆ์ไม่อาจถอนสิกขาบทเล็กน้อยที่ทรงอนุญาต

ไว้นั้น" เมื่อท่านคาดพระพุทธญาณตอนนี้ผิดก็เลย  อ่านความประสงค์แห่งพระพุทธ

ดำรัสที่ตรัสอนุญาตไว้นั้นผิดไปด้วย

          เรื่องพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ถอนสิกขาบทเล็กน้อยนี้สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ประทานพระมติไว้ในหนังสือวินัยมุขใจความว่า

"จำนวนแห่งสิกขาบทมาในพระปาฏิโมกข์พอประมาณ จำนวนแห่งสิกขาบทมานอก

พระปาฏิโมกข์มีมากกว่ามากจนพ้นความใส่ใจของผู้ศึกษา นอกจากนี้ยังมีข้อปรับ

อาบัติอันพระคันถรจนาจารย์ตั้งเพิ่มเติมเข้าไว้อีก ซึ่งมากจนฟั่นเฝือเหลือที่จะประพฤติ

ให้ครบครันได้ ทั้งกาละเทศะก็เข้ามาเป็นเหตุขัดขวางด้วย ภิกษุทั้งหลายจึงได้หลีก

เลี่ยงบ้าง  เลิกเสียบ้าง กล่าวคือ ทนเป็นอาบัติเอาบ้าง เมื่อเลิกอย่าง ๑ ก็ชวนให้เลิก

อย่างอื่นต่อไปอีกแม้ยังไม่ถึงเวลาฯ     พระศาสดาทรงคำนึงเห็นเหตุนี้มาแล้ว เมื่อ

จะนิพพานได้ประทานพระอนุญาตให้ถอนไว้  แต่ก็ไม่มีใครกล้าถอนตรงๆ เพราะ

เกรงจะไม่สม่ำเสมอซ้ำยังห้ามถอนเสียเมื่อครั้งทำปฐมสังคายนาด้วย"

          ความจริงของเรื่องนี้  ต้องเป็นอย่างพระมติที่ทรงประทานไว้นี้ เพราะว่าคติแห่ง

พระวินัย เมื่อกาลเทศะเปลี่ยนแปลงไปแล้ว บางสิกขาบทก็ล่วงสมัย หรือขัดกับ

ความเป็นไปของภูมิประเทศบางแห่ง ข้อนี้เทียบได้กับกฎหมายซึ่งบัญญัติขึ้นในสมัย ๑

ในประเทศ ๑ แต่ต่อมาขัดกับสมัย ๑ หรือกับประเทศอื่น จนบางหมวดบางมาตรา

ใช้ไม่ได้อันคติของเรื่องนี้  พระพุทธเจ้าย่อมทรงทราบตลอดเพราะพระองค์เป็น

ชาติกษัตริย์ มีทางรู้ความเป็นไปของกฎหมายได้ดีเหตุว่า พระวินัยมีคติอยู่อย่างนี้

พระพุทธองค์จึงได้ทรงประทานพระอนุญาตไว้เช่นนั้น )

 

      ม: “เธอว่านี้ชอบแล้ว”

 

จบขุททานุขุททกปัญหา

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา