ปัญหาที่ ๒ ลักษณะสิ่งที่มีภาวะอย่างเดียวกัน (โลณลักขณปัญหา)
พระนาคเสนทูลถามว่า “ขอถวายพระพร เกลือเป็นของรู้ได้ด้วยอะไร”
พระเจ้ามิลินท์ตรัสตอบว่า “ด้วยตาสิเธอ”
รูปเกลือ
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
น: “ขอถวายพระพร จะถูกหรือ”
ม: “ถ้าเช่นนั้น รู้ได้ด้วยอะไรเล่า”
น: “ขอถวายพระพร รู้ได้ด้วยลิ้น”
ม: “ด้วยลิ้นอย่างเดียวหรือเธอ”
น: “ขอถวายพระพร ด้วยลิ้นอย่างเดียว”
ม: “ถ้าเป็นเช่นนั้น ไฉนพวกพ่อค้าจึงต้องใช้เกวียนบรรทุกเกลือมาด้วยเล่า จะนำมาแต่รสเกลือจะมิเบากว่าหรือ”
น: “จะทำเช่นนั้นไม่ได้ เพราะเกลือมีน้ำหนัก ขอถวายพระพร ก็เกลือชั่งด้วยตาชั่งจะได้หรือไม่”
ม: “ได้สิเธอ”
น: “ขอถวายพระพร เกลือชั่งไม่ได้ ชั่งได้ก็แต่น้ำหนักเกลือเท่านั้น”
ม: “ชอบกล”
จบโลณลักขณปัญหา
ปัญหาที่ ๓ การเกิดแห่งประสาทสัมผัส (อายตนะ) ๕ (ปัญจายตนกัมมมนิพพัตตปัญหา)
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน กิริยาที่ได้เห็นรูป ได้ยินเสียง ได้ดมกลิ่น ได้ลิ้มรส ได้แตะต้องทั้ง ๕ อย่างนี้ เกิดมาแต่ใจ อย่างเดียวกันหรือว่ามีฐานที่เกิดต่างกัน”
พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร มีฐานที่เกิดต่างกัน”
ม: “เธอจงเปรียบให้ฟัง”
รูปต้นไม้
น: “ต้นไม้ ๕ ต้นมีสี และสัญฐานต่างกันพระองค์ทรงทราบหรือไม่ว่า ต้นไม้เหล่านั้นมีพืชพันธุ์ อย่างเดียวกันหรือต่างกัน”
ม: “ก็ต่างกันสิเธอ ถ้ามีพืชพันธุ์ อย่างเดียวกัน ทำไมจะต่างสีและสัณฐานกันได้เล่า”
น: “กิริยาทั้ง ๕ อย่างนั้น ก็เช่นเดียวกับต้นไม้เหล่านั้นแล คือได้เห็นรูปก็เพราะรูปกระทบตา, ที่ได้ยินเสียงก็เพราะเสียงกระทบหู, ที่ได้ดมกลิ่นก็เพราะเสียงกระทบหู, ที่ได้ดมกลิ่นก็เพราะกลิ่นกระทบจมูก, ที่ได้ลิ้มรสก็เพราะรสกระทบลิ้น, ที่ได้แตะต้องก็เพราะวัตถุภายนอกถูกต้องกาย, ขอถวายพระพร
เมื่อกิริยา ๕ อย่างนี้อย่างใดอย่างหนึ่งกระทำหน้าที่ของตนแล้ว ทันทีนั้นก็ส่งรายงานเข้าไปยังใจ ใจเป็นผู้รับรู้รับพิจารณาต่อไป เป็นอันว่าใจกระทำหน้าที่ของตนภายหลัง เหตุนี้ใจจึงมิใช่ฐานที่เกิดของกิริยาทั้ง ๕ นั้น”
ม: “เธอฉลาดว่า”
จบปัญจายตนกัมมมนิพพัตตปัญหา