บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 849
เมื่อวาน 2,159
สัปดาห์นี้ 15,086
สัปดาห์ก่อน 12,965
เดือนนี้ 56,286
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,400,783
  Your IP :3.143.9.115

ปัญหาที่ ๑๒ ลักษณะของสติ (สติลักขณปัญหา)

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน ก็สติเล่ามีลักษณะอย่างไร”

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร มีลักษณะให้นึกได้และถือไว้”

 

      : “ให้นึกได้อย่างไร ถือไว้อย่างไร”

 

      : “อันสติเมื่อเกิดขึ้น ย่อมให้นึกถึงบุญบาปทั้งหลาย เช่น ให้นึกว่า ศีลมีลักษณะอย่างนั้น  ศรัทธามีลักษณะอย่างนั้น เป็นต้น”

 

      : “เธอจงหาตัวอย่างมาเปรียบ”

 

      : “ขอถวายพระพร เหมือนเจ้าพนักงานคลังพระเจ้าจักรพรรดิ ทำบัญชีพระราชทรัพย์ถวายเพื่อให้ทรงทราบว่า ช้างม้ามีอยู่เท่านั้น พลรบมีอยู่เท่านั้น แก้วแหวนเงินทองมีอย่างละเท่านั้นๆ

 

            เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิได้ทอดพระเนตรบัญชีแล้วจะได้ทรงระลึกถึงบุญบารมีที่ได้ทรงสั่งสมมา ซึ่งเป็นเหตุให้ได้ราชสมบัตินั้น ๆ

 

      ถวายพระพร สติก็ย่อมเป็นเช่นนั้นแหละเมื่อเกิดขึ้นย่อมให้นึกถึงว่า นี่ดี นี่ชั่ว มีคุณและโทษ เป็นอย่างนั้น ๆ”

 

      : “ก็สติที่มีลักษณะถือไว้นั้นเป็นอย่างไรเล่า”

 

      : “ขอถวายพระพร สติเมื่อเกิดขึ้นย่อมให้เลือกถือเอาว่า

นี่ดีมีคุณควรประพฤติ นี่ชั่วให้โทษควรละ”

 

      : “เธอจงเปรียบให้ฟัง”

 

      : “เหมือนนายพระทวาร (คนเฝ้าประตู) ย่อมมีหน้าที่ตรวจตราดูผู้เข้าออก  ถ้าเห็นสมควรจึงอนุญาตให้เข้า ถ้าเห็นพิรุธเกรงว่าจะเป็นคนทุจริตก็ห้ามไม่ให้เข้า

 

 

รูปทหาร ทำหน้าที่รักษาการณ์เฝ้าประตู

 

            ขอถวายพระพร สติก็เป็นอย่างนั้นแหละ ย่อมคอยกีดกันสิ่งที่ชั่วมิให้เข้ามาประจำใจ เลือกเฟ้นไว้เฉพาะสิ่งที่ดีกระทำไว้ในใจ”

 

      : “เธอว่านี้ฟังได้”

                                    จบสติลักขณปัญหา

 

 

 

ปัญหาที่ ๑๓ ลักษณะของสมาธิ (สมาธิลักขณปัญหา)

 

      พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ดูกรพระนาคเสน ก็สมาธิ (ความตั้งใจมั่น) มีลักษณะอย่างไร”

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “มีลักษณะเป็นประธาน ขอถวายพระพร อันความดีทั้งหลายล้วนมีสมาธิเป็นหัวหน้าเป็นประธานทั้งสิ้น”

 

      : “เธอจงเปรียบให้ฟัง”

 

      : “ขอถวายพระพร เหมือนพระมหากษัตริย์เสด็จงานพระราชสงคราม พร้อมด้วยจตุรงคเสนา ก็บรรดาเสนา ๔ เหล่า ซึ่งจัดเป็นหมู่หมวดนั้น ต้องมีพระมหากษัตริย์เป็นผู้บัญชากิจการเป็นประธานกิจการนั้นๆ จึงจะดำเนินลุล่วงไปได้

 

            ตัวอย่างนี้ฉันใด แม้สมาธิ ก็ฉันนั้น ย่อมเป็นหลักเป็นประธานของความดีทั้งหลาย จริงอยู่ความดีทั้งหลายต้องอาศัยใจที่มั่นคง ใจที่แน่วแน่ เป็นหลักจึงจะอยู่คงที่หรือจะก้าวหน้าไปถึงที่สุดแห่งความดีได้

 

              นัยแห่งพระพุทธภาษิตก็มีรับรองอยู่ว่า จงทำสมาธิให้เกิด เหตุว่าผู้มีจิตเป็นสมาธิย่อมรู้แจ้งตามความจริง”

 

      : “เธอนี้สามารถ”

 

                                    จบสมาธิลักขณปัญหา

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา