บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,113
เมื่อวาน 2,429
สัปดาห์นี้ 9,772
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 38,007
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,382,504
  Your IP :18.216.121.55

ปัญหาที่ ๔ ข้อสงสัยของอันตกายอำมาตย์ (อันตกายปัญหา)

 

      พระเจ้ามิลินท์ทรงพระราชดำริว่า  “พระภิกษุรูปนี้มีปรีชาสามารถ พูดโต้ตอบเราได้ แต่ข้อที่เราจะต้องถามยังมีอยู่มาก วันนี้หมดเวลาเสียแล้ว อย่ากระนั้นเลยพรุ่งนี้จึงพูดกันต่อไปในวังเถิด”

 

เมื่อทรงพระราชดำริฉะนี้แล้ว จึงตรัสสั่งเทวมันติยอำมาตย์ ให้อาราธนาพระเถรเจ้าเข้าไปในพระราชวังในวันรุ่งขึ้น แล้วเสด็จจากราชอาสน์ ตรัสลาพระเถรเจ้า มาทรงม้าพระที่นั่งเสด็จกลับคืนเข้าสู่พระราชวัง ฝ่ายเทวมันติยะอำมาตย์ก็อาราธนาพระเถรเจ้าตามรับสั่ง

 

      ครั้นวันรุ่งขึ้น อำมาตย์ ๔ นาย คือ เนมิตติยอำมาตย์, อันตกายอำมาตย์, มังกุรอำมาตย์ และสัพพทินนอำมาตย์ พร้อมกันเข้าไปทูลถามพระเจ้ามิลินท์ว่า “จะโปรดให้นิมนต์พระนาคเสนเข้ามาหรือยัง” 

 

เมื่อตรัสอนุญาตแล้วจึงทูลถามว่า “จะโปรดให้มากับพระภิกษุสักกี่รูป”

 

ตรัสว่า “ท่านจะมากับพระภิกษุกี่รูปก็ตามใจท่านเถิด”

 

อำมาตย์ ๔ นายพากันไปเรียนพระเถรเจ้าตามพระราชดำรัส

 

      ครั้นได้เวลาพระนาคเสนก็พาพระภิกษุสงฆ์เข้าไปสู่สาคลนคร ขณะเมื่อเดินไปตามทางอันตกายอำมาตย์  เข้าเดินเคียงพระนาคเสนแล้วถามขึ้นว่า คำชื่อที่เธอแสดงว่านาคเสน' นั้นอะไรเป็นนาคเสน

     

พระนาคเสนถามว่า “ก็ท่านเข้าใจว่ากระไรเล่า”

 

: “ข้าพเจ้าเข้าใจว่า ลมหายใจเข้าออกนั่นแหละ เป็นนาคเสน”

 

: “ก็ถ้าลมนั้น ออกมาแล้วไม่กลับเข้าไปอีก หรือเข้าไปแล้วไม่กลับ ออกมาอีก คนนั้นจะมีชีวิตอยู่ต่อไปอีกได้หรือไม่”

 

: “คนนั้นก็ตายสิท่าน”

 

: “คนที่เป่าสังข์ เป่าขลุ่ยหรือเป่าเขนง ลมกลับเข้าไปอีกหรือ”

     

: “หามิได้”

     

: “ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ไฉนเขาจึงไม่ตายเล่า”

     

: “เธอพูดจัดจ้านนัก ข้าพเจ้าไม่มีความสามารถพอที่จะพูดโต้ตอบได้ ขอเธอจงว่าให้ฟังทีเดียวเถิด”

     

: “ลมหายใจเข้าออกนั้น ไม่ใช่ชีวิต เป็นเพียงแต่สิ่งสำหรับปรนเปรอร่างกายให้เป็นอยู่เท่านั้น”

     

อันตกายอำมาตย์ก็เลื่อมใส

 

                        จบอันตกายปัญหา

 

ปัญหาที่ ๕ จุดประสงค์การบวช (ปัพพชาปัญหา)

 

      เมื่อพระนาคเสนไปถึงพระราชวัง พระเจ้ามิลินท์ก็ทรงประเคนอาหารบิณฑบาตเลี้ยงและพระราชทานผ้าไตรแก่พระสงฆ์ทั่วทุกรูปแล้ว มีพระราชดำรัสนิมนต์แต่พระนาคเสนกับพระภิกษุ ๑๐ รูปให้รออยู่ก่อน นอกนั้นให้กลับไป

 

แล้วจึงตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน นี่เราจะพูดกันถึงเรื่องอะไรดี”

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร การพูดกันนี้ก็มีความประสงค์อยู่แต่เนื้อความเท่านั้น เพราะฉะนั้น จงตรัสแต่โดยเนื้อความเถิด”

 

: “การบวชของเธอมีประโยชน์อย่างไรและมีอะไรเป็นคุณ

 ซึ่งเธอต้องประสงค์ปรารถนาอย่างยิ่ง”

     

: “การบวชมีประโยชน์ที่จะได้รู้ว่า ทำอย่างไรจึงจะดับความทุกข์

ที่มีอยู่ได้ และจะไม่ให้ความทุกข์อย่างอื่นเกิดขึ้นอีก อนุปาทานนิพพาน (การดับจนสิ้นเชื้อ) เป็นคุณซึ่งอาตมภาพต้องประสงค์อย่างยิ่ง”

     

: “บรรดานักบวช บวชมุ่งประโยชน์อย่างนั้นด้วยกันทั้งนั้นหรือ”

     

: “หามิได้ บางพวกบวชเพื่อจะหนีพระเจ้าแผ่นดินหรือหนีโจร

บางพวกบวชเพราะกลัวภัย  ขอถวายพระพร แต่บางพวกบวชดีด้วยมุ่งประโยชน์อย่างนั้น”

     

: “ก็ตัวเธอเล่า บวชมุ่งประโยชน์อย่างนั้นหรือ”

     

: “ขอถวายพระพร อาตมภาพบวชแต่ยังเป็นเด็ก ยังไม่ทราบว่าการบวชเพื่อประโยชน์อย่างนั้น เพียงแต่มีความคิดในขณะนั้นว่า พระสมณของสากยบุตร (พระพุทธเจ้า) เป็นผู้มีปัญญา ท่านก็คงจะให้ศึกษาตาม เมื่อได้เล่าเรียนศึกษาตามท่านตามปัญญาแล้ว ต่อมาจึงทราบจุดประสงค์ของการบวชว่า การบวชนี้มีประโยชน์อย่างนั้น”

     

: “เธอว่านี้ฉลาดจริง”

 

 

                              จบปัพพชาปัญหา

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา