บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 129
เมื่อวาน 1,670
สัปดาห์นี้ 3,717
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 31,952
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,376,449
  Your IP :18.226.93.209

ปัญหาพระยามิลินท์

เกริ่นนำก่อน

            เดิมมีกษัตริย์ชาวโยนกพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่าพระเจ้ามิลินท์ เสวยราชสมบัติอยู่ในสาคลราชธานี  พระองค์มีพระปรีชาเฉลียวฉลาดว่องไว สามารถทรงทราบเหตุการณ์ได้ทันท่วงทีและมักพอพระราชหฤทัยในการไล่เลียงคำถามกับเจ้าลัทธิต่าง ๆ ในสมัยนั้น จนนักปราชญ์ในสมัยนั้นครั่นคร้ามไม่กล้าจะทูลโต้ตอบพระราชปุจฉาได้

 

ประวัติพระเจ้ามิลินท์

 

ประวัติพระนาคเสน

 

      ในสมัยเดียวกันนั้น ก็มีพระเถระองค์หนึ่งชื่อว่า อัสสคุต อาศัยอยู่ที่ถ้ำรักขิตคูหา ณ ป่าหิมพานต์เมื่อได้ทราบพระเกียรติคุณของพระเจ้ามิลินท์  ดังนั้น จึงประชุมสงฆ์ไต่ถามว่า รูปใดจะสามารถแก้ปัญหาถวายพระเจ้ามิลินท์ได้บ้าง สงฆ์ทุกรูปต่างพากันนิ่ง พระอัสสคุตจึงว่า มีเทพบุตรฉลาดอยู่องค์หนึ่งชื่อว่า มหาเสน อยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ นั่นแล  จะเป็นผู้สามารถโต้ตอบกับพระเจ้ามิลินท์ได้

 

      สังฆสมาคมจึงตกลงพร้อมกันขึ้นไปยังเทวโลก เล่าเรื่อง และความประสงค์ให้พระอินทร์และมหาเสนเทพบุตรฟังจนตลอด ครั้นอัญเชิญมหาเสนเทพบุตรได้สมประสงค์แล้ว จึงพากันกลับมายังโลกมนุษย์ แล้วจัดให้พระโรหณเถระเข้าไปหา เพราะมีความนิยมนับถือกันกับ ตระกูลโสณุตตรพราหมณ์    ซึ่งเป็นตระกูลที่มีมหาเสนเทพบุตรจะจุติลงมาเกิด จนตระกูลนั้นเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา

 

      ฝ่ายมหาเสนเทพบุตร เมื่อรับอัญเชิญจากคณะสงฆ์แล้วก็จุติลงมาเกิด ในตระกูลโสณุตตรพราหมณ์ ตำบลชังคลคามริมป่าหิมพานต์ ได้นามว่า นาคเสนกุมาร   เมื่อเติบโตขึ้นก็ได้รับการศึกษาศิลปวิทยาจากสำนักครูทั้งหลาย ตลอดจนไตรเพท อันเป็นคัมภีร์สำคัญของพราหมณ์ก็ได้ศึกษาจนชำนิชำนาญ ครั้นแล้วจึงมารำพึงว่า วิชาเหล่านี้ไม่มีแก่นสารอะไร ก็เกิดความเบื่อหน่าย

      อยู่มาวันหนึ่ง พระโรหณเถระเข้าไปฉันที่บ้านโสณุตตรพราหมณ์ พอนาคเสนกุมารเห็นก็นึกแปลกใจทันที จึงเรียนถามว่า ทำไมท่านจึงต้อง โกนผมโกนหนวดและต้องนุ่งห่มผ้าเหลือง ครั้นรู้เหตุผล จึงเรียนถามอีกว่า คนเพศเช่นท่านได้รับศึกษาวิชาอะไรบ้าง เมื่อได้รับตอบว่าได้รับศึกษา วิชาอย่างสูงสุดในโลก จึงไปขออนุญาตต่อบิดามารดาบวชเรียนบ้าง 

 

      ครั้นบวชเป็นสามเณรแล้ว ก็เล่าเรียนพระไตรปิฎกในสำนักพระโรหณเถระ พออายุเต็ม ๒๐ ก็บวชเป็นพระภิกษุ ศึกษาต่อไปจนเชี่ยวชาญแตกฉานในพระไตรปิฎก เมื่อพระอัสสคุตรู้ว่า พระนาคเสนเชี่ยวชาญดีแล้ว  จึงนำไปหา พระอายุปาลเถระ ที่สังเขยบริเวณ (ใกล้พระราชวังพระเจ้ามิลินท์) เพื่อจะได้มีโอกาสถวายวิสัชนาพระราชปุจฉา

 

      วันหนึ่งพระเจ้ามิลินท์ตรัสถามเหล่าอำมาตย์ว่า เห็นมีใครบ้างซึ่งพอจะโต้ตอบกับเราได้  เหล่าอำมาตย์จึงกราบทูลว่า มีพระเถระอยู่รูปหนึ่ง ชื่อว่า อายุปาละ พอจะถวายวิสัชนา แก้ปัญหาของพระองค์ได้

 

      เมื่อทรงทราบดังนั้นก็เสด็จไปหาพระอายุปาลเถระตรัสถามปัญหาแรก พระอายุปาลเถระก็ถวาย วิสัชนาให้ทรงสิ้นสงสัยไม่ได้

 

      ขณะนั้นเทวมันติยอำมาตย์จึงกราบทูลว่า ยังมีพระภิกษุอยู่รูปหนึ่งชื่อว่า พระนาคเสน เป็นผู้มีปฏิภาณแตกฉานในพระไตรปิฎก พอพระเจ้ามิลินท์ทรงได้ยินนามว่า นาคเสน ก็ทรงหวาดพระราชหฤทัย

 

 

 

      สาเหตุก็เป็นเพราะว่า เมื่อในอดีตชาติที่ผ่านมา ในยุคศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า  พระเจ้ามิลินท์บวชเป็นสามเณรอยู่ในสำนักของ พระนาคเสน (ซึ่งในครั้นกระนั้น ท่านเป็นพระภิกษุรูปหนึ่ง)

 

        วันหนึ่งพระภิกษุรูปนั้น (คือพระนาคเสน) กวาดหยากเยื่อกองไว้ แล้วเรียกให้สามเณรมาขน สามเณรแกล้งทำเป็นไม่ได้ยินเสียง ท่านจึงบันดาลโทสะหยิบเอาไม้กวาดตีสามเณรๆ ก็จำใจขน ครั้นขนเสร็จแล้ว จึงตั้งความปรารถนาว่า ด้วยผลบุญแห่งการขนหยากเยื่อทิ้งนี้  ชาติต่อไปขอให้มีเดชศักดานุภาพใหญ่หลวง และขอให้มีปัญญาเฉียบแหลมกว่าชนทั้งปวง

 

        พระภิกษุรูปนั้นรู้ว่าสามเณรตั้งสัตยาธิษฐานเช่นนั้น จึงปรารถนาบ้างว่า ด้วยเดชแห่งกุศลที่ข้าพเจ้าได้กวาดหยากเยื่อนี้ ชาติต่อไปขอให้มีปฏิภาณว่องไวสามารถโต้ตอบปัญหาแม้ของ สามเณรนี้ได้

 

 

 

      เมื่อพระเจ้ามิลินท์ทรงทราบข่าวจากเทวมันติยอำมาตย์ดังนั้น จึงเสด็จไปหาพระนาคเสนยังที่อยู่

 

 

วรรค ๑

ปัญหาที่ ๑ ปัญหาเรื่องนาม

 

      เมื่อพระเจ้ามิลินท์เสด็จเข้าไปถึงพระนาคเสน  ทรงปราศรัยกับพระเถรเจ้าแล้วจึงมีพระราชดำรัสว่า “ข้าพเจ้ามีความประสงค์จะพูดด้วยเธอ”

 

พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร ขอพระองค์จงตรัสมาเถิด อาตมภาพก็ใคร่จะฟังอยู่”

 

ม (พระเจ้ามิลินท์ข้าพเจ้าพูดแล้ว เธอฟังเอาเถิด

น (พระนาคเสน อาตมาภาพฟังแล้ว พระองค์ตรัสมาเถิด

เธอฟังได้ยินว่ากระไร

น  พระองค์ตรัสมาว่ากระไร

ม: ก็ข้าพเจ้าได้ถามเธอแล้ว

น: อาตมาภาพก็ได้ถวายวิสัชนา (คำตอบ) แล้ว

ม: เธอวิสัชนามาว่ากระไร

น: พระองค์ตรัสถามว่ากระไร

 

เมื่อต่างฝ่ายต่างลองดูไหวพริบแห่งกันและกันอยู่ฉะนี้ ประชาชนชาวโยนกก็พากันซ้องสาธุการถวายพระนาคเสน แล้วกราบทูลพระเจ้ามิลินท์ว่า “ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอพระองค์จงตรัสถามปัญหา ในทันทีนี้เถิด”

 

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า  “ดูก่อนพระผู้เป็นเจ้าธรรมดาผู้ที่จะพูดกัน ถ้าไม่รู้จักชื่อและสกุลก่อนแล้ว จะพูดกันอย่างไร เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าขอทราบว่าเธอชื่ออะไร”

 

พระนาคเสนทูลตอบว่า “ชื่อของอาตมาภาพ เพื่อนพรหมจารีต่างเรียกว่า นาคเสน  แต่โยมทั้ง ๒ เรียกนาคเสนบ้าง วีรเสนบ้าง สุรเสนบ้าง สีหเสนบ้าง ขอถวายพระพร อันคำชื่อเหล่านี้เป็นคำที่ตั้งขึ้นไว้สำหรับร้องเรียกกัน เท่านั้น  หามีตัวบุคคลที่จะพึงค้นได้ในชื่อนั้นไม่”

 

ทันใดนั้นแล พระเจ้ามิลินท์ได้ตรัสประกาศกะบริษัท (ผู้คนมาฟัง) ว่า “ท่านทั้งหลายจงเป็นพยานช่วยกันจำคำพระนาคเสนไว้”

 

แล้วตรัสกะพระเถระว่า “ดูกรพระนาคเสน ถ้าว่าคนเราไม่มีตัวตนจริงเช่นเธอว่านั้นก็ใคร่เล่าถวายบาตรจีวรแก่เธอ ใครเป็นผู้ใช้สอยบาตรจีวรนั้น และหากว่า ใครฆ่าเธอ ก็คงจะไม่บาป”

 

แล้วตรัสซักไซ้ต่อไปว่า “ก็ที่เธอแสดงชื่อว่านาคเสนนั้น อะไรเล่าเป็นนาคเสน ผมหรือเป็นนาคเสน”

 

พระเถระทูลตอบว่า “มิใช่”

 

ก็ตรัสถามต่อไปจนครบอาการ ๓๒ (อวัยวะทั้งหมด) ทรงไล่เลียงไปแต่ละอย่างๆ ว่า เป็นนาคเสนหรือ

 

พระเถรเจ้าก็ทูลตอบว่า “มิใช่”

 

จึงตรัสไล่ต่อไปอีกว่า “หรือทั้ง ขันธ์ ๕ (The Five Aggregates:รวมกัน 5 อย่าง) เป็นนาคเสน หรือนาคเสนมีนอกออกไปจากขันธ์ทั้ง ๕ นั้น”  

 

พระเถรเจ้าก็ทูลตอบว่า “มิใช่ๆ” ทุกข้อ

 

พระเจ้ามิลินท์เห็นเป็นที จึงตรัสเย้ยว่า “ข้าพเจ้าถามไล่เลียงเธอ ก็ไม่พบว่า อะไรเป็นนาคเสน เธอพูดเหลวไหล ไม่มีส่วนที่เป็นนาคเสนสักหน่อย”

 

ก่อนที่พระเจ้าเถรเจ้าจะถวายวิสัชนาแก้ปัญหานั้น ได้ทูลบรรยายปูเป็นพื้นฐาน เพื่ออ้อมหาช่องให้พระเจ้ามิลินท์ตรัสเป็นทีเสียก่อนว่า “พระองค์เป็นกษัตริย์สุขุมาลชาติ (ผู้ดี ตระกูลสูง)  เสด็จออกจากพระนครมาเวลาเที่ยง กรวดทรายตามทางกำลังร้อนจัด ถ้าทรงดำเนินมา พระบาทคงจะพอง พระราชหฤทัยคงจะอ่อนเพลียเป็นแน่ ขอถวายพระพร พระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาด้วยพระบาทหรือ ด้วยราชพาหนะ”

 

พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสตอบว่า “ข้าพเจ้าก็มาด้วยรถสิเธอ”

 

พระนาคเสนเถรเจ้าเห็นได้ทีจึงทูลถามว่า “ถ้าพระองค์เสด็จมาด้วยรถ ขอพระองค์ได้ตรัสบอกกะอาตมภาพว่า อะไรเป็นรถ? งอนหรือเป็นรถ”

 

พระเจ้ามิลินท์ตรัสตอบว่า “มิใช่”  

 

พระเถรเจ้าจึงทูลถามต่อไปว่า “หรือเครื่องอุปกรณ์อย่างอื่น  เช่น เพลา ล้อ แอก แต่ละอย่างๆ เป็นรถ”

 

พระเจ้ามิลินท์ก็ตรัสตอบว่า “มิใช่”    

 

พระเถรเจ้าจึงถามอีกว่า “หรือเครื่องอุปกรณ์เหล่านั้นทั้งหมดเป็นรถ หรือว่ารถมีนอกเหนือออกไป จากเครื่องอุปกรณ์เหล่านั้น”

 

พระเจ้ามิลินท์ก็ตรัสตอบว่า “มิใช่ ๆ”

 

พระเถรเจ้าจึงทูลเย้ยว่า “อาตมาภาพทูลถามพระองค์ ก็ไม่พบว่าอะไรเป็นรถ พระองค์ตรัสไม่สมกับพระดำรัสในเบื้องต้น”

 

ขณะนั้นเหล่าประชาชนชาวโยนกต่างก็ซ้องสาธุการถวายพระนาคเสน แล้วกราบทูลพระเจ้ามิลินท์ว่า “ข้าแต่พระมหาราชเจ้าขอพระองค์จงตรัสแก้เสียบัดนี้เถิด”

 

พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสว่า “ดูก่อนพระนาคเสน คำว่ารถซึ่งข้าพเจ้า ที่ตอบเธอในเบื้องต้นนั้น ต้องอาศัยทั้งงอน ทั้งเพลาเป็นต้น รวมกันเข้า จึงมีชื่อเรียกเช่นนั้น”

 

พระเถรเจ้าจึงทูลว่า “พระองค์ตรัสถูกแล้ว ขอถวายพระพร  แม้คำว่านาคเสนซึ่งเป็นชื่อของอาตมภาพก็เช่นนั้น ก็เหมือนกัน จะอาศัยทั้งผมทั้งขน เป็นต้น อาศัยทั้งรูป ทั้งนาม ประชุม (ประกอบรวม) กันเข้า จึงมีคำชื่อนี้ขึ้น แต่ว่าเมื่อพูดโดยปรมัตถ์ (อ่านว่า ปะ-ระ-มัดประโยชน์สูงสุด, ความเจริญสูงสุด) แล้ว ก็หามีตัวบุคคลที่จะพึงค้นได้ในชื่อนั้นไม่”

 

เมื่อพระเถรเจ้าถวายวิสัชนาแก้ปัญหาฉะนี้แล้ว พระเจ้ามิลินท์ก็

ตรัสชมเชยว่า “น่าฟัง ข้าพเจ้าไม่เคยได้ยินได้ฟังเช่นนี้เลย เธอวิสัชนาปัญหาได้ไพเราะจริง ถ้าว่าพระพุทธเจ้ายังเสด็จดำรงพระชนม์อยู่ ก็คงจะประทานสาธุการเป็นแน่”

 

จบนามปัญหา

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา