ได้รับการเปิดเผยก่อนหน้านี้ว่า จังหวะวาล์วต้องเหมาะสมสำหรับแต่ละเครื่องยนต์ แต่ยังมีเงื่อนไขการทำงานเฉพาะในการเจาะจงเพื่อหลีกเลี่ยงการไหลย้อนกลับ ขณะที่เครื่องยนต์ทั่วไปใช้วาล์วแบบดั้งเดิม
ส่วนเครื่องยนต์ขั้นสูงบางตัวใช้วาล์วแบบจังหวะผันแปร ช่วยให้เกิดการควบคุมที่ดีขึ้นของปริมาณส่วนผสม และช่วยในการลดการใช้เชื้อเพลิง และลดการปล่อยมลพิษ ส่วนข้อเสียที่สำคัญคือ ต้นทุน และความซับซ้อนของระบบวาล์วผันแปร
รูปตัวอย่างผังการควบคุมเครื่องยนต์แบบเร่งน้อย
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
การควบคุมแรงบิดแบบเร่งน้อย (Throttle-less torque control) เพราะส่วนใหญ่การสูญเสียที่ด้านแรงบิดด้านขาออก เกิดจากผลของการการเหยียบคันเร่ง จำกัดคันเร่งช่วยขจัดความสูญเสียนี้ และช่วยเพิ่มปริมาณการใช้เชื้อเพลิงแรงบิดบางส่วน การควบคุมแรงบิดคือ การใช้วาล์วแบบแปรผัน หรือเปลี่ยนอัตราส่วนเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์เผาไหม้สะดวก
รูปหลักการทำงานของอัตราส่วนการอัดแบบผันแปร
วิดีโอหลักการทำงานของอัตราส่วนการอัดแบบผันแปร
อัตราส่วนการอัดแบบผันแปร (Variable compression ratio) ช่วยให้สามารถใช้งานเครื่องยนต์ที่อัตราส่วนการอัดที่เหมาะสมที่ทุก ๆ ความดันอากาศเข้าใด ๆ หากกลไกการประจุไม่ได้ให้แรงดันไอดีสูงสุด อัตราส่วนการอัดของเครื่องยนต์จะเพิ่มขึ้นโดยไม่เสียงต่อการจุดระเบิดเอง หรือการน็อค อัตราส่วนการอัดที่เพิ่มขึ้นส่งผลทำให้เกิดการประหยัดเชื้อเพลิงที่แรงบิดด้านขาออก
รูปการหมุนเวียนก๊าซไอเสีย
วิดีโออธิบายการหมุนเวียนก๊าซไอเสีย
การหมุนเวียนก๊าซไอเสีย (Exhaust Gas Recirculation: EGR) ประกอบไปด้วย การยอมให้บางส่วนของก๊าซไอเสียเข้าไปในห้องเผาไหม้ในลำดับเพื่อลดการแทนที่ประสิทธิผลของเครื่องยนต์ เทคนิคนี้ใช้ในยานยนต์ทั่วไปเพื่อลดการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงที่แรงบิดด้านขาออก ขณะที่ยังคงรักษาความสามารถในการเร่งความเร็วของเครื่องยนต์ ให้ประโยชน์ที่ใหญ่สุดของ EGR เด่นในมลพิษ เพราะว่ามันลดจำนวนของเชื้อเพลิงที่ถูกเผาไหม้ในห้องเผาไหม้ และอุณหภูมิของก๊าซไอเสีย การปล่อยไนตริกออกไซด์จะลดลงอย่างมาก
การจุดระเบิดอัจฉริยะ (Intelligent ignition) สามารถตั้งค่าการจุดประกายไฟได้อย่างเหมาะสม ที่ความเร็วรอบทำงานใด ๆ และภาระโหลดสำหรับให้สมรรถนะที่เหมาะสม ประสิทธิภาพ และการปล่อยมลพิษ ระบบการจุดระเบิดกำลังสูงสามารถป้องกันการสูญเสียการลุกไหม้ในกระบอกสูบใด ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเครื่องยนต์ที่มีการผสมเป็นแบบบาง (Lean)
วัสดุเครื่องยนต์ใหม่ (New engine materials) เทคโนโลยีด้านวัสดุสมัยใหม่ที่นำมาใช้กับยานยนต์ทำให้ยานยนต์มีการพัฒนาขึ้น จะช่วยให้มีการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงมีอยู่สองแนวทาง แนวทางแรก วัสดุเซรามิค (Ceramic materials)
รูปตัวอย่างเครื่องยนต์ที่มีบางส่วนเป็นเซรามิค
สามารถทำให้มีฉนวนกันความร้อนที่ดีกว่าโลหะ แต่ก็มีค่าการส่งถ่ายความร้อนที่ต่ำกว่า (และยังทำให้การสูญเสียความร้อนต่ำ) และด้วยเหตุนี้ทำให้ประสิทธิภาพทางความร้อนจึงมีสูงขึ้น แนวทางที่สอง ใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบา เช่น เส้นใยเสริมพลาสติก (Fiber-reinforced plastics) ที่ให้ความแข็งแกร่งทางการดึงสูงช่วยให้ลดน้ำหนักไปได้มาก
รูปตัวอย่างชิ้นส่วนเครื่องยนต์ที่ทำมาจากเส้นใยเสริมพลาสติก
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“การแก้แค้น ยิ่งทำให้คนอื่นยิ่งแค้น
แต่การให้อภัย ทำให้คนอื่นสำนึกได้”
<หน้าที่แล้ว สารบัญ หน้าต่อไป>