3.1.6 การควบคุมการปล่อยก๊าซ
ทุกวันนี้การปล่อยมลพิษจะถูกควบคุมอยู่สามประเด็น คือ เชื้อเพลิง, เครื่องยนต์ และไอเสีย (หลังจากปรับสภาพ) แก๊สโซลีนมีการปรับเปลี่ยนโดยใช้สารเติมแต่ง และกระบวนการกลั่นเป็นการปรับองค์ประกอบเพื่อลดการก่อตัวของสารก่อมลพิษ และใช้งานได้ดีขึ้นหลังจากการปรับแต่ง
ยกตัวอย่างเช่น แก๊สโซลีนที่ได้มีการจัดรูปแบบใหม่ที่ประกอบไปด้วย เมทิล เทอร์เทียรี่-บูทีล อีเทอร์ (Methyl Tertiary-Butyl Ether: MTBE)
รูปเมทิล เทอร์เทียรี่-บูทีล อีเทอร์
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
รูปพันธะทางเคมีของเมทิล เทอร์เทียรี่-บูทีล อีเทอร์
ซึ่งจะเพิ่มอัตราส่วนค่าออกเทนทดแทนการใช้ตะกั่ว (Lead) เอ็มทีบีอี เป็นอันตรายต่อชั้นบรรยากาศน้อยกว่าสารตะกั่วที่มีการใช้งานก่อนหน้านี้ แต่ทว่า มันก็ไม่ยาวนาน หากเกิดการรั่วไหลลงสู่แหล่งน้ำจะเกิดอันตรายได้
แก๊สโซลีน มันก็ยังคงมีส่วนผสมของกำมะถันอยู่ แม้ว่าจะมีเทคนิคการปรับสภาพบางอย่างที่ทำให้ทนต่อสารประกอบกำมะถันแต่ทำได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ตัวอย่างที่ดีของเทคนิคการออกแบบเครื่องยนต์ คือ การจำกัดการก่อตัวของมลพิษที่ปล่อยออกมาสู่ชั้นบรรยากาศภายนอก ที่เราเคยพบบ่อยก่อนหน้านี้ เครื่องยนต์จะดูดเอาอากาศจากภายในห้องเครื่องยนต์เข้าไปใช้งาน ซึ่งอากาศในห้องเครื่องยนต์เหล่านี้จะมีความร้อนอยู่พอสมควร
จึงทำให้อากาศมีอุณหภูมิสูงก่อนเข้าสู่กระบวนการอัด และเผาไหม้ มันส่งผลทำให้เกิดไนตริกออกไซด์สูง ซึ่งในปัจจุบัน จะมีท่อยื่นออกมาด้านนอก หรือออกแบบให้มันดูดอากาศจากรอบ ๆ ภายนอกเครื่องยนต์ ซึ่งมันจะเย็นกว่ามาก และทำให้เกิดไนตริกออกไซด์ต่ำ
รูปตัวอย่างการติดตั้งท่อทางดูดอากาศจากอากาศภายนอกรถ
การออกแบบ หรือการปรับเปลี่ยนตัวแปรอื่น ๆ ที่มีผลต่อการก่อตัวของสารก่อมลพิษ ได้แก่
การอัดฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงด้วยความดันสูง และการไหลเข้าของอากาศแบบไหลวน (Turbulent) ที่ทำให้เกิดส่วนผสมเป็นเนื้อเดียวกันมากขึ้น
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“ความเห็นผิด
ปิดบังหัวใจคนได้อย่างน่ากลัว
เหมือนข้างในภาชนะที่คว่ำไว้
แสงสว่างจ้าแค่ไหน ก็เข้าไม่ได้”
ชยสาโรภิกขุ
<หน้าที่แล้ว สารบัญ หน้าต่อไป>
|