บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 706
เมื่อวาน 1,689
สัปดาห์นี้ 12,995
สัปดาห์ก่อน 10,374
เดือนนี้ 24,526
เดือนก่อน 80,499
ทั้งหมด 4,712,582
  Your IP :44.222.82.133

 

 

รูปแอนิเมทชันการทำงานของเครื่องยนต์

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

 

รูปผลของการจุดระเบิดล่วงหน้าในประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ ความดันกระบอกสูบ

 

 

รูปเทียบกับกราฟในจังหวะจุดระเบิด

 

      รูปกราฟด้านบน แสดงให้เห็นถึงความดันก๊าซในกระบอกสูบ ที่มีมุมเพลาข้อเหวี่ยงในจังหวะของการจุดระเบิดต่างกัน เริ่มต้นการจุดระเบิดเผาไหม้ที่เร็วกว่าปกติ (เช่น จุดระเบิดที่ 50° ก่อนศูนย์ตายบนในรูป a) จะส่งผลให้เกิดความดันก๊าซที่สูงมากระทำกับลูกสูบในจังหวะอัด (เกิดแรงดันสวนต้านกัน)

 

      ดังนั้น งานที่ได้ก็จะออกมาในเชิงลบ ขณะที่ยังอยู่ในจังหวะอัดที่ความดันยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นี้ และหากมีการจุดระเบิดหลังจังหวะอัดไป (หลังศูนย์ตายบน) งานที่ได้จะเป็นบวกในจังหวะขยายตัว แต่ก็มีผลเสียคือกำลังงานมันจะลดลงไม่มากเท่าที่ควรจะเป็น แล้วก็จะส่งผลในการเกิดแรงบิดเฉลี่ยต่ำของเพลา

 

      บางครั้ง หากการเผาไหม้มากเกินไป จะทำให้เกิดการเผาไหม้ในช่วงต้นที่ผิดปกติในกระบอกสูบ ซึ่งมักจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกสูบ เกิดการโขก การน็อก (Knocking) การน็อกเป็นปรากฏการณ์เผาไหม้ที่มีความผิดปกติที่มีความร้ายแรงต่อเครื่องยนต์ ซึ่งมักจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ชิ้นส่วนเครื่องยนต์ เช่น ลูกสูบ, ก้านสูบ, แบริ่ง, เพลาข้อเหวี่ยง

 

 

รูปเปรียบเทียบการเผาไหม้ปกติ และเผาไหม้ก่อนกำหนด

 

 

รูปตัวอย่างของสภาพของลูกสูบที่เกิดการน็อกภายในกระบอกสูบมานาน

 

วิดีโอลองมาฟังเสียงของเครื่องยนต์ที่ลูกสูบเกิดการโขกอย่างรุนแรงกัน

 

      การจุดระเบิดล่วงหน้า (10° ก่อนศูนย์ตายบน) ส่งผลให้ความดันก๊าซในกระบอกสูบต่ำ และทำให้ประสิทธิภาพการทำงานก็จะต่ำไปด้วย หากระยะเวลาในการจุดประกายมีความเหมาะสม ทำให้มีค่าแรงบิดเฉลี่ยพุ่งขึ้นไปถึงค่าสูงสุด จังหวะการจุดระเบิดที่เหมาะสมนี้เรียกว่า แรงบิดเบรกสูงสุด หรือเอ็มบีที (Maximum Brake Torque: MBT) จังหวะดังแสดงในรูปกราฟด้านล่าง

 

 

รูปผลของการจุดระเบิดล่วงหน้าในประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ แรงบิด

 

      จังหวะการจุดระเบิด ที่เป็นระดับสูง หรือระดับต่ำนับจากจังหวะแรงบิดเบรกสูงสุด จนทำให้แรงบิดจะเกิดขึ้นต่ำกว่าค่าเฉลี่ย

 

      ในจังหวะเป็นเอ็มบีที จะช่วยเร่งอัตราการเกิดขึ้น และการกระจายตัวของเปลวไฟทำได้ดีกว่า ความยาวของเปลวไฟจะมีการเคลื่อนที่กระจายทั่วในห้องเผาไหม้ และกระบวนการเกิดจะสิ้นสุด หลังจากที่มันกระจายไปถึงผนังกระบอกสูบ

 

 

รูปภาคตัดเครื่องยนต์แสดงให้เห็นถึงการกระจายไปทั่วของเปลวไฟ

 

      สิ่งที่กล่าวมาเหล่านี้จะออกมาได้ผลดี หรือไม่ มันจะขึ้นอยู่กับการออกแบบเครื่องยนต์, สภาวะการทำงาน, คุณสมบัติของเชื้อเพลิง, อากาศ, การเผาไหม้ของไอดี ฯลฯ

 

      อีกทั้งการออกแบบ ในเรื่องความเร็วรอบของเครื่องยนต์ ก็มีอิทธิพลอย่างมากในจังหวะเอ็มบีที เพราะฉะนั้นจังหวะจุดระเบิด ที่มีการจุดประกายไฟ ควรทำจะต้องมีการตั้งค่าไป ควบคู่ไปพร้อมกับความเร็วรอบเครื่องยนต์

 

      เวลาที่นับตั้งแต่การเริ่มจุดระเบิดไป จนถึงจุดที่เกิดความดันก๊าซสูงสุด จนมีการเปลี่ยนแปลงภายในกระบอกสูบนั้น เป็นช่วงเวลาที่สั้นมาก (เสี้ยววินาที)

 

      ดังนั้น การที่ต้องการให้เครื่องยนต์มีความเร็วรอบเพิ่มขึ้น ก็ควรที่จะมีการตั้งค่าการจุดระเบิดล่วงหน้าเพิ่มขึ้นด้วย ดังแสดงในรูปกราฟด้านล่าง

 

 

รูปกราฟผลของการจุดระเบิดล่วงหน้าในประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ จังหวะแรงบิดเบรกสูงสุด

 

จังหวะจุดระเบิดที่ถูกต้อง จะมีความสำคัญเพราะว่า หากมีการจุดระเบิดที่ไม่สมบูรณ์ แน่นอนมันย่อมมีการปล่อยก๊าซไนตริกออกไซด์ และไฮโดรคาร์บอน หรือก๊าซพิษอื่น ๆ ปะปนออกมาด้วย

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

ร่วมน้อมรำลึกถึง คำพ่อสอน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต

 

“การทำงานใด ๆ ไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก

ควรอย่างยิ่งที่จะตั้งเป้าหมาย ขอบเขต และหลักการไว้ให้แน่นอน

เพราะจะช่วยให้สามารถ ปฏิบัติมุ่งเข้าสู่ผลสำเร็จได้โดยตรง

และถูกต้องพอเหมาะพอดี

เป็นการป้องกัน และขจัดความล่าช้า

ความสิ้นเปลือง ความเสียเปล่า

ทุกอย่างได้อย่างสิ้นเชิง”
    
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๓๐

 

ขอน้อมส่งพระองค์สู่สวรรคาลัย

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา