รูปแอนิเมทชันการทำงานของเครื่องยนต์
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
รูปผลของการจุดระเบิดล่วงหน้าในประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ ความดันกระบอกสูบ
รูปเทียบกับกราฟในจังหวะจุดระเบิด
รูปกราฟด้านบน แสดงให้เห็นถึงความดันก๊าซในกระบอกสูบ ที่มีมุมเพลาข้อเหวี่ยงในจังหวะของการจุดระเบิดต่างกัน เริ่มต้นการจุดระเบิดเผาไหม้ที่เร็วกว่าปกติ (เช่น จุดระเบิดที่ 50° ก่อนศูนย์ตายบนในรูป a) จะส่งผลให้เกิดความดันก๊าซที่สูงมากระทำกับลูกสูบในจังหวะอัด (เกิดแรงดันสวนต้านกัน)
ดังนั้น งานที่ได้ก็จะออกมาในเชิงลบ ขณะที่ยังอยู่ในจังหวะอัดที่ความดันยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นี้ และหากมีการจุดระเบิดหลังจังหวะอัดไป (หลังศูนย์ตายบน) งานที่ได้จะเป็นบวกในจังหวะขยายตัว แต่ก็มีผลเสียคือกำลังงานมันจะลดลงไม่มากเท่าที่ควรจะเป็น แล้วก็จะส่งผลในการเกิดแรงบิดเฉลี่ยต่ำของเพลา
บางครั้ง หากการเผาไหม้มากเกินไป จะทำให้เกิดการเผาไหม้ในช่วงต้นที่ผิดปกติในกระบอกสูบ ซึ่งมักจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกสูบ เกิดการโขก การน็อก (Knocking) การน็อกเป็นปรากฏการณ์เผาไหม้ที่มีความผิดปกติที่มีความร้ายแรงต่อเครื่องยนต์ ซึ่งมักจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ชิ้นส่วนเครื่องยนต์ เช่น ลูกสูบ, ก้านสูบ, แบริ่ง, เพลาข้อเหวี่ยง
รูปเปรียบเทียบการเผาไหม้ปกติ และเผาไหม้ก่อนกำหนด
รูปตัวอย่างของสภาพของลูกสูบที่เกิดการน็อกภายในกระบอกสูบมานาน
วิดีโอลองมาฟังเสียงของเครื่องยนต์ที่ลูกสูบเกิดการโขกอย่างรุนแรงกัน
การจุดระเบิดล่วงหน้า (10° ก่อนศูนย์ตายบน) ส่งผลให้ความดันก๊าซในกระบอกสูบต่ำ และทำให้ประสิทธิภาพการทำงานก็จะต่ำไปด้วย หากระยะเวลาในการจุดประกายมีความเหมาะสม ทำให้มีค่าแรงบิดเฉลี่ยพุ่งขึ้นไปถึงค่าสูงสุด จังหวะการจุดระเบิดที่เหมาะสมนี้เรียกว่า แรงบิดเบรกสูงสุด หรือเอ็มบีที (Maximum Brake Torque: MBT) จังหวะดังแสดงในรูปกราฟด้านล่าง
รูปผลของการจุดระเบิดล่วงหน้าในประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ แรงบิด
จังหวะการจุดระเบิด ที่เป็นระดับสูง หรือระดับต่ำนับจากจังหวะแรงบิดเบรกสูงสุด จนทำให้แรงบิดจะเกิดขึ้นต่ำกว่าค่าเฉลี่ย
ในจังหวะเป็นเอ็มบีที จะช่วยเร่งอัตราการเกิดขึ้น และการกระจายตัวของเปลวไฟทำได้ดีกว่า ความยาวของเปลวไฟจะมีการเคลื่อนที่กระจายทั่วในห้องเผาไหม้ และกระบวนการเกิดจะสิ้นสุด หลังจากที่มันกระจายไปถึงผนังกระบอกสูบ
รูปภาคตัดเครื่องยนต์แสดงให้เห็นถึงการกระจายไปทั่วของเปลวไฟ
สิ่งที่กล่าวมาเหล่านี้จะออกมาได้ผลดี หรือไม่ มันจะขึ้นอยู่กับการออกแบบเครื่องยนต์, สภาวะการทำงาน, คุณสมบัติของเชื้อเพลิง, อากาศ, การเผาไหม้ของไอดี ฯลฯ
อีกทั้งการออกแบบ ในเรื่องความเร็วรอบของเครื่องยนต์ ก็มีอิทธิพลอย่างมากในจังหวะเอ็มบีที เพราะฉะนั้นจังหวะจุดระเบิด ที่มีการจุดประกายไฟ ควรทำจะต้องมีการตั้งค่าไป ควบคู่ไปพร้อมกับความเร็วรอบเครื่องยนต์
เวลาที่นับตั้งแต่การเริ่มจุดระเบิดไป จนถึงจุดที่เกิดความดันก๊าซสูงสุด จนมีการเปลี่ยนแปลงภายในกระบอกสูบนั้น เป็นช่วงเวลาที่สั้นมาก (เสี้ยววินาที)
ดังนั้น การที่ต้องการให้เครื่องยนต์มีความเร็วรอบเพิ่มขึ้น ก็ควรที่จะมีการตั้งค่าการจุดระเบิดล่วงหน้าเพิ่มขึ้นด้วย ดังแสดงในรูปกราฟด้านล่าง
รูปกราฟผลของการจุดระเบิดล่วงหน้าในประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ จังหวะแรงบิดเบรกสูงสุด
จังหวะจุดระเบิดที่ถูกต้อง จะมีความสำคัญเพราะว่า หากมีการจุดระเบิดที่ไม่สมบูรณ์ แน่นอนมันย่อมมีการปล่อยก๊าซไนตริกออกไซด์ และไฮโดรคาร์บอน หรือก๊าซพิษอื่น ๆ ปะปนออกมาด้วย
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
ร่วมน้อมรำลึกถึง คำพ่อสอน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต
“การทำงานใด ๆ ไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก
ควรอย่างยิ่งที่จะตั้งเป้าหมาย ขอบเขต และหลักการไว้ให้แน่นอน
เพราะจะช่วยให้สามารถ ปฏิบัติมุ่งเข้าสู่ผลสำเร็จได้โดยตรง
และถูกต้องพอเหมาะพอดี
เป็นการป้องกัน และขจัดความล่าช้า
ความสิ้นเปลือง ความเสียเปล่า
ทุกอย่างได้อย่างสิ้นเชิง”
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๓๐
ขอน้อมส่งพระองค์สู่สวรรคาลัย
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ