3.1.5 กราฟตัวแปรการทำงานที่มีผลต่อสมรรถนะ, ประสิทธิผล และการปล่อยมลพิษเครื่องยนต์แก๊สโซลีน
กลไกการทำงานของเครื่องยนต์ ส่วนประกอบหลัก จะเป็นตัวแปรที่สำคัญในการดำเนินการเพื่อให้เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นในเครื่องยนต์แก๊สโซลีน
ลักษณะ และประสิทธิภาพของการปล่อยก๊าซ อยู่ที่จังหวะของการจุดระเบิด ที่มีการทำงานของ วาล์วไทมิ่ง (Valve timing), อัตราส่วนผสมอากาศ / น้ำมันเชื้อเพลิง ที่ทำงานประสานกันไป
ส่วนของก๊าซไอเสียที่ปล่อยออกมา จะมีการนำมาปรับสภาพของไอเสียก่อนที่จะปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศ เพื่อควบคุมการปล่อยก๊าซที่เป็นมลพิษ เช่น NOx, ฯลฯ
3.1.5.1 จังหวะจุดระเบิด
รูปหัวเทียนกำลังจุดระเบิด
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
สำหรับเครื่องยนต์แก๊สโซลีนที่ทำงานภายใต้สภาวะปกติ ที่มีการทำงานต่อจากจังหวะอัด ก็คือจังหวะระเบิด โดยหัวเทียนจะสร้างประกายไฟเพื่อจุดระเบิดส่วนผสมไอดีในกระบอกสูบ และเริ่มต้นเผาไหม้ไอดีจะใช้เวลาสั้น ๆ เพราะว่าจะเกิดการกระจายของเปลวไฟในกระบอกสูบเพื่อที่จะให้มันลามไปทั่วห้องเผาไหม้ซึ่งต้องการเวลา
การจุดระเบิดที่ดีในทางปฏิบัติ ควรเริ่มต้นก่อนที่จะจบจังหวะอัด เรียกว่า การจุดระเบิดล่วงหน้า (Spark advance) โดยจะนับตามองศาของเพลาข้อเหวี่ยง จังหวะการจุดระเบิดที่ดี หรือไม่ดีนั้น มันจะส่งผลต่อสมรรถนะของเครื่องยนต์, ประสิทธิภาพ และการปล่อยไอเสีย
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
ร่วมน้อมรำลึกถึง คำพ่อสอน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต
“การรู้จักประมาณตน ได้แก่ การรู้จัก และยอมรับ
ว่าตนเองมีภูมิปัญญา และความสามารถด้านไหน เพียงใด
และควรจะทำงานด้านไหน อย่างไร การรู้จักประมาณตนนี้
จะทำให้คนเรารู้จักใช้ความรู้
ความสามารถที่มีอยู่ได้ถูกต้องเหมาะสมกับงาน
และได้ประโยชน์สูงสุดเต็มตามประสิทธิภาพ
ทั้งยังทำให้รู้จักขวนขวายศึกษาหาความรู้
และเพิ่มพูนประสบการณ์อยู่เสมอ
เพื่อปรับปรุงส่งเสริมศักยภาพที่มีอยู่ในตนเองให้ยิ่งสูงขึ้น”
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๔๑
ขอน้อมส่งพระองค์สู่สวรรคาลัย
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ