บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 2,082
เมื่อวาน 1,634
สัปดาห์นี้ 8,312
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 36,547
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,381,044
  Your IP :3.143.17.128

 

 

รูปรถยนต์กำลังเบรก

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

เมื่อล้อหลังล็อคตัวแล้ว ยานยนต์ก็จะสูญเสียสภาพมั่นคง ดังแสดงไนรูปด้านล่าง

 

 

รูปการสูญเสียสภาพมั่นคงเนื่องจากการล็อคตัวของล้อหลัง

 

 

รูปรถยนต์เบรกทางโค้ง

 

จากรูปด้านบนแสดงภาพมุมสูงของยานยนต์เข้าโค้ง และเกิดการเบรก จนเกิดแรงบรก และแรงเฉื่อย (Inertia force) เมื่อล้อหลังล็อคตัว ความสามารถของยางหลัง ที่จะต้านทานต่อแรงด้านข้างก็ลดลงจนไปเป็นศูนย์

 

       

      หากบางครั้งการสไลด์จนเกิดการเคลื่อนที่ด้านข้างของล้อหลัง สาเหตุอาจเกิดจากลมมาปะทะ, ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ หรือเกิดจากแรงเหวี่ยง ก็จะเกิดการเคลื่อนที่เฉไปเนื่องจากแรงเฉื่อย ถ้าเกิดการเฉของเพลาล้อหน้าขึ้น ซึ่งอาจจะเกิดการเคลื่อนที่หมุนไปเรื่อย แขนโมเมนต์ของแรงเฉื่อยเพิ่มขึ้น เป็นผลจากการเพิ่มในความเร่งจนรถเกิดของหมุนตัว

 

                ถ้าจากปลายด้านหลังของยานยนต์ที่จะเหวี่ยงสวิงประมาณ 90° แขนโมเมนต์ค่อย ๆ ลดลง และรถก็จะเกิดการหมุนคว้างประมาณ 180° กับด้านหลังจนนำด้านหน้า

 

 

รูปรถยนต์เบรกจนรถหมุน

 

     การเกิดการล็อคตัวของล้อด้านหน้า เนื่องจากการควบคุมทิศทางที่สูญเสียไป และคนขับจะพยายามควบคุมพวงมาลัยคืนให้ได้ แต่รถเสียสภาพการทรงตัวแล้ว มันจึงหมุนตัว อย่างไรก็ดี ล้อหน้าล็อคตัวมักจะไม่ก่อให้เกิดทิศทางที่ไม่แน่นอน

 

      นี้เป็นเพราะว่าเมื่อใดการเคลื่อนที่สไลด์ทางด้านข้างของล้อหน้าเกิดขึ้นอันเนื่องจากแรงเฉื่อย ยังสามารถคอยควบคุมพวงมาลัยได้ ซึ่งล้อหลังจะทำไม่ได้ ดังนั้นมันจึงมีแนวโน้มที่จะพายานยนต์กลับไปเส้นทางตรง ดูกราฟด้านล่าง

 

 

 

แสดงการวัดส่วนเบี่ยงเบน (Angular deviation) ของยานยนต์ เมื่อล้อหน้า และล้อหลังไม่ล็อคตัว ช่วงเวลาเดียวกัน

 

      การสูญเสียการควบคุมพวงมาลัย อาจพบมากจากคนขับประมาทเผลอเรอ และจากการควบคุมการเบรกที่ไม่เหมาะสมต่อสภาพการขับขี่  ตรงกันข้ามกับกรณีของการล็อคตัวของล้อหน้า เมื่อล้อหลังล็อคตัว และเกิดส่วนเบี่ยงเบนของรถเกินระดับปกติ การควบคุมไม่สามารถกลับมาได้ ต้องอาศัยการประสิทธิภาพของเบรก และจากฝีมือของการขับรถมากที่สุด

 

      จากที่กล่าวมานี้ แสดงให้เห็นว่าการล็อคล้อหลังเป็นสถานการณ์ที่วิกฤติมากกว่าล้อหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนอยู่บนถนนที่มีค่าสัมประสิทธิ์การยึดเกาะถนนต่ำ หากขับขี่บนพื้นผิวที่ลื่น ค่าของแรงเบรกจะต่ำ  เมื่อเกิดการเบรกพลังงานจลน์ของยานยนต์จะกระจายในอัตราที่ต่ำ และรถอาจจะได้สัมผัสกับความสูญเสียที่ร้ายแรงของทิศทางที่ไม่เสถียรภาพในระยะที่มาก เพราะฉะนั้น

     

      นักออกแบบระบบเบรกยานยนต์ ต้องออกแบบจนทำให้แน่ใจว่า เมื่อเกิดการเบรกแล้ว ล้อหลังจะไม่ถูกล็อคตัวก่อน

 

รูประบบเบรกเอบีเอส

 

      ระบบป้องกันล้อล็อคตาย หรือเอบีเอส (Antilock Braking System: ABS) ถูกพัฒนามาไม่กี่ปีที่ผ่านมา มันสามารถสร้างประสิทธิภาพของการเบรกได้มากขึ้น โดยป้องกันล้อจากการล็อคตัว ระบบนี้จะใช้เซ็นเซอร์ความเร็วเพื่อตรวจสอบความเร็วการหมุนของล้อ

 

 

รูปเปรียบเทียบกันของเบรกธรรมดา กับระบบเอบีเอส

 

      เมื่อมีการตรวจพบว่าล้อล็อคตัว ระบบควบคุมความดันการเบรกจะลดความดัน และทำให้ล้อรถสามารถกลับมาหมุนได้อีก และก็ควบคุมการเบรกอีก และล้อหมุนอีกสลับกันไป

 

วิดีโอแอนิเมทชันอธิบายง่าย ๆ ของระบบเบรกเอบีเอส

 

 

จบบทที่ 2 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

“คนเรา ทำชั่วได้ทุกนาที

 

แต่พอจะทำดี ต้องหาฤกษ์”

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา