ในการออกแบบยานยนต์ แรงเบรกจริงที่ล้อหน้า และล้อหลัง โดยปกติแล้วจะมีการออกแบบการเบรกแบบให้มีสัดส่วนแบบเชิงเส้น ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงอัตราส่วนการเบรกที่ล้อหน้าต่อ แรงเบรกโดยรวมที่ล้อหลังของยานยนต์ สามารถเขียนสมการได้ดังนี้
b = Fbf/Fb (2.72)
กำหนดให้ Fb= แรงเบรกโดยรวมของยานยนต์ = Fbf + Fbr
b = อัตราการเบรกจริงบนล้อหน้า และล้อหลัง
เมื่อทำการย้ายข้างสมการ จะได้ดังนี้
Fbf = b´Fb (2.73)
และ
Fbr = (1 - b) Fb (2.74)
นำสมการ 2.73 หารด้วย 2.74 เราจะได้
Fbf / Fbr = b / (1 - b) (2.75)
กราฟแรงเบรกที่เกิดขึ้น
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
กราฟแรงเบรกที่เกิดขึ้นทางอุดมคติ กับที่เกิดขึ้นจริง เป็นไปตามกราฟ
รูปด้านบน แสดงให้เห็นถึงการกระจายของแรงเบรกทั้งในทางทฤษฏี และทางปฏิบัติ (ที่กราฟ I และb) มันมีการตัดกันที่จุดจุดหนึ่ง เป็นที่ซึ่งล้อหน้า และล้อหลังเบรกล็อคตัวในเวลาเดียวกัน ณ จุดนี้แสดงให้เห็นถึง ค่าสัมประสิทธิ์การยึดเกาะถนนเฉพาะ (Specific road adhesive coefficient: m0) อ้างอิงกับสมการ (2.71) ในซึ่ง j/g ถูกแทนที่ด้วย m0 และสมการ (2.75) เขียนได้ใหม่เป็นดังนี้
b/(1–b) = (Lb+m0hg)/( La–m0hg) (2.76)
จากสมการที่ (2.75) จะสามหารหา m0 หรือ b ได้โดย
m0= (Lb – L)/ hg (2.77)
และ
b = (m0 hg+ Lb)/L (2.78)
ในระหว่างรถยนต์เบรกบนถนนที่มีสัมประสิทธิ์การยึดเกาะถนนมีค่าน้อยกว่าค่า m0 (บริเวณที่เส้นกราฟ b อยู่เหนือเส้นโค้ง I) ล้อหลังจะเกิดการล็อคล้อก่อน
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“ความทุก
มันอยู่กับเราไม่นานหรอก
ทนกับมันสักพัก
เดี๋ยวมันก็ไป”
|