บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,418
เมื่อวาน 1,522
สัปดาห์นี้ 2,940
สัปดาห์ก่อน 12,965
เดือนนี้ 44,140
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,388,637
  Your IP :3.140.186.241

2.9 สมรรถนะของการเบรก

 

      สมรรถนะของการเบรก (Braking Performance) ของยานยนต์ ไม่ต้องสงสัยเลยว่ามันมีความสำคัญมากแค่ไหนต่อความปลอดภัยของการใช้ยานยนต์ ในการขับขี่ในเมือง มักจะมีการเบรกบ่อยครั้งจนทำให้พลังงานต้องสูญเสียไปต่อการเบรก

 

 

รูปดิสก์เบรก

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการนำเอาการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้ามาใช้งานมากขึ้น เพื่อทดแทนแรงขับเคลื่อนในยานยนต์ เช่น ยานยนต์ไฟฟ้า, ยานยนต์ไฟฟ้า / ไฮบริดจ์ และยานยนต์เซลล์เชื้อเพลิง

 

ไฟฟ้าของระบบขับเคลื่อนของยานยนต์สมัยใหม่ มีความสามารถกู้คืนมาได้ แทนที่จะสูญเสียไปเฉย ๆ จากการเบรก ให้นำกลับคืนพลังงานมาใช้ใหม่

 

 

รูปการกำเนิดพลังงานจากการเบรก

 

      เทคโนโลยีนี้มักจะเรียกว่า การกำเนิดพลังงานจากการเบรก (Regenerative braking) การออกแบบระบบของการให้คืนพลังงานจากการเบรก ไม่เพียงแต่ทำให้ยานยนต์มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเท่านั้น ยังทำให้ระบบการเบรกมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

 

 

รูปผังการทำงานของระบบเบรกที่ได้พลังงานคืน

 

      ในหัวข้อนี้ วิธีการของการวิเคราะห์ของสมรรถนะในการเบรกจะถูกนำมานำเสนอ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยการออกแบบระบบกำเนิดพลังงานจากการเบรก

 

วิดีโอการได้พลังงานคืนจากการเบรก

 

 

2.9.1 แรงการเบรก

 

 

รูปเบรกรถยนต์

 

 

รูปแรงบิด และแรงของการเบรก

 

 

กราฟความสัมพันธ์ระหว่างแรงบิด และแรงของการเบรก

     

      ในรูปด้านบน แสดงให้เห็นถึงล้อที่อยู่ในระหว่างการเบรก ขณะที่เท้ากำลังเหยียบแป้นเบรก ทำให้ก้ามปูดิสก์เบรก หรือฝักเบรกแบบดรัมทำงาน จนทำให้เกิดความเสียดทานจนเกิดแรงบิดบนจานเบรก 

 

      แรงบิดในการเบรกนี้ส่งผลทำให้เกิดแรงในการเบรกที่ล้อ บริเวณที่หน้ายางสัมผัสกับพื้นถนน การเบรกที่ยางนี้ทำให้ยานยนต์ชะลอ หรือหยุดลง แรงเบรกสามารถอธิบายได้ดังสมการ ด้านล่าง

 

Fb = Tb/rd                             (2.66)

 

กำหนดให้ Fb = แรงของการเบรก (N)

              Tb= แรงบิด หรือทอร์คที่เกิดขึ้น (N.m)

              rd = รัศมีของล้อ (m)

 

แรงเบรกที่เพิ่มขึ้น ก็ทำให้แรงบิดจากการเบรกเพิ่มขึ้นไปด้วย อย่างไรก็ดี เมื่อแรงเบรกไปถึงจุดสูงสุดจะทำให้เกิดการยึดเกาะระหว่างยาง กับพื้นถนน

 

      ซึ่งมันจะไม่เพิ่มขึ้นไปมากกว่านี้ แม้ว่าแรงบิดของการเบรกอาจยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ดังแสดงให้เห็นในรูปกราฟด้านบนขีดจำกัดของแรงเบรกสูงสุดนี้อยู่ที่ความสามารถในการยึดเกาะระหว่างยางกับพื้นถนน สามารถอธิบายได้เป็นสมการข้างล่าง

 

Fb max = mbW                          (2.67)

 

กำหนดให้ Fb max = แรงเบรกสูงสุด (N)

              mb = ค่าสัมประสิทธิความเสียดทานในการยึดเกาะของล้อ กับพื้นถนน คล้ายกับกรณีแรงฉุลาก

              W = น้ำหนัก (N)

 

สัมประสิทธิ์แรงเสียดทานในการยึดเกาะบนถนนจะเปลี่ยนแปลงไป จากการลื่นไถลของยาง ค่าสูงสุดของช่วงการลื่นไถลอาจมีมากถึง 15 – 20% ส่วนในทางลาดเอียง การไถลอาจมีมากถึง 100%

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“ความคิด จะกลายเป็นเครื่องมือที่วิเศษ

ถ้าใช้มันอย่างถูกวิธี”

 

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา