บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 445
เมื่อวาน 2,159
สัปดาห์นี้ 14,682
สัปดาห์ก่อน 12,965
เดือนนี้ 55,882
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,400,379
  Your IP :3.144.77.71

2.8.2 การคำนวณการประหยัดเชื้อเพลิงของยานยนต์

 

      การประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงสามารถคำนวณออกมาได้โดยการหาโหลดกำลังงาน และความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงจำเพาะของเครื่องยนต์ กำลังงานขาออกของเครื่องยนต์มักจะมีค่าเท่ากับ การต้านกำลังงานของยานยนต์นั้น ตามสมการด้านล่าง

 

Pe =V/ht (Ff + Fw + Fg + Mvddv/dt)                    (2.60)

 

สมการที่ 2.60 สามรถเขียนใหม่ได้ดังนี้

 

Pe =V/1000ht (Mvgfr cosa + ½raCDAfV2 + Mvg sina + Mvddv/dt) (kW)                  (2.61)

 

ความเร็วรอบของเครื่องยนต์ สัมพันธ์กันกับความเร็วของยานยนต์ และอัตราทดเกียร์ ซึ่งสามารถอธิบายเป็นสมการได้ดังนี้

 

N = (30Vig i0)/(prd)                             (2.62)

 

      หลังจากได้คำนวณกำลังงาน และรอบของเครื่องยนต์ จากสมการ 2.60 และ 2.61 ค่าของความสิ้นเปลืองจำเพาะ ge สามารถหาในกราฟของการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ดังแสดงในรูปด้านล่าง

 

กราฟตัวอย่างการประหยัดเชื้อเพลิง (ซ้ำ)

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

อัตราเวลาของการเผาผลาญเชื้อเพลิงสามารถคำนวณได้จากสมการด้านล่าง

 

Qfr = (Pe.ge)/(1000gf)                          (2.63)

 

กำหนดให้ ge = ความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงจำเพาะของเครื่องยนต์ (g/kWh)

              gf = ความหนาแน่นของเชื้อเพลิง (kg/l)

 

ความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงโดยรวมก็อยู่ในระยะทาง (S) ที่ยานยนต์เคลื่อนที่ทั้งหมด ที่ความเร็วในการขับขี่ (V) คงที่ ซึ่งหาได้จากสมการด้านล่าง

Qs = (Pe.ge)/(1000gf)´ S/V                    (2.64)

 

 

 

รูปกราฟการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงของรถยนต์

 

      ในรูปด้านบน แสดงให้เห็นถึงตัวอย่างของกราฟการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงของรถยนต์ที่ใช้แก๊สโซลีนที่ความเร็วขับขี่คงที่ไปบนพื้นถนนราบ ตัวเลขนี้บ่งชี้ว่าที่ความเร็วสูง การใช้เชื้อเพลิงมีเพิ่มขึ้น เพราะว่ามีความต้านทานทางอากาศพลศาสตร์มากขึ้น

 

      จากยานยนต์ที่วิ่งเร็วขึ้น ตัวเลขนี้แสดงให้เห็นว่ามีการใช้เกียร์สูงที่ความเร็วสูง (อัตราทดเกียร์น้อย)  การประหยัดพลังงานของยานยนต์สามารถทำได้ โดยการลดความเร็วรอบของเครื่องยนต์ที่ให้ความเร็วของรถยนต์ และอัตราทดเกียร์เพิ่ม

 

 

รูปจุดทำงานของเครื่องยนต์

 

      รูปด้านบน แสดงให้เห็นถึงจุดทำงานของเครื่องยนต์ขณะความเร็วของรถยนต์คงที่ ด้วยการใช้เกียร์สูงและเกียร์ที่รองลงมา บ่งบอกถึงว่าเครื่องยนต์มีประสิทธิภาพการทำงานต่ำที่ใช้ในเกียร์ต่ำกว่าในเกียร์สูง

 

      นี้คือเหตุผลที่ว่าทำไมการประหยัดเชื้อเพลิงของยานยนต์สามารถปรับปรุงได้ ด้วยการออกแบบระบบการส่งกำลังให้มีจำนวนเกียร์ที่มาก และการส่งกำลังแบบแปรผันต่อเนื่อง

 

      เป็นสิ่งที่ควรต้องสังเกต เพราะว่าความซับซ้อนของการทำงานของยานยนต์ ในการนำไปใช้ในโลกความเป็นจริง การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ความเร็วคงที่ (แสดงในรูปด้านล่าง)

 

 

รูปกราฟการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงของรถยนต์ (ซ้ำ)

 

ซึ่งอาจไม่ถูกต้องแน่นอนเสมอไป หมายถึงการบริโภคน้ำมันเชื้อสำหรับยานยนต์ภายใต้สภาพการขับขี่จริง รอบการขับขี่ต่าง ๆ มีการเปลี่ยนไปตามสภาพการขับขี่จริง รอบการขับขี่มักจะแสดงโดยความเร็วของยานยนต์ตลอดเวลาที่ทำการขับขี่สัมพันธ์กันกับ รูปด้านล่าง

 

 

รูปกราฟขับขี่ในเมือง

 

 

รูปการขับขี่บนทางหลวง

 

แสดงถึงรถยนต์ที่ขับที่ในเมือง และทางหลวง ตามลำดับ

 

      การคำนวณการใช้เชื้อเพลิงในแต่ละการขับขี่ ความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงโดยรวมสามารถรับการรวมของความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงในแต่ละช่วงเวลา Dti

 

 

รูปสมการที่ 2.65

 

กำหนดให้   Pei = กำลังงานเฉลี่ยของเครื่องยนต์ในขณะช่วงเวลาทำงาน (kW)

                 gei = ความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงจำเพาะเฉลี่ยของเครื่องยนต์ ในช่วงเวลาทำงาน (g/kWh)

                Dti = ช่วงเวลาขณะทำงาน (hr)

 

การคำนวณนี้สามารถใช้วิธีการเชิงตัวเลข คำนวณโดยใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยคำนวณได้  

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“พายุ ไม่ว่ามันจะรุนแรงแค่ไหน

แต่สุดท้าย ก็ต้องสงบ

เปรียบดัง

ปัญหาที่เราต้องประสบพบเจอ

ไม่นานก็จบ และผ่านพ้นไป”

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา