บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 945
เมื่อวาน 1,871
สัปดาห์นี้ 7,050
สัปดาห์ก่อน 15,976
เดือนนี้ 69,976
เดือนก่อน 47,501
ทั้งหมด 4,337,863
  Your IP :107.23.157.16

2.4 การเกาะถนนของยาง และแรงฉุดลากสูงสุด

 

      เมื่อแรงฉุดลากของยานยนต์ที่มีค่าสูงเกินกว่าขีดจำกัดของการขับเคลื่อนสูงสุด เหตุก็เนื่องจากความสามารถในการเกาะยึดถนน ระหว่างยางรถยนต์ กับพื้น ในขณะที่ล้อหมุนไปบนพื้น

 

      ซึ่งเป็นความสามารถในการยึดเกาะถนน ของรถระหว่างล้อรถ กับพื้นถนน มันจะส่งผลหลัก ๆ ในด้านสมรรถนะของยานยนต์

 

รูปรถยนต์ที่วิ่งบนพื้นถนนที่เปียก

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

                เมื่อรถยนต์ขับขี่อยู่บนถนนที่เปียกน้ำ, บริเวณที่เป็นน้ำแข็ง, บริเวณที่ปกคลุมด้วยหิมะ หรือสภาพเป็นโคลนเลน ในกรณีนี้ ผู้ขับขี่จะต้องคอยเหยียบคันเร่งให้เครื่องยนต์เร่งเครื่องทำงานให้มีการขับเคลื่อนเพิ่มมากขึ้น ล้อที่หมุนเพื่อใช้ในการเคลื่อนที่ในการที่จะเอาชนะการหมุนฟรีของล้อจนกว่ารถยนต์จะเคลื่อนที่ไปได้

 

รูปรถที่วิ่งบนหิมะ

 

วิดีโอรถยนต์ที่วิ่งบนพื้นน้ำแข็ง หรือหิมะ

 

      แน่นอน เมื่อเหยียบคันเร่ง ก็หมายความว่าต้องเพิ่มแรงบิดในการขับเคลื่อนรถ เพื่อให้ล้อเอาชนะพื้นที่มีความลื่นในขณะนั้นซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญ แรงขับเคลื่อนสูงสุดในการหมุนขับล้อจะขึ้นอยู่กับแรงตามแนวยาว และความสามารถในการยึดเกาะถนนระหว่างล้อ และพื้น ว่าจะต้องเพิ่มแรงบิดสูงสุดที่ได้มาจากการเร่งเครื่องของเครื่องยนต์แค่ไหน

 

                ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า พื้นชนิดต่าง ๆ และแรงขับเคลื่อนสูงสุดของการขับเคลื่อน ที่ได้จากล้อจะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน เพื่อที่จะทำให้เกิดการหมุนฟรีของล้อที่กำลังเคลื่อนที่ มันจะให้ประสิทธิภาพที่ดีในถนนที่มีการปูลาดวัสดุอย่างดี ถนนแห้ง ซึ่งการหมุนฟรีของล้อนั้นมีน้อย ที่มีก็เนื่องมาจากการยืดหยุ่นของเนื้อยาง

 

การไถล (Slip: s) ของยางโดยปกติจะสามารถคำนวณได้จากสมการดังนี้

 

s = (1 – (rw/v)) ´ 100% = (1 – (r/re)) ´ 100%     (2.25)

 

ซึ่งค่าที่ได้จะเป็นบวกระหว่าง 0 และ 1

 

ส่วนการฉุดลาก แรงขับเคลื่อนสูงสุดของยางสอดคล้องกับการไถลของยาง แสดงได้ดังสมการ

 

Fx = Pm                                (2.26)

 

กำหนดให้      P = โหลดในแนวดิ่งของยาง

                  m = ค่าสัมประสิทธิ์ของแรงฉุดลาก

 

และยางจะไถลเสมอ ตามความสัมพันธ์กับกราฟที่ 2.1

 

กราฟที่ 2.1 ค่าสัมประสิทธิ์ของแรงฉุดลากในแนวดิ่ง

 

                ในช่วงที่มีการลื่นไถลเริ่มแรก แรงฉุดลากในกราฟช่วงแรกเกือบที่จะมีสัดส่วนเป็นเส้นตรงต่อค่าที่ลื่นไถล การลื่นไถลเล็ก ๆ เนื่องมาจากความยืดหยุ่นของยางค่อนข้างจะมีมากกว่าเมื่อเทียบกับการลื่นไถลระหว่างยาง และพื้นที่ในส่วนที่สัมผัสกัน แสดงให้เห็นในรูปด้านล่าง

 

 

รูปล้อรถยนต์

 

รูปพฤติกรรมของล้อเมื่ออยู่ภายใต้แรงกระทำของแรงบิดขับเคลื่อน

 

รูปยางที่สัมผัสกับพื้นถนน

 

      เมื่อเกิดแรงบิดลากดึงขึ้นที่ตัวล้อยาง แรงลากดึงจะถูกสร้างจากการที่ยางกับพื้นสัมผัสกัน ที่บริเวณ   ดอกยางทั้งด้านหน้า และข้าง ซึ่งเป็นส่วนที่สัมผัสกับพื้นถนน ซึ่งส่วนนี้จะได้รับแรงกดดัน ที่จะสอดคล้องกับการเสียรูปของยางเล็กน้อย จนเกิดแรงเฉือนที่บริเวณของแก้มยางด้านข้าง

 

รูปยางสัมผัสกับพื้นถนนตามความดันลมยาง

 

ในส่วนที่สัมผัส ซึ่งส่วนนี้จะมีความกดดัน เกิดการเสียรูปจากแรงเฉือนของแก้มด้านข้างของยาง  เป็นส่วนของดอกยางที่ถูกกดอัด ก่อนที่จะหมุนเข้าสู่บริเวณที่พื้นถนนที่สัมผัส

 

                ระยะของยางที่เคลื่อนที่ไปกับถนน จะน้อยกว่าระยะในการยางหมุนกลิ้งโดยไม่ได้มีแรงกดทับ  เพราะว่ามันมีคุณสมบัติการยืดหยุ่นแบบเชิงเส้นของยาง เส้นโค้งของกราฟในแนวฉุดลากเกือบที่จะเป็นเส้นตรง เมื่อมีการส่งกำลังเพิ่มขึ้นมาที่ล้อ (เข้าเกียร์เหยียบคันเร่ง) จะเกิดแรงบิดล้อ และแรงฉุดลากเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ส่วนที่เป็นดอกยางไถลไปบนพื้น

 

รูปความดันของยางที่ดอกยางถูกกดทับ

 

      ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ความสัมพันธ์ระหว่างแรงฉุดลาก กับการไถลจะเป็นแบบไม่เชิงเส้น แรงฉุดลากสูงสุดจนเกิดการไถล มีค่าอยู่ประมาณ 15 – 20% ซึ่งอาจจะเพิ่มขึ้นได้ ถ้าเกิดความไม่มีเสถียรของยาง จะทำให้สัมประสิทธิ์แรงฉุดลากตกอย่างรวดเร็วจากค่าสูงไปสู่ค่าที่ต่ำจนเกิดการไถลขึ้น

 

สำหรับการขับขี่ปกติ การไถลของดอกยากมีขีดจำกัดในช่วงที่น้อยกว่า 15 – 20% ตารางที่ 2.2 แสดงให้เห็นถึงค่าเฉลี่ยของค่าสัมประสิทธิ์ของแรงฉุดลากบนพื้นถนนประเภทต่าง ๆ

 

ค่าเฉลี่ยของสัมประสิทธิ์แรงฉุดลาก

ชนิดพื้นผิว

ค่าสูงสุด mp

ค่าลื่นไถล ms

ถนนยางมะตอย และคอนกรีต (แห้ง)

0.8 – 0.9

0.75

ถนนคอนกรีต (เปียก)

0.8

0.7

ถนนยางมะตอย (เปียก)

0.5 – 0.7

0.45 – 0.6

เป็นหลุมเป็นบ่อ

0.6

0.55

พื้นดิน (แห้ง)

0.68

0.65

พื้นดิน (เปียก)

0.55

0.4 – 0.5

หิมะ (หนา)

0.2

0.15

น้ำแข็ง

0.1

0.07

ตารางที่ 2.2 ค่าเฉลี่ยของสัมประสิทธิ์แรงฉุดลาก

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“คำว่า ไว้วันหลัง เอาไว้ก่อน เดี๋ยวก่อน

 

มักเป็นเหตุหนึ่งในการ ดับความฝัน”

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา