บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 909
เมื่อวาน 984
สัปดาห์นี้ 11,938
สัปดาห์ก่อน 29,853
เดือนนี้ 59,095
เดือนก่อน 65,987
ทั้งหมด 4,874,347
  Your IP :3.145.66.104

2.3 สมการพลศาสตร์

 

      แรงหลักที่กระทำกับยานยนต์จะมีทั้งแรงจากภายนอก และแรงจากภายใน ดังแสดงในรูป

 

รูปผังไดอะแกรมของตัวแปรต่าง ๆ ที่ทำกับยานยนต์

 แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

ประกอบไปด้วย ความต้านทานการกลิ้งของยางด้านหน้า (Frf) และยางด้านหลัง (Frr) ซึ่งแสดงโดยโมเมนต์ความต้านทานการกลิ้ง ด้านหน้า (Trf) และด้านหลัง (Trr), แรงฉุดอากาศพลศาสตร์ (Fw), ความต้านทานการไต่ทางชัน (Fg) และการพยายามดึงของยางหน้า (Ftf) และหลัง (Ftr)

 

ข้อสังเกต ให้ Ftf เป็นศูนย์ สำหรับรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหลัง ในขณะที่ Ftr จะเป็นศูนย์ สำหรับรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหน้า

 

สมการพลศาสตร์ของการเคลื่อนที่ยานยนต์ ไปตามทิศทางแนวยาวสามารถอธิบายเป็นสมการ ได้ดังนี้

 

Mv dV/dt = (Ftf + Ftr) – (Ftf + Frr + Fw+ Fg)        (2.13)

 

กำหนดให้   dV/dt = ความเร่งเชิงเส้นของยานยนต์ตามทิศทางแนวยาว

                        Mv= มวลของรถยนต์

 

เทอมด้านขวามือของสมการ (2.13) ส่วนแรกเป็นแรงพยายามดึงทั้งหมด และเทอมที่สองคือความต้านทานทั้งหมด แล้วมาลบกัน

 

      ในการคาดการณ์แรงพยายามดึงสูงสุดที่ยาง สัมผัสกับพื้นที่ยางบนพื้น โหลดปกติในแกนด้านหน้า และด้านหลังมีการคำนวณ โดยผลสรุปโมเมนต์ของแรงทั้งหมดเกี่ยวจุด R (นับจากศูนย์กลางของยาง จนถึงพื้น) โหลดปกติบนแกนด้านหน้า Wf สามารถคำนวณได้จากสมการด้านล่างนี้

 

Wf = (MvgLb cos a - (Trf + Trr + Fwhw + Mvghg sin a + Mhg dV/dt))/L       (2.14)

 

ในทำนองเดียว โหลดปกติกระทำในแกนด้านหลังสามารถอธิบายได้ดังสมการ

 

Wr = (MvgLb cos a – (Trf + Trr + Rwhw + Mvghg sin a + Mvhg dV/dt))/L      (2.15)

 

สำหรับรถยนต์นั่ง ความสูงของศูนย์กลางใช้งานในด้าน ความต้านทานของอากาศพลศาสตร์ (hw) ถือว่าอยู่ใกล้กัน หรือเกือบเป็นจุดเดียวกันกับจุดศูนย์ถ่วง (Center of gravity) ของยานยนต์ (hg) ดังนั้นสมการ 2.14 และ 2.15 สามารถเขียนออกมาให้เป็นรูปแบบใหม่ ได้ดังนี้

 

Wf = (Lb/L) Mvg cos a – ((hg/L)( Fw+ Fg+ Mvgfr(rd/hg) cos a+ Mv dV/dt))  (2.16)

 

และ

 

Wr = (La/L) Mvg cos a + ((hg/L)( Fw+ Fg+ Mvgfr(rd/hg) cos a+ Mv dV/dt))  (2.17)

 

กำหนดให้      rd = รัศมีประสิทธิผลของล้อ

 

ที่อ้างถึง สมการ 2.5 และ 2.13 กับ 2.16 และ 2.17 สามารถนำมาเขียนใหม่ได้ดังนี้

 

Wf = (Lb/L) Mvg cos a – ((hg/L)( Ft+ Frr(1 – rd/hg)))    (2.18)

 

และ

 

Wr = (Lb/L) Mvg cos a + ((hg/L)( Ft– Frr(1 – rd/hg)))  (2.19)

 

กำหนดให้ Ft= Ftf + Frr เป็นผลบวกของแรงพยายามเคลื่อนที่ของรถยนต์ และ Fr เป็นผลรวมของความต้านทานการกลิ้งทั้งหมดของรถยนต์

 

      ในเทอมด้านขวาของสมการ 2.18 และ 2.19 คือ โหลดสถิตบนแกนหน้า และหลัง ตามลำดับ เมื่อรถอยู่นิ่งบนพื้นระดับราบ ส่วนในเทอมที่สองด้านซ้าย เป็นองค์ประกอบตัวแปรพลศาสตร์ของโหลดปกติ

 

      แรงพยายามเคลื่อนที่สูงสุดของยาง กับพื้นที่ล้อมันรองรับ (มีจำนวนน้อยกว่าแรงพยายามเคลื่อนที่สูงสุด จะเนื่องมาจากเกิดการหมุนของล้อยางบนพื้น) มักจะอธิบายจากการสร้างแรง และสัมประสิทธิ์ของการยึดเกาะบนพื้นถนน (m) หรือ จะเรียกว่า ค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน (Frictional coefficient) จะอธิบายถึงรายละเอียในหัวข้อถัดไป สำหรับรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหน้า แรงพยายามเคลื่อนที่สูงสุด เป็นดังนี้

 

รูปสมการ 2.20 และ 2.21

 

กำหนดให้ fr เป็นค่าสัมประสิทธิ์ของความต้านทานการกลิ้ง สำหรับรถยนต์ที่ขับเคลื่อนล้อหลัง จะเป็นดังนี้

     

รูปสมการ 2.22 และ 2.23

 

      ในการทำงานของรถยนต์ แรงพยามเคลื่อนที่สูงสุดในการขับเคลื่อนที่ล้อ ถ่ายทอดมาจากเครื่องยนต์ต้นกำลังผ่านระบบส่งกำลัง ค่าที่ได้ไม่ควรที่จะเป็นค่าที่สูงสุด เพราะมีขีดจำกัดของการใช้งานระหว่างยาง กับชนิดของพื้นถนน ตามสมการ 2.21 และ 2.23 ไม่เช่นนั้น การขับเคลื่อนที่ล้อจะหมุนบนพื้นนำไปสู่ความไม่เสถียรของยานยนต์

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“หากทุกเช้า คุณสามารถลุกขึ้นมาออกกำลังกาย แล้วสวดมนต์ หรือนั่งสมาธิ ได้ต่อเนื่องอย่างน้อยสองเดือนขึ้นไป ชีวิตจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน”

 

ดังตฤณ

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา