บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 2,275
เมื่อวาน 4,086
สัปดาห์นี้ 9,553
สัปดาห์ก่อน 12,965
เดือนนี้ 50,753
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,395,250
  Your IP :3.15.156.140

2.2.2 แรงฉุดทางอากาศพลศาสตร์

 

      เมื่อรถยนต์วิ่งมาด้วยความเร็วพอสมควร ตัวรถมันจะเจอกับแรงต้านของอากาศ ที่คอยจะต้านไม่ให้รถยนต์นั้นเคลื่อนที่ไปได้เร็วกว่านี้ แรงที่พยายามไม่ให้รถยนต์เคลื่อนที่เนื่องจากอากาศที่ต้าน เราเรียกว่า แรงฉุดทางอากาศพลศาสตร์ (Aerodynamic drag)

 

      สาเหตุที่ทำให้เกิดแรงต้านนี้ขึ้น มีอยู่สองเหตุผลหลัก ๆ นั่นก็คือ รูปร่างของยานยนต์ที่ทำให้เกิดแรงฉุดต้านของอากาศ หรือแรงฉุดจากรูปทรงรถ (Shape drag) และอีกสาเหตุหนึ่งก็คือ คุณภาพของพื้นผิวตัวถัง หรือความเสียดทานที่พื้นผิว (Skin friction)

 

รูปการทดสอบอากาศพลศาสตร์ของรถยนต์ในอุโมงค์ลม

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

รูปแรงฉุดของอากาศที่กระทำต่อรถยนต์

 

 

แรงฉุดจากรูปทรงรถ

 

      การเคลื่อนที่ไปข้างหน้าของรถยนต์นั้นจะมีอากาศคอยดันต้านตัวถังรถ อย่างไรก็ดี เมื่ออากาศไหลปะทะรถ มันจะต้องมีหนทางไหลไปต่อ ก่อนที่มันจะไหลผ่านรถมันจะอั้นต้านตัวถังรถไว้ ทำให้เกิดความกดดันเพิ่มขึ้นที่หน้าตัดตัวรถ ส่งผลทำให้เกิดความกดดันของอากาศที่สูง นอกจากนี้อากาศที่ด้านหลังรถไม่สามารถเติมพื้นที่ได้ทันทีจากการที่รถเคลื่อนไปข้างหน้า มันก็จะสร้างอาณาบริเวณที่เป็นความกดอากาศต่ำ

 

รูปอากาศพลศาสตร์ของรถแข่ง

 

      การเคลื่อนที่ของรถยนต์คันหนึ่งจะสร้างอาณาบริเวณอยู่สองพื้นที่ของความกดอากาศที่จะต้านการเคลื่อนที่ของรถเมื่อมันเคลื่อนที่ไปข้างหน้า (ความดันอากาศที่สูงที่ด้านหน้ารถ) และพยายามดึงย้อนกลับ (ความดันอากาศต่ำที่ด้านหลังรถ) ดูในรูปด้านล่าง เป็นผลของแรงจากอากาศที่กระทำต่อรูปทรงรถยนต์

 

รูปแรงต้านจากการฉุดของอากาศ

 

รูปแรงฉุดอากาศของด้านหลังเทียบกับการใส่แพนอากาศ หรือสปอยเลอร์กับไม่ใส่

 

ความเสียดทานที่พื้นผิว

 

      เมื่อยานยนต์เคลื่อนที่ อากาศที่ไหลใกล้พื้นผิวของยานยนต์ จะเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว ในขณะที่อากาศที่อยู่ห่างออกไปยังคงเคลื่อนที่ไปเรื่อย ๆ ระหว่างโมเลกุลของอากาศทั้งสองส่วนที่เคลื่อนที่ไม่เท่ากันจะเกิดความแตกต่างของความเร็วของอากาศทั้งสองบริเวณ จะทำให้สร้างความเสียดทานเกิดขึ้นที่ผิวตัวถังรถยนต์ ที่เป็นสาเหตุให้เกิดแรงฉุดทางอากาศพลศาสตร์

 

รูปแรงฉุดจากความเสียดทานที่พื้นผิว

 

      แรงฉุดจากอากาศพลศาสตร์ มีองค์ประกอบที่เกิดจาก ความเสียดทานของยานยนต์ที่วิ่งด้วยความเร็ว (Vehicle speed: V), พื้นที่หน้าตัดด้านหน้าของยานยนต์ (Vehicle frontal area: Af), รูปร่างของรถยนต์สัมประสิทธิแรงฉุดของอากาศ (Coefficient of Aerodynamic Resistance) และความหนาแน่นของอากาศ (Air density: r (อ่านว่า โรห์)) แรงฉุดของอากาศพลศาสตร์สามารถเขียนเป็นสมการ ได้ดังนี้

 

แรงฉุดจากอากาศพลศาสตร์ = ½ ความหนาแน่นอากาศ ´ พื้นที่ด้านหน้ารถยนต์ ´ สัมประสิทธิ์แรงฉุดอากาศ ´ (ความเร็วรถ + ความเร็วลม)2

 

Fw = ½r AfCD(V + Vw)2           (2.8)

 

กำหนดให้   Fw = แรงฉุดอากาศพลศาสตร์ (N)

                r  = ความหนาแน่นของอากาศ (kg/m3)

                 Af = พื้นที่หน้าตัดด้านหน้าของยานยนต์ (m2)

                CD = สัมประสิทธิ์แรงฉุดอากาศพลศาสตร์ จากรูปร่างลักษณะของยานยนต์

                V = ความเร็วยานยนต์ (m/s)

                 Vw= ความเร็วลม (m/s

 

      ความเร็วของลม จะมีองค์ประกอบที่ต้องนำมาใช้พิจารณาทิศทางการเคลื่อนที่ของลม นั่นคือ ขณะรถยนต์กำลังวิ่ง และมีลมสวนพัดเข้าหารถยนต์เครื่องหมายของความเร็วลมจะเป็นบวก แต่ถ้ารถยนต์วิ่งไปในทิศทางเดียวกันกับที่ลมพัดเครื่องหมายจะเป็นลบ

 

สัมประสิทธิ์แรงฉุดทางอากาศพลศาสตร์ ของรูปทรงรถยนต์ที่มีรูปร่างต่าง ๆ สามารถดูได้ในตารางที่ 2.2 ด้านล่าง

 

 

ชนิดของรถยนต์

สัมประสิทธิ์แรงฉุดอากาศพลศาสตร์

 

รถเปิดประทุน (Open convertible)

 

0.5 - 0.7

 

 

รถแวน (Van body)

 

0.5 - 0.7

 

รถเก๋ง หรือคูเป้ (Ponton body)

 

0.4 - 0.55

 

รถทรงลิ่ม (Wedge-shaped body) (ไฟหน้าจะฝังอยู่ในตัวถังรถเวลาใช้จะเลื่อนขึ้นมา, ล้อจะครอบด้วยตัวถัง ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการระบายความร้อนจากการไหลของอากาศ)

 

0.3 - 0.4

 

รูปทรงหัวหลอดไฟ (Headlamp) (ล้อจะอยู่ใต้ตัวถัง)

 

0.2 - 0.25

 

รูปทรงเค (K- shapee)

 

0.23

 

รูปทรงหยดน้ำ ออกแบบที่เหมาะสม

 

 

0.15 - 0.20

 

รถบรรทุก หรือรถพ่วง

 

0.8 – 1.5

 

รถบัส

 

0.6 – 0.7

 

รถบัสรุ่นใหม่

 

0.3 – 0.4

 

รถจักรยานยนต์

 

0.6 – 0.7

 

ตารางที่ 2.2  สัมประสิทธิ์แรงฉุดจากรูปร่างตัวถังรถยนต์ที่มีความแตกต่างกัน

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

 

“ระหว่างแปรงฟัน ฮัมแพลงด้วยจนจบ จะทำให้ฟันสะอาดขึ้นสองเท่า”

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา