บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 957
เมื่อวาน 984
สัปดาห์นี้ 11,986
สัปดาห์ก่อน 29,853
เดือนนี้ 59,143
เดือนก่อน 65,987
ทั้งหมด 4,874,395
  Your IP :3.133.152.26

2.2.1 ความต้านทานการกลิ้ง

 

      ความต้านทานการหมุนกลิ้งของยางบนพื้นถนน พื้นฐานแรกสุด ก็เนื่องมาจากตัวเนื้อวัสดุที่เป็นยางมันมี สภาพความหยุ่นตัว (Hysteresis) ได้ ที่เป็นสาเหตุทำให้ล้อยางเบี้ยวเบนตัวในขณะที่เกิดการหมุนของล้อ ความหยุ่นตัวนี้ทำให้เกิดการกระจายของแรงปฏิกิริยาของล้อที่กระทำกับพื้นอย่างไม่สมดุลขึ้นมา 

 

รูปความยืดหยุ่นตัวของเนื้อยาง

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

       ในขณะที่รถเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ความดันยางในช่วงครึ่งหน้าของการสัมผัสกับพื้น จะมีค่าที่มากกว่าช่วงครึ่งท้ายของยาง

 

 

รูปยางรับน้ำหนัก

 

รูปล้อรถยนต์บนพื้นถนน

 

รูปแรงกระทำระหว่างล้อกับพื้น

 

      เมื่อเกิดการเบี้ยวเบี่ยงเบนของยางขณะที่ล้อหมุนเคลื่อนที่ ส่งผลให้แรงที่กระทำของล้อยางกับพื้นถนนพยายามไปทางด้านหน้า และค่อย ๆ ลดลงมาตามปฏิกิริยาของแรงกระทำ โดยปกติการกระทำของแรงจะอยู่ตรงกลางของล้อ และมันก็จะเกิดโมเมนต์แรงบิดขึ้นมาในแนวทิศตรงกันข้ามของการหมุนของล้อนี้ในกรณีที่เป็นพื้นถนนที่มีความแข็ง

 

       แต่ถ้าเป็นพื้นดินอ่อน หรือโคลน การเสียรูปของยางกับพื้นจะเป็นดังรูปด้านล่าง แรงปฏิกิริยาที่กระทำจะไปที่ช่วงครึ่งหน้ายาง

 

 

รูปตัวอย่างยางที่จมลงในโคลน

 

รูปแรงที่ล้อกระทำกับพื้นดินอ่อน หรือโคลน

 

ในพื้นดินที่อ่อน หรือลงโคลน ความต้านทานการหมุนกลิ้งจะเกิดขึ้นเป็นอย่างมาก จากการเสียรูปร่างของพื้น แรงปฏิกิริยาจากพื้นเกือบทั้งหมด จนเปลี่ยนเป็นแรงการยกไปที่ช่วงครึ่งหน้า

 

      โมเมนต์ที่เกิดขึ้นขณะที่รถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าบนถนนที่มีพื้นแข็ง จะมีการเปลี่ยนแปลงของแรงปฏิกิริยาที่ล้อกระทำกับพื้น ที่เรียกว่า โมเมนต์ต้านทานการหมุน (Rolling resistant moment) ดังแสดงในรูปที่ 2.2a และสามารถแสดงเป็นสมการดังด้านล่าง

 

โมเมนต์ต้านทานการหมุน = แรง ´ รัศมีล้อ

 

Tr= Pa         (2.2)

 

กำหนดให้   Tr= โมเมนต์ต้านทานการหมุน (Nm)

                P = แรงปกติ (N)

                a = รัศมีล้อ (m)

 

 

ตัวอย่างที่ 2.1  รถยนต์คันหนึ่ง ขับเคลื่อนไปบนถนนหลวง มีน้ำหนักรถที่ยางกระทำกับพื้นถนน 500 กิโลกรัม ล้อรถยนต์มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.43 เมตร แล้วโมเมนต์ต้านทานการหมุนของล้อจะมีค่าเท่าไหร่

 

รูปรถยนต์วิ่งบนถนน

 

วิธีทำ จากโจทย์ให้มา แรงจากน้ำหนักรถ = 500 kg = 500 ´ 9.81 = 4,905 N; ยางมีรัศมีล้อ = 0.43 / 2 = 0.215 m

 

ดังนั้นโมเมนต์ต้านทานการหมุนจะมีค่า

 

Tr= Pa

 

= 4,905 N ´ 0.215 m

 

= 1,054.575 Nm 

     

ดังนั้น โมเมนต์ต้านทานการหมุนของล้อจะมีค่าเท่ากับ 1,054.575 นิวตัน.เมตร            ตอบ

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“อย่ารอคอยในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง

อย่ากลัวในสิ่งที่ตนสามารถสู้หรือเปลี่ยนแปลงมันได้” 

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา