บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,006
เมื่อวาน 1,871
สัปดาห์นี้ 7,111
สัปดาห์ก่อน 15,976
เดือนนี้ 70,037
เดือนก่อน 47,501
ทั้งหมด 4,337,924
  Your IP :18.234.139.149

ยานยนต์ไฮบริดจ์ที่เกิดขึ้นในตอนนั้นเกิดมาในช่วงเวลาสั้น ๆ ประกอบกับมีการปรับปรุงเครื่องยนต์แก๊สโซลีนให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นมาเรื่อย ๆ หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1เครื่องยนต์แก๊สโซลีนได้ถูกปรับปรุงให้ก้าวหน้าอย่างมาก ตัวเครื่องยนต์จะเล็กลง และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ไม่มีความจำเป็นที่จะนำมอเตอร์ไฟฟ้าเข้ามาติดตั้งไว้ในรถยนต์ เพื่อทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นในการที่นำมอเตอร์มาติดตั้งในรถยนต์ และอีกอย่างอันตรายที่เกี่ยวข้องกับน้ำกรดของแบตเตอรี่ เป็นส่วนสำคัญในการหายไปจากตลาดหลังสงครามโลกครั้งที่ 1    

 

      อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหาที่มากกว่านั้นเกี่ยวกับการออกแบบในตอนเริ่มต้น ที่ต้องรับมือกับความยากลำบากในการควบคุมเครื่องจักรกลทางไฟฟ้า เพราะไม่ได้มีการใช้อิเล็กทรอนิกส์กำลัง (Power electronics)

 

รูปตัวอย่างเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์กำลังที่ใช้ในยานยนต์ไฮบริดจ์

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

จนกระทั่งประมาณ ปีพ.ศ. 2508 มอเตอร์ขับเคลื่อนเริ่มมีการใช้สวิตซ์ทางกล และตัวต้านทานคอยควบคุม และปัญหาอีกอย่างหนึ่งก็คือ มันมีขีดจำกัดในการใช้งาน คือไม่สามารถวิ่งได้ไกล ๆ ทำให้มันสวนทางกันกับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหล่านี้เป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดความยากลำบากในการสร้างยานยนต์ไฮบริดจ์ในยุคต้น ๆ

 

รูป ดร. วิคเตอร์ วู๊ค

 

      ในปีพ.ศ. 2518 ดร. วิคเตอร์ วู๊ค (Dr. Victor Wouk) ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้วิจัยเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริดจ์สมัยใหม่ เขา และเพื่อนร่วมงานในมหาวิทยาลัย ได้สร้างยานยนต์ไฮบริดจ์ทำงานแบบคู่ขนาน เครื่องยนต์เป็นเครื่องโรตารี่ของมาซด้า (Mazda rotary engine) คู่กับเกียร์ธรรมดา มันมีมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 15 แรงม้าคอยช่วยเหลือสนับสนุน ที่ตั้งอยู่ด้านหน้าของเกียร์

 

รูปยานยนต์ไฮบริดจ์ของ ดร.วู๊ค

 

ได้นำแบตเตอรี่ 12 โวลต์ 8 ลูกมาใช้ในการกักเก็บพลังงาน ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง (80ไมล์/ชั่วโมง) อัตราเร่งสามารถทำความเร็วจาก 0 – 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง (60ไมล์/ชั่วโมง) ใช้เวลา 16 วินาที

 

      การออกแบบไฮบริดจ์แบบอนุกรมโดย ดร. เออร์เนสต์ เฮช. เวคฟิลด์ (Dr. Ernest H. Wakefield) ในปี พ.ศ. 2510 เมื่อเขาทำงานอยู่ที่บริษัทลิเนียร์ อัลฟ่า (Linear Alpha Inc) โดยมีเครื่องยนต์ขนาดเล็กทำหน้าที่ปั่นเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ มีกำลังงานออกมา 3 กิโลวัตต์ ถูกนำไปใช้ และประจุเก็บไว้ในชุดแบตเตอรี่

 

      อย่างไรก็ดี การทดลองก็ได้หยุดลงอย่างรวดเร็วเพราะว่าเกิดปัญหาทางด้านเทคนิค ส่วนวิธีการอื่น ๆ ถูกศึกษาระหว่างช่วงปี พ.ศ. 2518 ถึงต้น พ.ศ. 2528 เป็นช่วงของการขยายตัว ลักษณะการออกแบบคล้ายกันกับแนวคิดของบริษัทเวนโดเวลลิ และพรีสท์ลี ในปี พ.ศ. 2442 แต่มีการปรับปรุงให้ดีกว่าโดยการปรับปรุงระยะทางการวิ่งของรถยนต์ที่เปลี่ยนเป็นการใช้ไฟฟ้า แต่การออกแบบนี้ก็ยังไม่ได้ออกสู่ตลาด

 

      ส่วนตัวต้นแบบอื่น ๆ ของยานยนต์ไฮบริดจ์ก็มี เช่นการสร้างขึ้นมาโดยบริษัทอิเล็กทริค ออโต้ (Electric Auto Corporation) ในปี พ.ศ. 2525 และบริษัท บริกส์ กับสแทรทตอน (Briggs & Stratton Corporation) ในปี พ.ศ. 2523 ทั้งสองบริษัทนี้มีการพัฒนายานยนต์ไฮบริดจ์ที่มีแนวคิดแบบคู่ขนานกันไป

 

      ถึงแม้ว่าจะมีวิกฤติน้ำมันอยู่ 2 ครั้ง คือปี พ.ศ. 2516 และ พ.ศ. 2520 แม้จะมีความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น ก็ยังไม่มียานยนต์ไฮบริดจ์ไฟฟ้าทำขึ้นออกมาสู่ท้องตลาด โดยนักวิจัยได้มุ่งเน้นการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า ระหว่างช่วงปี พ.ศ. 2520 – 2530 ซึ่งมีต้นแบบเกิดขึ้นจำนวนมากใน

 

      ทำให้ไม่ค่อยมีใครสนใจในยานยนต์ไฮบริดจ์ในช่วงเวลานั้น ประกอบกับยานยนต์ไฮบริดจ์ยังขาดแคลนเทคโนโลยีทางด้านอิเล็กทรอนิกส์กำลัง, มอเตอร์ไฟฟ้าสมัยใหม่ และเทคโนโลยีแบตเตอรี่

     

      ในช่วงปี พ.ศ. 2523 เห็นการลดในการใช้เครื่องยนต์เผาไหม้ภายในขนาดของกำลังงาน นำไปสู่การมีเครื่องฟอกไอเสีย (Catalytic converters) และมีระบบหัวฉีดเข้ามาใช้งานในเครื่องยนต์

 

      แนวคิดของยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริดจ์เริ่มมีความน่าสนใจอย่างมากในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2533 เมื่อเกิดความชัดเจนว่ายานยนต์ไฟฟ้ายังไม่บรรลุวัตถุประสงค์ของการประหยัดพลังงาน บริษัท ฟอร์ดมอเตอร์ (Ford Motor Corporation) ได้ริเริ่มการสร้างยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริดจ์ของฟอร์ด ซึ่งมีการร่วมมือกันกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ที่ช่วยในการพัฒนายานยนต์ที่จะผลิตออกมา

 

      การผลิตยานยนต์ทั่วโลกในการสร้างต้นแบบ มีความสำเร็จอย่างมากในการปรับปรุงในการประหยัดเชื้อเพลิงที่เหนือกว่ายานยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน ในประเทศสหรัฐอเมริกา ก็มี บริษัท ดอดจ์ (Dodge) ได้สร้างยานยนต์ไฮบริดจ์รุ่น อีเอสเอ็กซ์ (ESX) 1, 2 และ3

 

      ในรุ่นอีเอสเอ็กซ์ 1 เป็นยานยนต์ไฮบริดจ์ทำงานแบบอนุกรม มีต้นกำลังที่เป็นเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็ก 3 สูบมีเทอร์โบชาร์จเจอร์ และมีชุดแบตเตอรี่ ให้แรงม้าออกมาขับเคลื่อนมอเตอร์ 100 แรงม้า ขับเคลื่อนล้อหลัง

 

      รัฐบาลของสหรัฐอเมริกาได้ให้การสนับสนุนยานยนต์รุ่นใหม่ (Partnership for a New Generation of Vehicles: PNGV) ซึ่งเป็นรถยนต์เก๋งขนาดกลางสามารถวิ่งได้ระยะทาง 80 ไมล์ต่อแกลลอน (Mile per gallon: mpg) ซึ่งผลสำเร็จเห็นได้ในรถยนต์ฟอร์ด โพรดิจี (Ford Prodigy) และจีเอ็ม พรีเซฟท์ (GM Precept)

 

รูปรถยนต์ของฟอร์ด รุ่นโพรดิจี

 

รูปรถยนต์ของจีเอ็ม รุ่นพรีเซฟท์

 

      ทั้งยานยนต์โพรดิจี และพรีเซฟท์เป็นยานยนต์ไฮบริดจ์ทำงานแบบคู่ขนาน ต้นกำลังจะเป็นเครื่องยนต์ดีเซลติดเทอร์โบขนาดเล็ก ตัดต่อกำลังด้วยคลัตช์แผ่นแห้ง และเกียร์ธรรมดา ได้ผลดีตามวัตถุประสงค์ แต่ก็ยังผลิตออกมาไม่มาก

 

      ความพยายามในโซนยุโรปยังไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น ยังมี เรโนย์ (Renault) ชาวฝรั่งเศส ได้สร้างยานยนต์ไฮบริดจ์แบบคู่ขนานขนาดเล็ก ขนาดเครื่องยนต์ 750 ซีซี เครื่องยนต์ใช้หัวเทียน และมอเตอร์ไฟฟ้าสองตัว ตัวต้นแบบสามารถวิ่งได้ด้วยความเร็วสูงสุด และ 29.4 กิโลเมตรต่อลิตร (70 ไมล์ต่อแกลลอน) และประสิทธิภาพของการเร่งเครื่องเทียบเท่ากับรถยนต์ทั่วไป

 

      รถยนต์ยี่ห้อโฟล์คสวาเก็น (Volkswagen) ก็ได้สร้างต้นแบบออกมาเช่นกัน ชื่อว่า ชิโก้ (Chico)

 

รูปรถยนต์ไฮบริดจ์โฟล์คสวาเก็น รุ่นชิโก้

 

พื้นฐานมาจากรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก มาพร้อมกับชุดแพ็คแบตเตอรี่นิเกิล-โลหะ และมอเตอร์เหนี่ยวนำสามเฟส ติดตั้งเครื่องยนต์ขนาดเล็กที่เป็นเครื่องยนต์แก๊สโซลีน 2 สูบ มีหน้าที่ในการประจุไฟฟ้าให้กับแบตเตอรี่ และคอยทำงานเสริมมอเตอร์ในขณะที่ขับขี่ด้วยความเร็วสูง

 

      ความพยายามที่สำคัญที่สุดในการพัฒนา และในการทำเพื่อออกมาขายของยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริดจ์ถูกทำสำเร็จโดยผู้ผลิตในประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2540 โตโยต้า (Toyota) ได้เปิดตัวรถเก๋งซีดานพรีอูส (Prius) ที่ประเทศญี่ปุ่น ฮอนด้า (Honda) ได้เปิดตัว อินไซต์ และซีวิคไฮบริดจ์ (Insight & Civic Hybrid)

 

รูปโตโยต้า พรีอูส

 

รูปฮอนด้า อินไซต์ ซีวิค

 

      ยานยนต์ที่กล่าวมาเหล่านี้ได้ถูกวางจำหน่ายแล้วทั่วโลก พวกมันประสบความสำเร็จในการประหยัดเชื้อเพลิง โดยรถยนต์โตโยต้า พรีอูส และฮอนด้าอินไซต์ มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ในการที่จะเป็นยานยนต์ไฮบริดจ์รุ่นใหม่ที่นำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ ที่ตอบสนองต่อปัญหาของรถยนต์ส่วนบุคคลในการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“อยู่ให้ไว้ใจ ไปให้คิดถึง”

 

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา