บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 917
เมื่อวาน 984
สัปดาห์นี้ 11,946
สัปดาห์ก่อน 29,853
เดือนนี้ 59,103
เดือนก่อน 65,987
ทั้งหมด 4,874,355
  Your IP :3.145.7.253

1.7 ความเป็นมาของยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริดจ์

 

      น่าแปลก ที่แนวคิดของยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริดจ์ เป็นแนวคิดที่มีมาตั้งนานแล้ว แต่ตอนนั้นมันยังไม่สามารถลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงได้มากพอ จึงยังไม่ค่อยมีใครสนใจ แต่ตอนนั้นมันก็พอที่จะช่วยให้เครื่องยนต์เผาไหม้ภายในมีการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น

 

      ซึ่งเมื่อเทียบประสิทธิภาพทางกลกันแล้ว เครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน ประสิทธิภาพจะด้อยกว่ามอเตอร์ไฟฟ้า เมื่อเทียบขนาดแรงม้าที่เท่ากัน

 

รูปรถยนต์ไฮบริดจ์สมัยก่อน

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      ยานยนต์ไฮบริดจ์คันแรกที่เอาออกมาแสดงอยู่ที่งานแฟชันปารีส (Paris Salon) ในปี พ.ศ. 2442 มันถูกสร้างขึ้นโดย บริษัทสายส่งไฟฟ้าโลห์เนอร์-พอร์ช (ปอร์เช่) (Lohner-Porsche electric carriage) ที่ออกแบบโดย ปอร์เช่ (Porsche) รถยนต์ที่มาแสดงนั้น มันสามารถทำงานคู่ขนานกันได้ ระหว่างเครื่องยนต์ กับมอเตอร์ไฟฟ้า

 

รูปรถยนต์ไฮบริดจ์รุ่นแรก ๆ

 

มีรายงานว่าแบตเตอรี่จะถูกประจุชาร์จโดยเครื่องยนต์ ขณะรถยนต์จอดนิ่งอยู่กับที่ และในขณะที่กำลังจะขับเคลื่อนมีความจำเป็นที่จะต้องใช้กำลังงานมาก เครื่องยนต์จะทำหน้าที่หลักในการจ่ายกำลังงานขับเคลื่อน ส่วนมอเตอร์ไฟฟ้าจะช่วยเสริมกำลังงานเพิ่มเติม

 

      เป็นครั้งแรกที่มีการทำงานของสองระบบช่วยกันเป็นหนึ่งเดียว และนี่อาจเรียกได้ว่าเป็นการเปิดตัวของยานยนต์ไฮบริดจ์อย่างเป็นทางการครั้งแรก

 

      ส่วนยานยนต์ไฮบริดจ์อื่น ๆ หลังจากที่งานแฟชันปารีสแล้ว ก็มีให้เห็นออกมาอีกหลายครั้ง ซึ่งจะออกมาสลับกันกับรถยนต์ที่เป็นไฟฟ้า ยานยนต์ไฮบริดจ์รุ่นหนึ่งที่สร้างโดย บริษัทของฝรั่งเศสชื่อ เวนโดเวลลิ และพรีสท์ลี (French firim Vendovelli and Priestly)

 

รูปยานยนต์กไฮบริดจ์แรก ๆ ของโลนเนอร์ ปอร์เช่

 

      มันเป็นรถยนต์สามล้อ ขับเคลื่อนโดยสองล้อหลังอย่างอิสระด้วยมอเตอร์ ในการทำงานของยานยนต์ จะมีเครื่องยนต์แก๊สโซลีนขนาด ¾ แรงม้า ทำงานคู่กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 1.1 กิโลวัตต์ ที่ติดตั้งอยู่บนตัวพ่วง และถูกลากจูงอยู่ด้านหลัง ซึ่งเมื่อทำแบบนี้จะช่วยในการขยายเวลาการทำงานของรถยนต์โดยการช่วยชาร์จไฟฟ้าเข้ากับแบตเตอรี่เพิ่มเติม ในกรณีที่ฝรั่งเศสนี้ การออกแบบยานยนต์ไฮบริดจ์จะถูกต่อยอดมาจากยานยนต์ที่เป็นไฟฟ้า และไม่ได้มีการจ่ายกำลังงานเพิ่มขึ้นเมื่อไม่ได้ใช้เครื่องยนต์

 

รูปรถยนต์ไฮบริดจ์ของโลนเนอร์ ปอร์เช่ ที่มีมอเตอร์อยู่ 4 ล้อ

 

      ชาวฝรั่งเศสชื่อ คามิลล์ เจแนตซี (Camille Jenatzy) ได้นำเสนอยานยนต์ไฮบริดจ์คู่ขนานที่งานปารีสแฟชัน ปี พ.ศ. 2446 ยานยนต์นี้ทำงานร่วมกันของเครื่องยนต์แก๊สโซลีน 6 แรงม้ากับมอเตอร์ไฟฟ้า 14 แรงม้า การประจุพลังงาน ทั้งสามารถประจุชาร์จแบตเตอรี่จากเครื่องยนต์ หรือตัวช่วยอื่นภายหลังที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว

 

      คนอื่น ๆ ก็มีคือ เฮช คริเกอร์ (H.Krieger) ได้สร้างรายงานชุดที่สองของยานยนต์ไฮบริดจ์ในปี พ.ศ. 2445 การออกแบบของเขาใช้มอเตอร์กระแสตรงสองตัวทำงานอิสระแก่กันในการขับเคลื่อนล้อหน้า พวกมันใช้พลังงานจากเซลล์แบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด 44 เซลล์ จะถูกประจุชาร์จด้วยเครื่องยนต์แอลกอฮอล์ (Alcohol spark-ignited engine) ใช้หัวเทียนในการจุดระเบิด ทำงานคู่กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงแบบชันท์ (Shunt DC generator)

 

      ส่วนยานยนต์ไฮบริดจ์อื่น ๆ ที่สร้างรุ่นแรก ๆ มีทั้งแบบทำงานคู่กัน หรือทำงานแบบอนุกรมกัน ยานยนต์ไฮบริดจ์เหล่านี้จะถูกสร้างในระหว่างปี พ.ศ. 2442 จนถึง พ.ศ. 2457 นอกจากนี้ยังมีการใช้เบรกไฟฟ้าเข้ามาออกแบบใช้งานในตอนต้นด้วย แต่ตอนนั้นยังไม่เป็นรูปแบบ การเบรกโดยการจ่ายพลังงานคืน (Regenerative braking)

 

      มันเป็นเพียง การออกแบบการใช้เบรกแบบพลวัต (Dynamics brake) การทำงานของมันก็คือ การลัดวงจรไฟฟ้า หรือโดยการใส่ความต้านทานลงไปในทุ่นอาเมเจอร์ของมอเตอร์ขับเคลื่อน ยานยนต์ของโลนเนอร์-ปอร์เช่ ในปี พ.ศ. 2446 เป็นตัวอย่างที่ใช้วิธีการเบรกแบบนี้ แล้วก็มีบ่อยครั้งมีการใช้คลัตช์แม่เหล็กไฟฟ้า และข้อต่อแบบแม่เหล็กที่ออกแบบมาใช้ร่วมกันกับยานยนต์ไฮบริดจ์

 

รูปรถยนต์ของโลนเนอร์-ปอร์เช่ที่ใช้การเบรกแบบพลวัต

 

รูปอุปกรณ์เบรกพลวัต ของยานยนต์ไฮบริดจ์รุ่นแรก ๆ

 

 

      ยานยนต์ไฮบริดจ์ในช่วงเริ่มแรก มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเสริมข้อด้อยของเครื่องยนต์เผาไหม้ภายในตอนนั้น หรือวัตถุประสงค์อีกอย่างก็เพื่อช่วยปรับปรุงให้ยานยนต์ไฟฟ้าสามารถทำการวิ่งได้ไกลยิ่งขึ้น พวกมันถูกสร้างขึ้นมาจากเทคโนโลยีไฟฟ้าพื้นฐานที่เป็นไปได้ในตอนนั้น ทั้งที่มีความคิดสร้างสรรค์เป็นหลักในการออกแบบ แต่เนื่องด้วยขีดจำกัดของเทคโนโลยีในตอนนั้นทำให้รูปร่างของยานยนต์ และการใช้งานจึงยังไม่ดีเท่าที่ควร

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 


“ถึงแม้ว่าเราจะไม่พบสิ่งที่พอใจ อย่างน้อย เราก็จะได้เจอสิ่งใหม่ๆ

If we do not find anything very pleasant, at least we shall find something new.
                                                                            
            Voltaire

 

                                                                              

 

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา