1.3 แหล่งปิโตรเลียม
เชื้อเพลิงส่วนใหญ่ที่ใช้ในการขนส่งเป็นเชื้อเพลิงเหลวที่ได้จากปิโตรเลียม (Petroleum) มันเป็นผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิล (Fossil fuel) ที่ได้จากการเน่าเปื่อยของซากพืชซากสัตว์ ที่ถูกทับถมกันเป็นเวลายาวนานนับล้าน ๆ ปี (อาจถึง 400 – 600 ล้านปี) แล้วถูกฝังอยู่ภายใต้ชั้นดินชั้นหินใต้พื้นโลก
รูปการขุดน้ำมันดิบจากแหล่งบนบก
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
รูปการขุดปิโตรเลียมจากบนบก
รูปแทนขุดปิโตรเลียมกลางทะเล
รูปน้ำมันดิบ
กระบวนการอย่างคร่าว ๆ ก็คือ สิ่งมีชีวิต (ส่วนใหญ่เป็นซากพืช) ตายลง และค่อย ๆ ถูกปกคลุมทับถมกันอย่างช้า ๆ เป็นแบบตะกอน นานวันไป ตะกอนถูกสะสมเหล่านี้อยู่ในรูปแบบที่เป็นชั้นหนา และเปลี่ยนไปเป็นหิน สิ่งที่ตายเหล่านี้ จะถูกกักเก็บอย่างมิดชิด มักพบในบริเวณที่มีความดัน และอุณหภูมิสูง
รูปการขุดน้ำมันดิบใต้ดินที่เกิดจากซากฟอสซิล
รูปผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมที่เป็นถ่านหิน และสารไฮโดรคาร์บอน
กระบวนการการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ซึ่งตามสภาพธรรมชาติมันจะเกิดเป็นไปในรูปแบบของสารไฮโดรคาร์บอน หรือถ่านหิน (Coal) ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมบริเวณนั้น ๆ กระบวนการเหล่านี้ใช้เวลานับล้าน ๆ ปีถึงจะสำเร็จ ผลที่ได้ก็คือทำให้เกิดแหล่งทรัพยากรของโลก ที่เป็นของแหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิล
รูปซากฟอสซิลที่ทับถมใต้พื้นดินจนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
ปริมาณสำรองพิสูจน์แล้ว (Proved reserves) คือ ปริมาณในทางธรณีวิทยา และทางวิศวกรรม ข้อมูลได้แสดงออกอย่างเหมาะสมด้วยความมั่นใจว่าสามารถนำมาใช้ได้ในอนาคต จากแหล่งที่กำลังดำเนินการอยู่
แต่ข้อมูลเหล่านั้นก็ยังไม่ได้บอกถึง ปริมาณสำรองที่มีอยู่ทั้งหมดของโลก ตัวอย่างปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว ซึ่งแสดงไว้ในปิโตรเลียมของอังกฤษ ตัวเลขกำหนดเป็นพันล้านตัน
รูปแหล่งปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้วทั่วโลก
รูปตารางแหล่งพลังงานสำรองที่พิสูจน์แล้ว
น้ำมันที่สกัดได้ในปัจจุบันเป็นน้ำมันที่สกัดได้ง่าย ที่อยู่ที่พื้นผิว ในบริเวณสภาพอากาศที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาที่สำคัญ มีความเชื่อที่ว่าน้ำมันจะมีอยู่มากใต้เปลือกโลก ดังเช่นภูมิภาคไซบีเรีย, อเมริกา, แคนาดา และขั้วโลกเหนือ
รูปแหล่งพลังงานปิโตรเลียมในทะเล
ในบริเวณเหล่านี้ทางสภาพภูมิอากาศ และนิเวศวิทยามักจะเป็นอุปสรรคในการสกัดแร่ หรือน้ำมัน ทำให้การประมาณการแหล่งสำรองทั้งหมดของโลกเป็นงานที่ยาก เพราะเนื่องจากเหตุผลทางด้านการเมือง และทางเทคนิค การสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐอเมริกา
การบริโภคมีการเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี เพื่อให้ทันกับการเติบโตของประเทศที่กำลังพัฒนา และพัฒนาแล้ว การบริโภคมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างมาก พร้อมกับการพัฒนาอย่างรวดเร็วของประเทศ ในกราฟ
รูปกราฟ การใช้น้ำมันในแต่ละบริเวณ
แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มในการบริโภคน้ำมันไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา ปริมาณการใช้น้ำมันคิดเป็นพันบาร์เรลต่อวัน (1 บาร์เรล ประมาณ 8 เมตริกตัน)
แม้จะมีการลดการบริโภคน้ำมันในยุโรปตะวันออก และอดีตสหภาพโซเวียต โลกก็ยังคงมีแนวโน้มการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ดังกราฟ
รูปกราฟ การใช้น้ำมันของโลก
ภูมิภาคที่มีการเติบโตเร็วที่สุดก็คือแถบภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่ซึ่งมีประชากรส่วนใหญ่ของโลกอาศัยอยู่ มีการใช้ทรัพยากรน้ำมันอย่างมากไปตามสัดส่วนการเพิ่มขึ้นของประชากร และแน่นอนการปล่อยมลพิษ และการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภูมิภาคนี้ก็ย่อมเพิ่มสูงขึ้นไปด้วย
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“ไม่ต้องสนใจว่าแมวจะสีขาว หรือดำ ขอให้จับหนูได้ก็พอ”
เติ้งเสี่ยวผิง