1.2 สภาวะโลกร้อน 2
ภัยพิบัติทางธรรมชาติก่อให้เกิดความเสียหายมากกว่าภัยพิบัติทางระบบนิเวศเสียอีก เพราะว่ามันทำความเสียหายได้อย่างกว้างขวางรุนแรง ซึ่งเชื่อว่าภาวะโลกร้อนนี้นำไปสู่ปรากฏการทางอุตินิยมวิทยา เช่น ปรากฏการณ์ เอลนีโญ (El Niño: ภาษาสเปน แปลว่า เด็กผู้ชาย) และลานีญา (La Niña: ภาษาสเปน แปลว่า เด็กผู้หญิง)
รูปมหาสมุทรแปซิฟิก
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
รูปปรากฏการณ์ เอลนิโย และลานีญา
วิดีโออธิบายปรากฏการณ์เอลนีโญ และลานีญา
เป็นปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงไปของสภาพอากาศที่เกิดขึ้นรบกวนภูมิภาคมหาสมุทรแปซิฟิก จากการวิเคราะห์ปรากฏการณ์เหล่านี้จะเกิดขึ้นเฉลี่ยทุก ๆ 5 ปี
ในปรากฏการณ์เอลนีโญนั้น ก็คือ การเกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำทะเลของมหาสมุทรแปซิฟิกทางภาคตะวันออก โดยน้ำทะเลจะมีความอุ่นขึ้นแบบผิดปกติ
ส่วนปรากฏการณ์ลานีญานั้น ก็คือการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันออก ซึ่งน้ำทะเลจะมีความเย็นแบบผิดปกติ ซึ่งจะตรงข้ามกับเอลนีโญ
ปรากฏการณ์เหล่านี้เป็นเหตุให้เกิดพายุทอร์นาโด, น้ำท่วม และความแห้งแล้ง การละลายของน้ำแข็งขั้วโลก ทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น และอาจทำให้เกิดน้ำท่วมถาวรแก่พื้นที่ที่ติดชายฝั่งทะเล และบางครั้งอาจกลืนประเทศทั้งประเทศเลยก็ได้ สิ่งเหล่านี้ซึ่งเป็นผลที่ได้ผลที่ได้จากการเกิดจากภาวะโลกร้อน
รูปการเกิดพายุทอร์นาโด
วิดีโอพายุทอร์นาโด
รูปการเกิดน้ำท่วม
รูปการละลายของน้ำแข็งขั้วโลก
ที่นี้ลองมาดูคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ได้มาจากการเผาไหม้ของสารไฮโดรคาร์บอน และถ่านหิน ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ภาคการใช้งานหลัก ๆ อันได้แก่ คมนาคมขนส่ง (Transportation), ภาคอุตสาหกรรม (Industrial), ภาคครัวเรือน (Residential) และภาคเชิงพาณิชย์ (Commercial) สัดส่วนเป็นดังรูปด้านล่าง
รูปสัดส่วนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคต่าง ๆ
กราฟแสดงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศของโลกมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี
แนวโน้มการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศ ในภาคการขนส่งเกิดขึ้นอย่างเห็นได้อย่างชัดเจน ในประเทศกำลังพัฒนา (รวมประเทศไทยด้วย) ก็ยิ่งเพิ่มขึ้นอย่างมาก และรวดเร็ว
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมากที่ปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศ จากกิจกรรมของมนุษย์มีส่วนทำให้อุณหภูมิของโลกมีเพิ่มขึ้นโดยสังเกตได้จากช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ดูในกราฟ
กราฟแสดงอุณหภูมิบรรยากาศของโลก
การศึกษาถึงการปล่อยออกมาของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ ก็เพื่อที่จะทำให้ทราบถึงปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่จะถูกสังเคราะห์แสงโดยพืชพันธ์ และถูกแยกโมเลกุลไปตามมหาสมุทรในรูปแบบของเกลือคาร์บอเนต (Carbonates)
ถึงอย่างไร กระบวนการเหล่านี้ที่ดูดซึมตามธรรมชาติมีอย่างจำกัด และไม่สามารถดูดซึมได้ทั้งหมด เมื่อเทียบกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมา จึงทำให้เกิดการสะสมของคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลก
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“คนที่ผัดวันประกันพรุ่งมีแต่ความเสื่อม
Those who procrastinate meet only with failure.”
หัตถิปาลชาดก / Hatthipalajataka