1.1.3 ไฮโดรคาร์บอนที่เผาไหม้ไม่หมด
ไฮโดรคาร์บอนที่เผาไหม้ไม่หมด (Unburned Hydrocarbons) เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของสารไฮโดรคาร์บอน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับธรรมชาติของสารนั้น ๆ ไฮโดรคาร์บอนที่เผาไหม้ไม่หมดอาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต บางคนถูกสารไฮโดรคาร์บอนที่เผาไหม้ไม่หมดได้รับพิษโดยตรง อาจเป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็ง (Cancer) จากสารไฮโดรคาร์บอนที่แปรสภาพเป็นสารก่อมะเร็ง (Carcinogenic)
รูปควันรถยนต์ที่เกิดการเผาไหม้ไม่หมดจด
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
รูปเซลล์มะเร็ง
สารเคมีที่อาจเป็นสารก่อให้เกิดมะเร็ง อาทิเช่น ฝุ่นละออง, น้ำมันเบนซิน (แก๊สโซลีน), น้ำมันดีเซล ฯลฯ สารไฮโดรคาร์บอนที่เผาไหม้ไม่หมดที่เป็นรูปแบบควัน จะถูกรังสีอัลตราไวโอเล็ตที่แผ่มาจากดวงอาทิตย์มากระทำปฏิกิริยากับ ไฮโดรคาร์บอนที่เผาไหม้ไม่หมด และไนตริกออกไซด์ (NO) ในชั้นบรรยากาศมาในรูปแบบโอโซน (Ozone:O3) และสารอื่น ๆ
โอโซนเป็นโมเลกุลของออกซิเจนรูปแบบหนึ่งแต่มีอะตอม 3 ตัว มันไม่มีสีแต่อันตรายมาก และเป็นพิษซึ่งสามารถทำลายเซลล์ของสิ่งมีชีวิตได้ เมื่อเจอเช่นนี้ เป็นสาเหตุให้สิ่งมีชีวิต ไม่ว่าคน หรือสัตว์อายุจะไม่ยืน อาจตายก่อนกำหนด ส่วนที่ยังไม่ตายก็จะต้องทนทุกข์ทรมานต่อโรคหอบหืดอย่างมากจากการสัมผัสโอโซนที่มีความเข้มข้นสูง ทุก ๆ ปีจะมีรายงานถึงผู้เสียชีวิตจากการได้รับโอโซนที่สูงจากในเมืองที่มีแต่มลพิษ
วิดีโอแสดงแนวทางการลดมีเทน, ไฮโดรคาร์บอนที่เผาไหม้ไม่หมด และโอโซน
1.1.4 มลพิษอื่น ๆ
สิ่งที่เจือปน และถูกผสมอยู่ในน้ำมันเชื้อเพลิงนั้น ก็เป็นผลอย่างหนี่งในการปล่อยออกมาของมลพิษ สารเจือปนที่สำคัญก็คือ กำมถัน (Sulfur) ซึ่งพบส่วนใหญ่ในน้ำมันดีเซล และน้ำมันเครื่องบินเจ็ท ส่วนในแก๊สโซลีน และแก๊สธรรมชาติก็มีเหมือนกัน
การเผาไหม้กำมะถัน (หรือสารประกอบกำมะถัน เช่น ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (Hydrogen sulfide)) พร้อมกับออกซิเจนจะส่งผลออกมาในรูปแบบ ซัลเฟอร์ออกไซด์ (Sulfur oxides: SOx), ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide: SO2) เป็นผลที่สำคัญจากการเผาไหม้นี้ แล้วเมื่อมันสัมผัสกับอากาศ มันจะเป็นซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ (Sulfur trioxide: SO3) ซึ่งจะทำปฏิกิริยากับน้ำในรูปแบบของกรดกำมะถัน ซึ่งก็เป็นส่วนประกอบหลักของฝนกรด
รูปวัฏจักรของกำมะถัน หรือซัลเฟอร์
รูปต้นไม้ที่โดนฝนกรดทำลาย
ควรจะตั้งข้อสังเกตว่าการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดอออกไซด์ ไม่เพียงแต่ออกมาจากแหล่งคมนาคมขนส่งเพียงเท่านั้น แต่มันยังได้มาจากการเผาไหม้ของถ่านหินในโรงไฟฟ้า และโรงถลุงเหล็ก นอกจากนี้ยังเกิดจากธรรมชาติ เช่น เกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟ
รูปการระเบิดของภูเขาไฟก็มีส่วนในการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ออกมาด้วย
บริษัทที่ผลิตปิโตรเลียมได้เพิ่มสารประกอบทางเคมีเช่น กำมะถันก็เพื่อ ให้เชื้อเพลิงเหล่านั้นมีคุณภาพดีขึ้น หรือยืดอายุการใช้งานให้กับเครื่องยนต์ จนนำไปสู่การเกิด ตะกั่วอนุมูลสี่ (TetraEthyl lead:TEL) มักจะเรียกง่าย ๆ ว่าตะกั่ว (Lead) การใช้เพื่อปรับปรุงเครื่องยนต์แก๊สโซลีนให้มีความต้านทานต่อการน็อค จึงมีความจำเป็นที่จะยอมใส่เพื่อให้สมรรถนะของเครื่องยนต์ดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม การเผาไหม้ของสารเคมีนี้ได้ปล่อยโลหะหนักนั่นก็คือตะกั่วออกมา ซึ่งมีผลต่อโรคทางระบบประสาทที่เรียกว่า โรคสารพิษตะกั่ว (Saturnism) ในประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นสิ่งต้องห้าม ซึ่งก็ได้ใช้สารเคมีอื่นมาทดแทน
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“เรียนรู้จากวันวาน มีชีวิตอยู่เพื่อวันนี้ มีความหวังเพื่อวันพรุ่งนี้”
ไอน์สไตน์