1.1.1 ไนโตรเจนออกไซด์
ไนโตรเจนออกไซด์ เป็นผลที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างไนโตรเจน กับออกซิเจนในอากาศ ในทางทฤษฏีแล้ว ไนโตรเจนมีคุณสมบัติเป็น ก๊าซเฉื่อย (Inert gas) ถึงอย่างไรเมื่อไนโตรเจนถูกอุณหภูมิ และความดันที่สูงในเครื่องยนต์ จนทำให้เกิดการสร้างสภาวะที่ก่อให้เกิดไนโตรเจนออกไซด์ อุณหภูมิ และความดันเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้ไนโตรเจนกลายไปเป็นไนโตรเจนออกไซด์ ส่วนใหญ่มักจะเป็นรูปแบบ ไนตริกออกไซด์ (Nitric Oxide: NO) แล้วมีส่วนน้อยที่จะเป็น ไนตรัสออกไซด์ (Nitrous Oxide: N2O)
รูปจำลองโมเลกุลไนตริกออกไซต์, ไนตรัสออกไซต์ และไนโตรเจนออกไซต์
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
นอกจากนี้ เมื่อไนตริกออกไซด์ ออกไปสู่ชั้นบรรยากาศ จะไปทำปฏิกิริยากับออกซิเจนจึงออกมาในรูปแบบ NO2 จากนั้นก็ถูกย่อยสลายในภายหลัง เมื่อโดนรังสีอัลตราไวโอเลตของดวงอาทิตย์กลับไปเป็นไนตริกออกไซด์เหมือนเดิม และเมื่ออะตอมของมันสัมผัสกับเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตจะเกิดปฏิกิริยาต่อเนื้อเยื่อ
ควันของไนโตรเจนออกไซด์ จะมีสีน้ำตาลเป็นควันพิษ มันจะทำปฏิกิริยากับน้ำในชั้นบรรยากาศ จนกระทั่งเกิดเป็นกรดในรูปแบบของ กรดไนตริก (Nitric acid: HNO3) ซึ่งจะเจือจางอยู่ในน้ำฝน นี้เองที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ของ ฝนกรด (Acid rain)
รูปวัฏจักรของการเกิดฝนกรด
รูปผลกระทบจากฝนกรดที่ทำลายธรรมชาติ
รูปฝนกรดที่ทำลายธรรมชาติ
ส่งผลไปถึงการทำลายป่า ซึ่งสาเหตุมักจะมาจากอุตสาหกรรม และการปล่อยออกมาของเครื่องยนต์ ฝนกรดจะทำให้เกิดการกัดกร่อนต่อวัสดุ เช่นเหล็ก และวัสดุที่ไม่ทนต่อการกัดกร่อน
รูปฝนกรดทำลายวัสดุที่ไม่ทนทานต่อการกัดกร่อน
วิดีโอฝนกรด และผลกระทบของมัน
1.1.2 คาร์บอนมอนอกไซด์
รูปไอเสียที่ปล่อยออกมามักจะมีสารคาร์บอนมอนอกไซด์ออกมาด้วยถ้าการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์
รูปเปลวไฟที่กำลังลุกก็มีสารคาร์บอนมอนอกไซด์
คาร์บอนมอนอกไซด์เป็นผลที่ได้จากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของสารไฮโดรคาร์บอนอันเนื่องมาจากออกซิเจนไม่เพียงพอ มันเป็นพิษต่อมนุษย์ เมื่อมนุษย์ หรือสัตว์สูดดมเข้าไป ทันทีที่คาร์บอนมอนอกไซด์ เข้าสู่ เม็ดเลือด (Blood cells) มันจะขัดขวางไว้เพื่อไม่ให้ เซลล์เม็ดเลือดแดง (Hemoglobin) ได้รับออกซิเจน
รูปจำลองผลของคาร์บอนมอนอกไซด์ปิดกั้นเซลล์เม็ดเลือดแดง ไม่ให้ได้รับออกซิเจน
รูปเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีสารคาร์บอนมอนอกไซด์มาเกาะ
ดังนั้น ปริมาณที่ลดลงของออกซิเจนในร่างกาย จะส่งผลถึงเลือดที่จะไปหล่อเลี้ยงทุกอวัยวะทั้งหมดให้มีความผิดปกติ และการลดประสิทธิภาพการทำงานของร่างกาย อีกทั้งยังรวมไปถึงความสามารถทางด้านจิตใจ มีผลต่อการดำรงชีวิต
รูปพิษของคาร์บอนมอนอกไซด์ ปวดหัว, คลื่นเหียน, วิงเวียนศีรษะ, หายใจขัด, ฟุบ, หมดสติ
อาการของสิ่งมีชีวิตหลังจากที่ได้รับพิษจากคาร์บอนมอนอกไซด์ อาการเริ่มแรกจะเกิดการเวียนหัว, คลื่นเหียนอาเจียน, วิงเวียนศีรษะ, หายใจติดขัด, ฟุบ และหมดสติ หรือเลวร้ายก็อาจจะตายได้ในเวลาไม่นาน
คาร์บอนมอนอกไซด์จะเข้าไปจับกับ ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin: สารสีแดงของเม็ดเลือดแดง) มากกว่าออกซิเจน ทำให้ร่างกายลดความแข็งแกร่งลง เกิดการเมาคาร์บอนมอนอกไซด์ ผู้ที่ได้รับพิษจากคาร์บอนมอนอกไซด์ต้องได้รับการฟื้นฟูในห้องปรับแรงดัน เพราะความดันทำให้พันธะเคมีของคาร์บอนมอนอกไซด์ที่เกาะตัวในฮีโมโกลบินถูกทำลายได้ง่าย
วิดีโอแสดงให้เห็นพิษของสารคาร์บอนมอนอกไซด์
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“มิตรภาพอาจต้องใช้เวลาสร้างหลายปี
แต่การทำลาย อาจทำได้ในนาทีเดียว ถ้าไม่ระวังวาจา”