ที่จุดของความเร็วพื้นฐาน แรงดันไฟฟ้าของมอเตอร์ยังอยู่ในช่วงของแหล่งแรงดันไฟฟ้าปกติ หลังจากพ้นที่ความเร็วพื้นฐานแล้ว แรงดันไฟฟ้าของมอเตอร์ก็ยังรักษาความคงที่ แต่การไหลของฟลักซ์จะอ่อนลง ลดเส้นโค้งไฮเปอร์โบล่า (Hyperbolically) ด้วยความเร็วที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นคือ แรงบิดของมันจะลดน้อยลง แต่กลับมีความเร็วที่เพิ่มขึ้น
รูปที่ 15.17 กราฟข้อมูลความเร็ว-แรงบิดของมอเตอร์ไฟฟ้า ขนาด 60 กิโลวัตต์ ที่มีค่า x = 2, 4 และ 6
ที่มา: https://uppic.cc
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
สนใจหนังสือ และความรู้ของผู้เขียน
เรื่องอื่น ๆ มีทั้งโหลดได้ฟรี และราคาถูก นอกเหนือจากนี้
คลิก
มีหนังสือ ยานยนต์สมัยใหม่ (Modern vehicles) 2
ทำเป็นเล่ม อีบุ๊ค เพื่อสนับสนุนเว็บไซต์
รูปหน้าปกหนังสือ
สามารถโหลดอ่านตัวอย่างก่อนซื้อได้เลยครับ ฟรี
หากผู้อ่านสนใจ
คลิก
จากรูปที่ 15.17 เป็นกราฟแสดงข้อมูลของแรงบิด-ความเร็วของมอเตอร์ขนาด 60 กิโลวัตต์ ด้วยอัตราส่วนความเร็ว x (x = 2, 4 และ 6) ที่มีความแตกต่างกัน
ชัดเจนว่าบริเวณกำลังงานคงที่จะยาวขึ้น ทำให้แรงบิดสูงสุดของมอเตอร์สามารถเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้ความเร่งของยานยนต์ กับประสิทธิภาพในการไต่ทางลาดชัน จะดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม มอเตอร์แต่ละประเภท ก็จะมีอัตราขีดจำกัดความเร็วสูงสุดอยู่ตามปกติวิสัยของมัน ยกตัวอย่างเช่น มอเตอร์ที่ใช้แม่เหล็กถาวร จะมีค่า x น้อยมาก (<2) เพราะว่ามีสนามแม่เหล็กที่อ่อนกว่า อันเนื่องจากเป็นแม่เหล็กถาวร (สนามแม่เหล็กคงที่)
ส่วนมอเตอร์แบบสวิตซ์รีลักซ์แทนซ์ (Switched reluctance motor) (มอเตอร์ที่ขดลวดอยู่บนสเตเตอร์) จะมีค่าไปถึง x > 6 และมอเตอร์เหนี่ยวนำจะมีค่าประมาณ x = 4
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“ เงิน
คือ กระดาษที่คมมาก
สามารถตัดได้ทั้งญาติ มิตร เพื่อน และความถูกต้อง
Money is very sharp paper. Can cut off relatives, friends, and righteousness.”
ว.กันตวิโร
<หน้าที่แล้ว สารบัญ
|