15.2 ประสิทธิภาพของยานยนต์ไฟฟ้า
ประสิทธิภาพในการขับขี่ยานยนต์ ประเมินได้จากความเร่ง, ความเร็วสูงสุด และการไต่ทางชัน (Gradeability) ในการออกแบบระบบขับเคลื่อนยานยนต์ไฟฟ้า ใช้อัตรากำลังงานมอเตอร์ และการส่งกำลังได้อย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นการพิจารณาเบื้องต้น ตามข้อกำหนดประสิทธิภาพ
ในการออกแบบพารามิเตอร์เหล่านี้ขึ้นอยู่กับ ลักษณะของความเร็ว – กำลังงาน (แรงบิด) ของมอเตอร์ขับเคลื่อน ตามที่ได้กล่าวไว้ในแรก และจะได้อธิบายต่อในบทนี้
15.2.1 ลักษณะของมอเตอร์ขับเคลื่อน
การขับเคลื่อนของมอเตอร์จะมีความเร็วที่หลากหลาย โดยปกติแล้วแสดงให้เห็นดังในรูปที่ 15.15
รูปที่ 15.15 กราฟของมอเตอร์ไฟฟ้าที่หลากหลายความเร็ว
ที่มา: https://uppic.cc
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
สนใจหนังสือ และความรู้ของผู้เขียน
เรื่องอื่น ๆ มีทั้งโหลดได้ฟรี และราคาถูก นอกเหนือจากนี้
คลิก
มีหนังสือยานยนต์สมัยใหม่ (Modern Vehicles) 1
ทำเป็นเล่ม อีบุ๊ค เพื่อสนับสนุนเว็บไซต์
รูปหน้าปกหนังสือ
สามารถโหลดอ่านตัวอย่าง ก่อนซื้อได้เลยครับ ฟรี
หากผู้อ่านสนใจ
คลิก
จากกราฟ ที่บริเวณความเร็วต่ำ (น้อยกว่าความเร็วฐาน (Base speed) ดูในรูปที่ 15.15) มอเตอร์มีแรงบิดคงที่ ส่วนในบริเวณความเร็วสูง (สูงกว่าความเร็วฐาน) มอเตอร์จะมีกำลังงานคงที่
กราฟนี้โดยปกติแสดงโดยอัตราส่วนความเร็ว x ซึ่งกำหนดให้เป็นอัตราของความเร็วสูงสุดต่อความเร็วพื้นฐาน ในการทำงานที่ความเร็วต่ำ แรงดันไฟฟ้าที่จ่ายที่มอเตอร์เพิ่มขึ้น พร้อมกับความเร็วรอบเพิ่มขึ้นด้วย อันเนื่องจากการทำงาน คอนเวอร์เตอร์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic converter) ขณะที่การไหลฟลักซ์ (Flux) ยังรักษาการคงที่
รูปที่ 15.16 ตัวอย่างวงจรอิเล็กทรอนิกส์ในยานยนต์ไฟฟ้า
ที่มา: https://www.researchgate.net
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“ ชีวิตที่ไร้ซึ่งความกลัว
คือชีวิตที่ไร้ซึ่งขีดจำกัด
Once you become fearless life become limitless.”
Jobthai
<หน้าที่แล้ว สารบัญ หน้าต่อไป>