นอกจากนี้ ยังทำงานร่วมกับหน่วยเติมพลังงานเพื่อควบคุมการเติมประจุไฟฟ้า และเพื่อตรวจสอบการใช้งานของแหล่งพลังงาน ในการใช้งานของพลังงานในด้านต่าง ๆ จนทำให้ระดับพลังงานเกิดความแตกต่างกันในยานยนต์ไฟฟ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมอุณหภูมิ กับความชื้น และหน่วยบังคับเลี้ยว
ลักษณะของการขับเคลื่อนไฟฟ้า และแหล่งพลังงาน มีอยู่มากมายหลายรูปแบบ ที่เป็นไปได้ของยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งสามารถดูได้ในรูปที่ 15.8
รูปที่ 15.8 การกำหนดตำแหน่งมอเตอร์ ระบบเกียร์ในยานยนต์ไฟฟ้าที่เป็นไปได้
ที่มา: https://uppic.cc
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
สนใจหนังสือ และความรู้ของผู้เขียน
เรื่องอื่น ๆ มีทั้งโหลดได้ฟรี และราคาถูก นอกเหนือจากนี้
คลิก
มีหนังสือ ยานยนต์สมัยใหม่ (Modern vehicles) 2
ทำเป็นเล่ม อีบุ๊ค เพื่อสนับสนุนเว็บไซต์
รูปหน้าปกหนังสือ
สามารถโหลดอ่านตัวอย่างก่อนซื้อได้เลยครับ ฟรี
หากผู้อ่านสนใจ
คลิก
ก) รูปที่ 15.9 แสดงลักษณะของการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า โดยใช้มอเตอร์ไปติดตั้งแทนที่เครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน ซึ่งเป็นระบบขับเคลื่อนของยานยนต์แบบปกติ ระบบนี้ประกอบไปด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า, คลัตช์, กระปุกเกียร์ และเฟืองท้าย
รูปที่ 15.9 มีคลัตช์ เกียร์ และเฟืองท้าย
ที่มา: http://nptel.ac.in
คลัตช์ และกระปุกเกียร์อาจจะเปลี่ยนไปใช้เป็นเกียร์อัตโนมัติแทนได้ คลัตซ์มีหน้าที่ตัด / ต่อกำลังงานของมอเตอร์ไฟฟ้าจากการขับที่ล้อ
กระปุกเกียร์จะมีชุดเฟืองอยู่มีอัตราส่วนการทดที่เปลี่ยนไปตามความเร็ว-กำลังงาน (แรงบิด) ส่วนเฟืองท้ายเป็นอุปกรณ์ทางกล (ปกติเป็นชุดเฟืองสุริยะ) ซึ่งสามารถขับเคลื่อนล้อทั้งสองข้างที่ได้ความเร็วแตกต่างกันเมื่อยานยนต์ขณะทำงาน ในตอนวิ่งเข้าโค้ง หรือตกหล่ม
ข)ในรูปที่ 15.10 ทำงานร่วมกับมอเตอร์ไฟฟ้าที่มีกำลังงานคงที่ใช้ความเร็ว ใช้งานได้อย่างยาวนาน เกียร์อาจใช้กระปุกเกียร์แบบหลากหลายความเร็ว และลดการใช้งานของคลัตช์ ลักษณะนี้ไม่เพียงแต่ทำให้ลดขนาด และน้ำหนักของการส่งกำลังทางกลเท่านั้น มันยังง่ายต่อการควบคุมการขับอีกด้วย เพราะว่าไม่มีความจำเป็นในเรื่องการเปลี่ยนเกียร์
รูป 15.10 ไม่มีคลัตช์ และเกียร์
ที่มา: http://nptel.ac.in
ค)ในรูปที่ 15.11 เป็นไปในทำนองเดียวกันกระบวนการขับเกียร์ในข้อ (ข) มอเตอร์ไฟฟ้ามีเกียร์ตายตัว และเฟืองท้าย ซึ่งนำมาผสมรวมกันเป็นหนึ่ง มีแกนคู่เพื่อใช้ขับเคลื่อนล้อ การขับเคลื่อนที่สมบูรณ์ทำได้ง่าย และมันมีขนาดเล็กกะทัดรัด
รูปที่ 15.11 ระบบขับหน้า มีคลัตช์ เกียร์ และเฟืองท้าย
ที่มา: http://nptel.ac.in
ง) ในรูปที่ 15.12 ใช้มอเตอร์ขับสองตัว เพื่อขับล้อแต่ละข้าง มันยังสามารถทำงานได้ด้วยความเร็วรอบที่แตกต่างกัน ในขณะที่รถยนต์วิ่งเข้าโค้ง หรือตกหล่ม
รูปที่ 15.12 ระบบขับหน้า แต่แยกส่วนการขับ
ที่มา: http://nptel.ac.in
จ) รูปที่ 15.13 เพื่อให้เกิดความง่ายในการขับเคลื่อน อาจนำมอเตอร์ขับไปวางติดตั้งอยู่ภายในล้อเลย ซึ่งรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ในปัจจุบันมักนิยมใช้วิธีการนี้ มีชุดเฟืองสุริยะทำงานเพื่อให้มีขนาดเล็กลง และแรงบิดมอเตอร์ถูกปรับปรุงให้ดีขึ้น ชุดเฟืองสุริยะนอกจากมีประโยชน์จากการทดอัตราเร็วรอบได้สูงแล้ว ยังมีการจัดการแบบอินไลน์ของขาเข้า และขาออกของเพลาอีกด้วย
รูปที่ 15.13 ระบบขับหน้า มีมอเตอร์ และล้อเป็นกลไกเกียร์
ที่มา: http://nptel.ac.in
ฉ)รูปที่ 15.14 สามารถตัดทิ้งระบบเกียร์ทางกลใด ๆ ได้อย่างสมบูรณ์ ระหว่างมอเตอร์ไฟฟ้า และการขับที่ล้อ โรเตอร์ขาออกของมอเตอร์ไฟฟ้าที่ความเร็วรอบต่ำขับที่ล้อ แล้วสามารถเชื่อมต่อโดยตรงเพื่อขับล้อ ควบคุมความเร็วรอบของมอเตอร์ไฟฟ้าเทียบเท่ากับควบคุมของความเร็วรอบล้อ และความเร็วของรถยนต์ อย่างไรก็ตามการจัดเรียงนี้ต้องใช้มอเตอร์ไฟฟ้าที่มีแรงบิดที่สูงเพื่อสตาร์ท และสร้างอัตราเร่งรถยนต์
รูปที่ 15.14 มอเตอร์ประกอบเป็นล้อ ไม่มีเฟือง
ที่มา: http://nptel.ac.in
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“ สิ่งที่กำลังเข้ามาหาเรา
ย่อมดีกว่า สิ่งที่จากเราไปแล้ว
What is coming is better than what is gone.”
Arabic Proverb
<หน้าที่แล้ว สารบัญ หน้าต่อไป>