รูปอุปกรณ์ทำงานไฟฟ้าสถิตแบบโรตารี่
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
การกำหนดค่าที่พบมากที่สุดของ อุปกรณ์ทำงานไฟฟ้าสถิตแบบโรตารี่ (Rotary electrostatic actuators) คือ มอเตอร์ความจุผันแปร ดูที่รูปด้านล่าง
รูปมอเตอร์ไฟฟ้าสถิตประเภทความจุผันแปร คู่ตรงข้ามของอิเล็กโทรดเป็นลำดับพลังงานเพื่อหมุนตัวโรเตอร์
และมอเตอร์ขับโยกเยก (Wobble) หรือแบบฮาร์โมนิกส์ (Harmonic) ซึ่งดูได้ที่รูปด้านล่าง
รูปมอเตอร์ไฟฟ้าสถิตชนิดฮาร์โมนิกส์ อิเล็กโทรดที่อยู่ติดกันจะถูกกระตุ้นตามลำดับเพื่อหมุน (ฉนวน) โรเตอร์รอบสเตเตอร์
มอเตอร์ทั้งสองทำงานคล้ายกับอุปกรณ์ทำงานเชิงเส้นขับแบบหวี มอเตอร์ความจุผันแปรมีลักษณะการทำงานรอบสูง แรงบิดต่ำ ระดับใช้งานของแรงบิดในการทำงานส่วนใหญ่มีความจำเป็นที่จะต้องมีรูปแบบของการส่งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นสำคัญ ซึ่งไม่ได้มีอยู่ในปัจจุบัน
โรเตอร์ของมอเตอร์โยกเยก (Wobble motor) ทำงานโดยการกลิ้งไปตามสเตเตอร์ ซึ่งมีการส่งผ่านแบบการขับฮาร์โมนิกส์ และดังนั้นเป็นอัตราส่วนการส่งผ่านที่สำคัญ (ตามลำดับหลายร้อยครั้ง)
โปรดทราบว่าโรเตอร์ต้องมีการหุ้มด้วยฉนวนเพื่อหมุนไปตามสเตเตอร์โดยจะไม่มีการสัมผัสกันทางไฟฟ้า ข้อเสียของวิธีนี้คือการเคลื่อนที่ของโรเตอร์ที่ไม่เป็นจุดศูนย์กลางกับสเตเตอร์ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาที่ยากต่อการต่อพ่วงโหลดกับเพลาไมโครที่มีความยากยิ่งขึ้น
วิดีโอแสดงตัวอย่างการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้าสถิต
ตัวอย่างอุปกรณ์ทำงานไฟฟ้าแบบเส้นตรง หรือเชิงเส้น
รูปตัวอย่างอุปกรณ์ทำงานไฟฟ้าแบบเชิงเส้น
ตัวอย่างอุปกรณ์ทำงานแบบขับหวี
รูปตัวอย่างอุปกรณ์ทำงานแบบขับหวี
ตัวอย่างมอเตอร์ไฟฟ้าสถิตโรตารี่ความจุผันแปร
รูปตัวอย่างมอเตอร์ไฟฟ้าสถิตโรตารี่ความจุผันแปร
ตัวอย่างมอเตอร์ขับฮาร์โมนิกส์
รูปตัวอย่างมอเตอร์ขับแบบฮาร์โมนิกส์
อุปกรณ์ทำงานแบบไฟฟ้าสถิตไมโครยังคงเป็นเรื่องของงานวิจัย และพัฒนาที่น่าสนใจ ซึ่งอาจจะยังไม่มีออกมาในรูปแบบเชิงพาณิชย์
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“สิ่งที่ซ่อนอยู่ในความยิ่งใหญ่ของคน
คือ ความรู้
The sovereignty of man lies hidden
is knowledge”
<หน้าที่แล้ว สารบัญ หน้าต่อไป>