มีอย่างหนึ่ง ที่จะทำให้เกิดความแตกต่าง คือจำนวนการเข้าถึงรีจีสเตอร์ได้โดยตรง และมีประเภทของหน่วยความจำรหัส (ตั้งแต่ 1 – 128 KB) ที่มีความสำคัญ ที่มองจากมุมของนักพัฒนาเฟิร์มแวร์ (Firmware)
หน่วยความจำแฟลชช่วยให้เกิดการอ่านอย่างรวดเร็ว ถึงแม้จะอยู่ใน ระบบการเขียนโปรแกรม (In-System Programming: ISP) โดยจะมีการใช้สายไฟเพียง 3 – 5 เส้นในการส่งถ่ายข้อมูล
รูปตัวอย่างชิปอีพร้อม
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
ขณะที่ อีพร้อม (EPROM) ส่งผลทำให้ชิปมีราคาแพงมากขึ้นเนื่องจาก มีวงจรซับซ้อนเป็นพื้นฐาน และเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ทำมาจากเซรามิค ที่มีอยู่ในบางรุ่นของไมโครคอนโทรลเลอร์
มีการสร้าง ตัวบู๊ตภายใน (Built-in boot) และมีความสามารถในการแก้ปัญหาในการโหลดโค๊ดจากคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลไปยังหน่วยความจำแฟลช โดยมีการใช้ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ รับ/ส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัส หรือยูเออาร์ที (Universal Asynchronous Receiver/Transmitter: UART) และมีการใช้สายอนุกรมอาร์เอส – 232ซี (RS-232C)
รูปตัวอย่างยูเออาร์ที
การโปรแกรมช่วงเวลาหนึ่ง หรือโอทีพี (One Time Programmable: OTP) ก็มีตัวอีพร็อม หรือรอมติดตั้งอยู่ ทำให้เกิดมีการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ที่สามารถนำไปใช้ในชุดการผลิตขนาดใหญ่ อาจมีข้อมูลที่ลงในอีอีพร็อม (จาก 64 B ถึง 4 KB)
สำหรับค่าคงที่ในการสอบเทียบ, ตารางพารามิเตอร์, การจัดเก็บข้อมูลสถานะ และรหัสผ่าน สามารถเขียนโปรแกรมได้โดยเฟิร์มแวร์ เหมือนกับมาตรฐานการเขียนใน เอสแรม (SRAM) (จาก 32 B – 4 KB)
รูปตัวอย่างวงจรโอทีพีพร้อมลำโพง
ช่วงงานของการนำอุปกรณ์ที่ต่อพ่วงมาประกอบ มันมีขอบเขตกว้างมาก ทุก ๆ ชิปจะมีสองทิศทาง ทั้งขาเข้า / ขาออก (I/O) มีการทำงานในรูปแบบ 8 –บิต แต่นอกเหนือจากนี้ พวกมันก็จะมีฟังชันก์อื่นเสริมด้วย ชิปบางอย่างสามารถตั้งค่าเพื่อใช้เป็นระดับการตัดสินใจในการป้อนข้อมูล (TTL, MOS หรือ สมิตทริกเกอร์ (Schmitt trigger))
รูปตัวอย่างผังวงจรสมิตทริกเกอร์ ออป – แอมป์
และแหล่งกระแสที่สามารถดึงขึ้น หรือดึงลงได้ อาจมีไดรว์เวอร์ขาออกที่มีความแตกต่างกันของ ตัวสะสมเปิด หรือวงจรไตรสเตท (Tri-state) และมีกระแสสูงสุด
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
ร่วมน้อมรำลึกถึง คำพ่อสอน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต
“ผู้หนักแน่นในสัจจะ พูดอย่างไรทำอย่างนั้น
จึงจะได้รับความสำเร็จ
พร้อมทั้งความศรัทธา เชื่อถือ
และความยกย่องสรรเสริญจากคนทุกฝ่าย
การพูดแล้วทำ คือพูดจริงทำจริง
จึงเป็นปัจจัยสำคัญ
ในการส่งเสริมเกียรติคุณของบุคคลให้เด่นชัด”
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๔๐
ขอน้อมส่งพระองค์สู่สวรรคาลัย
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ