3.7.4 ไมโครคอนโทรลเลอร์ระบบเครือข่าย
มีอีกอย่างหนึ่งในหัวข้อท้าย ๆ ที่ควรจะกล่าวถึงส่วนนี้ ในเรื่องของด้านขาเข้า และขาออกระบบแมคาทรอนิกส์มักจะทำงานร่วมกับระบบอื่น ๆ ในเครือข่าย
ข้อมูล และคำสั่งจะถูกส่งจากระบบหนึ่งไปยังอีกระบบอื่น ๆ ขณะที่มี โปรโตรคอล (Protocols) แตกต่างกัน มีการใช้งานทั้งแบบเปิดให้ใช้กว้างขวางของฟรี และแบบมีลิขสิทธิ์ ที่จะกล่าวเกี่ยวกับเครือข่ายเหล่านี้ เพราะทั้งสองเหล่านี้จะตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ที่นำไปใช้งาน
อันดับแรกคือโปรโตรคอลการผลิตอัตโนมัติ (Manufacturing Automation
Protocol: MAP)
รูปตัวอย่างเอ็มเอพี
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
ซึ่งได้ถูกพัฒนาโดยบริษัทเจนเนอรัลมอเตอร์ ระบบนี้ขึ้นอยู่กับ การจำลองระบบเปิดเชื่อมโครงข่ายไอเอสโอ (Open Systems Interconnection: OSI) ถูกออกแบบมาใช้งาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การบูรณาการคอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิต หรือซิม (Computer Integrated Manufacturing: CIM) และพีแอลซี
รูปตัวอย่างระบบซิม
อันดับที่สอง เครือข่ายพื้นที่ควบคุม หรือแคนบัส (Controller Area Network: CAN) เป็นมาตรฐานสำหรับการสื่อสารแบบอนุกรมซึ่งพัฒนาโดย โรเบิร์ต บ๊อซ (Robert Bosch GmbH) เป็นระบบฝังตัวที่มีใช้อยู่ในยานยนต์สมัยใหม่
รูปแคนบัส หรือเครือข่ายพื้นที่ควบคุมที่ใช้ในยานยนต์
รูปแคนบัส
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
ขออัญเชิญพระบรมราโชวาท
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
“เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต
รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็ม
ที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม
แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็มและลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป”
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากวารสารชัยพัฒนาประจำเดือนสิงหาคม ๒๕๔๒
|