บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 44
เมื่อวาน 2,429
สัปดาห์นี้ 8,703
สัปดาห์ก่อน 11,634
เดือนนี้ 36,938
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,381,435
  Your IP :3.137.174.216

3.6 ไมโครโปรเซสเซอร์ควบคุมเชิงตัวเลข

 

3.6.1 คณิตศาสตร์จุดคงที่ (Fixed-Point Mathematics)

 

      ไมโครโปรเซสเซอร์ที่เป็นแบบตัวควบคุมฝังตัว โดยทั่วไปจะมีขนาดเล็กมาก เมื่อเทียบกับไมโครโปรเซสเซอร์ใน คอมพิวเตอร์พีซี (Personal Computer: PC) หรือเครื่องคอมพิวเตอร์เวิร์คสเตชั่น (Computer workstation) ซึ่งมันมีความสามารถเพิ่มพลังการประมวลผลในรูปแบบของหน่วยประมวลผลแบบลอย (เปลี่ยนได้) และยังสามารถเพิ่มแรม รอม ที่อาจยังไม่ได้เป็นตัวเลือกที่แน่นอน ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน

 

รูปคอมพิวเตอร์

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      ซึ่งหมายความว่าบางครั้งฟังชันก์ทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน แล้วเรามีความจำเป็นต้องนำมาใช้งานในระบบควบคุม มันอาจยังไม่สามารถใช้งานได้ในทันที แต่บางครั้ง ค่าที่ถูกต้องกับความรู้สึก จะเหมาะสมกว่าค่าที่ได้จากการคำนวณ ถึงแม้ว่าตัวเลขจริงของการคิดคำนวณจะมีช่วงที่เหมาะสมก็ตาม

 

      ในสถานการณ์นี้ จะมีการใช้คณิตศาสตร์ในการคำนวณแบบพิเศษ ที่เรียกว่า คณิตศาสตร์จุดคงที่ (Fixed-Point Mathematics) โดยใช้งานผ่านไมโครคอนโทรลเลอร์เป็นแสดงตัวเลขเป็นจำนวนเต็มในการวางของจำนวนตัวเลขของจุดลอย (Floating-point numbers) ซึ่งจากการที่จากการคำนวณค่าอาจจะไม่ใช่ทั้งหมด (มีการหลอกค่า)

 

      ในทางคณิตศาสตร์ ที่มีใช้ในปัจจุบันมีอยู่หลายรูปแบบ รูปแบบที่ง่ายขึ้น เช่น ตัวเลขของ 2 ที่อยู่ในรูปแบบของการยกกำลัง นั่นก็คือ ตัวเลขจำนวนเต็มที่อยู่ในรูปแบบ เลขฐานสอง (Binary)

 

รูปตัวอย่างตัวเลขฐานสอง

 

      อย่างไรก็ดี จุดไบนารี่ หรือเลขฐานสองเสมือน จะถูกแทรกลงไปในจำนวนเต็ม ที่ยอมให้มีการประมาณค่าจริง และจะถูกเก็บไว้เป็นเลขจำนวนเต็ม มาตรฐานเลขฐานสองจะเป็น 8-บิต แล้วถูกคำนวณ จนกลายเป็นจำนวนเต็มของเลขฐานสิบ 

 

0001 0100 = (1*24) + (1*22) = (1*16) + (1*4) = 20

 

จากด้านบน สมมติว่าจุดไบนารี่ ที่มีขนาด 8 บิต จำนวนไบต์ถูกแทรกแบ่งออกเป็นสองส่วน ซึ่งเป็นตัวเลข 4 บิต ดูได้จากทางด้านซ้าย จากจุดไบนารี่เหล่านี้ เราก็จะทำการคำนวณให้เป็นเลขฐานสิบ ด้วยการบวกกันของเลขยกกำลังของ 2 และ 4 บิต จนกลายเป็นเลขฐานสิบทางด้านขวามือของจุดไบนารี่ ส่วนด้านล่างนี้ ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง

 

0001 0100 = (1*20) + (1*2-2) = (1*1) + (1*0.25) = 1.25

 

      วิธีนี้ยังมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง ความละเอียดของจุดคงที่ใด ๆ จะขึ้นอยู่ที่การกำจัดกำลังของ 2 ที่แนบมากับบิตที่มีสำคัญน้อยสุดทางด้านขวามือของเลข เช่นในกรณี 2-4 หรือ 1/16 หรือ 0.0625 สามารถปัดเศษได้เป็นบางครั้งเมื่อจำเป็น

 

      นอกจากนี้ยังมีการถ่วงดุลในความซับซ้อน ซึ่งตำแหน่งของจุดไบนารี่เสมือนนี้ ต้องทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง เมื่อทำการคำนวณ การเซฟจะมีการใช้หน่วยความจำ และเวลาการประมวลผล อย่างไรก็ดี วิธีการนี้ก็ยังคงมีใช้อยู่ ดังนั้นคณิตศาสตร์จุดคงที่ก็ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มาก

 

 

 

3.6.2 การสอบเทียบ

 

      พื้นที่ของการสอบเทียบระบบ บางครั้งเมื่อนำมาใช้กับสิ่งที่มีความสำคัญ อาจต้องใช้เวลา แล้วยิ่งถ้านำมาใช้ในการออกแบบระบบแมคาทรอนิกส์ ก็สมควรที่จะต้องมีการสอบเทียบระบบ การใช้งานการสอบเทียบ จะเป็นค่าตัวเลข และข้อมูลทางตรรกะ ที่ถูกเก็บไว้ในอีอีพร็อม หรือรอม ทำให้มีความสามารถในการยืดหยุ่นเพื่อการปรับแต่งระบบ และการดำเนินการ

 

      ยกตัวอย่างเช่น ถ้าความเร็วในไมโครโปรเซสเซอร์ในแต่ละรูปแบบ ที่ถูกนำมาใช้ในระบบแมคาทรอนิกส์อาจมีความแตกต่างกัน การสอบเทียบจะใช้เวลาจริงในการสอบเทียบเพื่อ เก็บข้อมูลการคำนวณเป็นข้อมูลในรูปแบบของรอบต่อวินาที ดังนั้น การสอบเทียบ จะใช้ผลของการคำนวณด้วยการป้อนข้อมูลบางอย่าง ในลำดับของการสร้างสเกลทางขาออก

 

      นอกจากที่กล่าวมาข้างต้น การสอบเทียบมักจะนำมาใช้ในการทดสอบระบบแมคาทรอนิกส์ ในระดับของการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ หน่วยควบคุมการส่ง จะสามารถใช้ชุดของการสอบเทียบ เช่น เมื่อใช้ในยานยนต์จะทำการวัดรอบเครื่องยนต์, โหลดของเครื่องยนต์ และความเร็วของยานยนต์ เพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนเกียร์

 

      ดังนั้นบ่อยครั้งจะรู้ได้ด้วย คุณลักษณะสถิติของเครื่องมือวัด หรือฮีสเตอร์ซิส (Hysteresis) ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนในการเคลื่อนที่จากเกียร์สองไปสู่เกียร์สาม และจากเกียร์สามไปสู่เกียร์สอง ที่อาจแตกต่างกัน

 

 

 

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“สิ่งที่ย้อนไม่ได้ คือเวลา

สิ่งที่หนีไม่ได้ คือความตาย

สิ่งที่ชื้อไม่ได้ คือ สุขภาพ และชีวิต

สิ่งที่มองไม่เห็น คือใจคน

สิ่งที่ต้องอดทน คือใจตัวเอง”

 

 

 

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา