3.2.2 ตัวแปลงจากอนาล็อก ไปเป็นดิจิตอล
เอดีซี โดยทั่วไปสามารถทำงานได้สองประเภทของพารามิเตอร์ คือ ช่วงของขาเข้าอนาล็อก และช่วงขาออกของดิจิตอล ยกตัวอย่างเช่น เอดีซีที่แปลงแรงดันไฟฟ้าที่ยกระดับจากช่วง 0 – 12 โวลต์ ไปเป็นหนึ่งไบต์ ของ 8 บิต
ในตัวอย่างนี้ การนับแต่ละครั้งจะเป็นค่าไบนารี่ ซึ่งจะมีผลต่อการตอบสนองที่เพิ่มขึ้น จากการเพิ่มขึ้นของแรงดันไฟฟ้าที่วัดได้จากอุปกรณ์อนาล็อก หาค่าที่วัดได้เท่ากับ 1/256 ของค่าสูงสุด คือค่า 12 โวลต์ ก็คือมีการเปลี่ยนที่ผิดปกติต่อการแปลงนี้
อย่างไรก็ดี ถ้านับจากค่าที่แสดง 0V ด้วยค่า 128 ซึ่งจะเป็นครึ่งหนึ่งของค่าสูงสุด นั่นก็คือ 6โวลต์ ในตัวอย่างนี้ สำหรับค่าตัวเลขทศนิยมสูงสุดของ 255 แสดงให้เห็นเป็นอัตราส่วน 255/256 ของค่าสูงสุด หรือทำการเทียบค่าเท่ากับแรงดันไฟฟ้า 11.953125 โวลต์
ตารางเทียบค่าดูได้จากด้านล่าง
เลขฐานสอง
|
เลขฐานสิบ
|
แรงดันไฟฟ้า
|
0000 0000
|
0
|
0.0
|
0000 0001
|
1
|
0.00390625
|
1000 0000
|
128
|
6.0
|
1111 1111
|
255
|
11.953125
|
ตารางที่ 3.1 ตารางเทียบค่าแรงดันไฟฟ้า กับเลขฐานสอง กับฐานสิบ
ตัวอย่างเอดีซี ที่ทำงานอยู่ในไมโครคอนโทรลเลอร์ ของโมโตโรล่า เฮชซี 12 (Motorola HC12) สร้างออกมาค่า 10 บิต ซึ่งอาจไม่ละเอียดพอ เพื่อให้เกิดความละเอียด จะเพิ่มค่าไปเป็น ไบต์ เดียวของข้อมูลที่มีค่าเท่ากับ 10 บิตนี้ เอดีซีก็จะให้ความละเอียดเพิ่มขึ้น
รูปแผงไมโครคอนโทรลเลอร์ โมโตโรล่า เฮชซี 12
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
รูปแผงไมโครคอนโทรลเลอร์ โมโตโรล่า เฮชซี 12 วัดอุณหภูมิ
การใช้ช่วงอินพุตจาก 0 – 5 โวลต์ ความละเอียดในจุดทศนิยมต่อบิตที่น้อยที่สุดที่มีความสำคัญ ก็คือ 4.88 มิลลิโวลต์ ถ้าหากเอดีซีมีเอาพุตอยู่ 8 บิต ค่าความละเอียดต่อบิตจะเป็น 19.5 มิลลิโวลต์ ซึ่งมีความแตกต่างกันสี่เท่า
แรงดันไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่ เช่น จาก 0 – 12 โวลต์ สามารถปรับขนาดได้ด้วยการแบ่งแรงดันให้พอดีกับช่วง 0 – 5 โวลต์ ทำให้แรงดันไฟฟ้าที่มีขนาดเล็กสามารถขยายครอบคลุมทั้งช่วงได้
กระบวนการที่เรียกว่า การประมาณการ (ใช้เพื่อการประมาณการอย่างต่อเนื่องในรีจิสเตอร์ หรือเอสเออาร์ (SAR) ในชิปโมโตโรล่า) ซึ่งใช้ในการคำนวณค่าดิจิตอลให้มีความถูกต้อง
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“พระพุทธเจ้า
ไม่ได้สอนให้เรามีความสุข
แต่พระองค์ สอนให้เรารู้จักทุกข์
ให้เราเรียนรู้ทุกข์
และเข้าใจทุกข์
จากนั้นก็ หาเหตุแห่งทุกข์
แล้วกลับไปแก้เหตุที่ทำให้เกิด
ทุกข์”
|