บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 964
เมื่อวาน 984
สัปดาห์นี้ 11,993
สัปดาห์ก่อน 29,853
เดือนนี้ 59,150
เดือนก่อน 65,987
ทั้งหมด 4,874,402
  Your IP :3.147.36.106

ด้านบนแสดงให้เห็นถึงยานยนต์ที่มีความสามารถตรวจจับด้วยเรดาร์คลื่นมิลลิเมตร นี้เป็นเทคโนโลยีที่สามารถใช้ในการควบคุมระยะทางระหว่างรถยนต์เรา และรถยนต์ หรือสิ่งกีดขวางคันอื่น โดยมีการทำงานร่วมกันแบบผสมผสานกันระหว่างเช็นเซอร์ตรวจจับการควบคุมการขับขี่ และระบบเอบีเอส คนขับสามารถตั้งค่าความเร็ว และระยะทางตามความต้องการระหว่างคันหน้าของเขา

 

      ระบบเอบีเอส และระบบควบคุมการเคลื่อนที่จะทำงานไปพร้อมกันเพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับความสามารถที่น่าทึ่งนี้ เป็นภาคต่อของความสามารถในการขับเคลื่อนหลบหลีกสิ่งกีดขวางแบบกึ่งอัตโนมัติ ซึ่งรถยนต์รักษาระยะทางระหว่างคันหน้าอย่างคงที่ในสภาพการจราจรที่ติดขัด

 

      ส่วนในรถยนต์ที่อัตโนมัติเต็มรูปแบบถูกพัฒนามาถึงขอบเขตแมคาทรอนิกส์เมื่อไม่กี่สิบปีมานี้ ซึ่งมีการสนับสนุนการตรวจสอบการวิจัยจากศูนย์วิจัยจากการต่อยอดรถยนต์ระบบกึ่งอัตโนมัติ พร้อมกันกับมีระบบการวางแผนการเดินทางด้วยระบบจีพีเอส (GPS) ตามการจราจรที่เกิดขึ้นจริง และที่มีการอัพเดตอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังมีระบบหยุดรถ และเคลื่อนที่ได้อย่างอัตโนมัติ

 

      ความเกี่ยวข้องซึ่งกันก็มี ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกอย่างชัด หรือดีจีพีเอส (Differential Global Positioning Systems: DGPS), การประมวลภาพตามเวลาจริง (Real-time image processing) และการวางแผนเส้นทางแบบพลวัต (Dynamic path planning)

 

รูปดีจีพีเอส

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

รูปตัวอย่างการวางแผนเส้นทางแบบพลวัต

 

      ระบบแมคาทรอนิกส์ในอนาคตที่ใช้ในยานยนต์อาจมีการใช้กระจกป้องกันหมอกไอน้ำ มีการตรวจจับความชื้น กับอุณหภูมิ และมีการควบคุมอุณหภูมิ (Climate control), มีระบบจอดรถด้วยตัวเอง (Self-parallel parking)

 

รูประบบจอดรถด้วยตัวเอง

 

ระบบอุปกรณ์ช่วยจอดรถแบบถอยหลัง (Rear parking aid), เครื่องช่วยในการเปลี่ยนเลน (Lane change assistance), เบรกแบบของไหลผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (Fluidless electronic brake-by-wire) และการทดแทนระบบไฮดรอลิกส์ด้วยระบบเซอร์โวไฟฟ้า ขณะที่รถยนต์ในโลกนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้น จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเข้มงวดในเรื่องการปล่อยมลพิษออกสู่บรรยากาศ

 

ระบบอุปกรณ์ช่วยจอดแบบถอยหลัง

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      ผลิตภัณฑ์ที่มาจากทางแมคาทรอนิกส์จะถูกนำพิจารณาใช้ในระบบยานยนต์ ยิ่งเรื่องมลภาวะ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะนำมาใช้ในเรื่อง การควบคุมการปล่อยก๊าซไอเสีย เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbonmomoxide: CO), ไนโตรเจนออกไซด์ (Nitrogenoxide: NO) และไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbon) จากการเพิ่มขึ้นของยานยนต์

 

      ในรถยนต์หนึ่งคัน ตัวไมโครคอนโทรลเลอร์อาจมีถึง 30 – 60 ชุด และมอเตอร์ไฟฟ้าอาจมีถึง 100 ตัว น้ำหนักของสายไฟอาจมีถึง 100 กิโลกรัม เซ็นเซอร์ตรวจจับที่หลากหลาย และซอฟวแวร์ใช้งานที่มีรหัสเป็นพัน ระบบทางกลแบบธรรมดาจะมีใช้น้อยลงเท่าที่จำเป็นในรถยนต์ และจะค่อย ๆ เปลี่ยนรูปแบบมาใช้ระบบแมคาทรอนิกส์เกือบทั้งหมด  

 

 

1.5 อนาคตของแมคาทรอนิกส์

 

      แมคาทรอนิกส์เป็นคำที่กล่าวครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นประมาณปี พ.ศ. 2513 และมีการพัฒนาต่อยอดเรื่อย ๆ จากประสบการณ์ที่ได้มา จนนำไปสู่สายพันธุ์พิเศษที่มีความฉลาด ซึ่งมันเป็นขั้นตอนตามธรรมชาติในวิวัฒนาการของกระบวนการการออกแบบทางวิศวกรรมสมัยใหม่

 

      วิศวกรบางคนที่อยู่ในแวดวงนี้ แมคาทรอนิกส์ดูเหมือนไม่มีอะไรใหม่ แต่สำหรับคนอื่น ๆ มันอาจเป็นถึงปรัชญาของการออกแบบ เป็นทั้งศาสตร์ และศิลป์ของแขนงทางวิศวกรรม

 

      แต่แน่นอนว่าแค่แมคาทรอนิกส์อย่างเดียวไม่ได้ครอบคลุมทุกเรื่อง จะต้องมีองค์ความรู้อื่น ๆ เข้ามาประกอบด้วยจึงจะมีความสมบูรณ์ในงานที่จะออกมา มันถึงต้องมีการทำงานร่วมกันของส่วนประกอบหลัก ๆ คือ ทางกล, ไฟฟ้า และระบบคอมพิวเตอร์ ผสมผสานกันไปจนสามารถเข้ากันได้ ในส่วนที่แมคาทรอนิกส์เข้าไปถึงงานในสาขาต่าง ๆ โดยการอธิบายลักษณะส่วนประกอบเหล่านี้ที่จะรวมถึง

 

·       แบบจำลองระบบทางฟิสิกส์

 

·       เซ็นเซอร์ และอุปกรณ์

 

·       ระบบ และสัญญาณ

 

·       ระบบคอมพิวเตอร์ และตรรกะ

 

·       ซอฟแวร์ และการเก็บข้อมูล

 

วิศวกร และนักวิทยาศาสตร์จากทุกสาขาวิชาสามารถเข้าถึงความรู้ด้านแมคาทรอนิกส์ นักเรียนที่อยู่ในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับแมคาทรอนิกส์ สมควรที่จะแสวงหาความรู้ในการออกแบบอย่างขันแข็ง สถาบันการศึกษาควรจะมุ่งไปสู่การเรียนการสอน รวมไปถึงการครอบคลุมของสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบแมคาทรอนิกส์

 

รูปอนาคตของแมคาทรอนิกส์

 

      ในอนาคต การเติบโตของระบบแมคาทรอนิกส์ อาจจะมีการเติบโต มีความก้าวล้ำเพื่อทดแทนระบบเดิม การเติบโตของระบบแมคาทรอนิกส์โดย การใช้งานเทคโนโลยี (Enabling technologies) ยกตัวอย่าง การประดิษฐ์ไมโครโปรเซสเซอร์ จะมีผลอย่างมากในการออกแบบระบบแมคาทรอนิกส์ และออกแบบของระบบแมคาทรอนิกส์แบบใหม่

 

      คาดหวังไว้ว่าในอนาคตยังเกิดความก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้งในการพัฒนาด้านไมโครโปรเซสเซอร์ และไมโครคอนโทรลเลอร์, ตัวตรวจจับ และอุปกรณ์ทำงาน อีกทั้งยังมีความก้าวหน้าในการใช้งานของ เมมส์,  วิธีการปรับตัวเพื่อการควบคุม (Adaptive control methodologies) และวิธีการโปรแกรมแบบในเวลาจริง (Real-time programming methods), เทคโนโลยีเครือข่าย และไร้สาย, เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์ช่วยในงานวิศวกรรม (Computer Aided Engineering: CAE) ใช้สำหรับการสร้างแบบจำลองขั้นสูง, การสร้างต้นแบบเสมือน และการทดสอบ

 

      การพัฒนาต่อเนื่องรวดเร็วในสิ่งที่กล่าวข้างบนนี้ จะมีส่วนสำคัญที่ช่วยเร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความเป็นอัจฉริยะ อินเตอร์เน็ตก็เป็นเทคโนโลยีหนึ่ง เมื่อมีการใช้ประโยชน์ในการผสมผสานกับเทคโนโลยีไร้สาย ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างแมคาทรอนิกส์รุ่นใหม่ ๆ ขณะที่การพัฒนาในยานยนต์นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ที่มีการพัฒนาทางแมคาทรอนิกส์

 

รูปเทคโนโลยีแมคาทรอนิกส์

 

      นอกจากนี้ก็ยังมีอีกหลายอย่างมากมายที่เป็นระบบอัจฉริยะที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน รวมถึงบ้านที่มีความเป็นอัจฉริยะ เช่น เครื่องล้างจาน, เครื่องดูดฝุ่น, ไมโครเวฟ และอุปกรณ์เครือข่ายไร้สายในบ้าน อยู่ในแนวคิดของเครื่องกลเป็นมิตรกับมนุษย์ (Human-friendly machines) ยังมีการใช้ในโรงพยาบาล เช่นหุ่นยนต์ที่ใช้ในการผ่าตัด และเซ็นเซอร์ในการปลูกถ่าย และกระตุ้นอวัยวะ ส่วนอื่น ๆ

 

      นอกจากนี้ที่ใช้ประโยชน์จากแมคาทรอนิกส์เช่น หุ่นยนต์, การผลิต, เทคโนโลยีอวกาศ และการขนส่ง ฯลฯ ในอนาคติแมคาทรอนิกส์ยังคงเปิดกว้างอยู่

 

จบบทที่ 1

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

 

“คนเรามีสองหู
แต่มีปากเดียว
เพื่อที่จะให้ฟังมากหน่อย
และพูดให้น้อยหน่อย”

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา