ระบบเอบีเอสใช้เพื่อชะลอรถเพื่อให้เกิดการควบคุมรถตามที่ต้องการ ในยานยนต์ทุกวันนี้ใช้ซีพียูแบบ 8, 16 หรือ 32 บิต เพื่อนำไปควบคุมในระบบต่าง ๆ
ไมโครคอนโทรลเลอร์มีหน่วยความจำ และอุปกรณ์แบบออนบอร์ด อันได้แก่ อีอีพรอม / อีพรอม (EEPROM / EPROM), อินพุตแบบดิจิตอล และอนาล็อก, ตัวแปลง หรือคอนเวอร์เตอร์ เอ / ดี, ปรับความกว้างพัลซ์ (Pulse Width Modulation: PWM), ฟังชันก์จับเวลา (Timer functions) เช่น การนับเหตุการณ์ และวัดความกว้างของพัลซ์, อินพุตจัดลำดับความสำคัญ และในบางกรณีก็เป็นแบบกระบวนการสัญญาณดิจิตอล
รูปตัวอย่างแผงบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
รูปชิปโปรเซสเซอร์ในแผงบอร์ด
โปรเซสเซอร์ 32-บิตนำมาใช้ในการทำงานของเครื่องยนต์, การควบคุมการส่งกำลัง และถุงลมนิรภัย
รูปอีซียูที่ใช้ควบคุมเครื่องยนต์หัวฉีดที่ใช้โปรเซสเซอร์ 32 บิต
ส่วนโปรเซสเซอร์ 16-บิต ถูกนำมาใช้ในสำหรับระบบเอบีเอส, ทีซีเอส, วีดีซี, แผงหน้าปัด (Instrument cluster) และระบบปรับอากาศ
รูปหน้าปัดรถยนต์ที่ใช้ไมโครโปรเซสเซอร์ 16 บิต
ส่วนโปรเซสเซอร์ 8-บิต ใช้ในที่นั่งเบาะไฟฟ้า, การควบคุมกระจกมองข้าง และระบบกระจกไฟฟ้า
รูปกระจกมองข้างของรถยนต์ซีตรอง ซี 3 ใช้ไมโครโปรเซสเซอร์ 8 บิต
ทุกวันนี้ ในรถยนต์หนึ่งคัน จะมีชุดไมโครคอนโทรลเลอร์อยู่ 30 - 40 ชุด และคาดว่าน่าจะเพิ่มขึ้นด้วยขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่มีใช้ในรถยนต์ที่มีการพัฒนาแบบ ระบบแยกส่วน (Modular systems) เพื่อให้เป็นแบบระบบย่อยของแมคาทรอนิกส์ ที่เรียกว่าแบบ เสียบแล้วใช้งานได้เลย หรือปลั๊ก แอนด์ เพลย์ (Plug-n-play)
แมคาทรอนิกส์ได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นที่นำมาใช้ในระบบต่าง ๆ ในรถยนต์สมัยใหม่ นับตั้งแต่ระบบพื้นฐาน ไปจนถึงระบบที่มีความซับซ้อน
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 ผู้ใช้งานยานพาหนะมีความคาดหวัง และให้ความน่าเชื่อถือในรถยนต์ที่ถูกผลิตใช้งานมากขึ้น ทุกวันนี้คุณสมบัติทางด้านแมคาทรอนิกส์ได้สร้างความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเทียบกับระบบกลไกแบบดั้งเดิม
ระบบกลไกที่ทำงานร่วมกับอิเล็กทรอนิกส์ที่ผสมผสานกันจนกลายเป็นองค์ประกอบของแมคาทรอนิกส์ ส่งผลทำให้ยานยนต์มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ผู้ผลิตยานยนต์พยายามจะหาคุณสมบัติที่เป็นไฮเทค ซึ่งจะทำให้เกิดความแตกต่างของรถยนต์ในแต่ละค่ายยานยนต์ เมื่อเทียบกับผู้ผลิตเจ้าอื่น ๆ
การประยุกต์ใช้งานของระบบแมคาทรอนิกส์ในโลกของยานยนต์ เริ่มตั้งแต่ยานยนต์ที่เป็นแบบกึ่งอัตโนมัติ ไปจนถึงยานยนต์ที่เป็นอัตโนมัติเต็มรูปแบบ มีการเพิ่มประสิทธิภาพในด้านความปลอดภัย การลดมลพิษ รวมไปถึงลักษณะอื่น ๆ การควบคุมการขับขี่ และระบบเบรกที่เป็นอัจฉริยะ ที่มีการใช้ระบบที่เป็นของไหลไฮดรอลิกส์
ส่วนความก้าวหน้าอื่น ๆ ที่มีนัยสำคัญ นั่นก็คือ การเข้าไปสู่เครือข่ายไร้สายของยานยนต์ ทำให้สามารถส่งข้อมูลไปที่ศูนย์ควบคุม และสามารถทำให้เกิดการสื่อสารระหว่างยานยนต์ต่อยานยนต์ ที่เรียกว่า เทเลมาติกส์ (Telematics: การสื่อสารสองทางระหว่างรถยนต์และศูนย์บริการสารสนเทศจราจรที่ให้ความปลอดภัยและความมั่นใจแก่ผู้ขับขี่ยานพาหนะ)
รูปแสดงถึงการสื่อสารของยานยนต์ที่เรียกว่า เทเลมาติกส์
ซึ่งการใช้งานประกอบไปด้วย สั่งการด้วยเสียง, โทรศัพท์มือถือแบบแฮนด์ฟรี, การนำทาง (Navigation), การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต, อีเมล์ และการสั่งการด้วยเสียง ซึ่งตอนนี้มักจะมีใช้ในเมืองใหญ่ ๆ ที่มีการเจริญเติบโต
รูปแสดงเครือข่ายไร้สายเทเลมาติกส์
วิดีโออธิบายเรื่องเทเลมาติกส์
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“สูง-ต่ำอยู่ที่ทำตัว ดี-ชั่วอยู่ที่ตัวทำ”