บทความ
 เคมี (Chemistry)
 สู่อิสรภาพทางการเงิน (To Financial Freedom)
 การคำนวณ และออกแบบ (Calculation and design)
 เทคโนโลยีการเกษตร (Agricultural Technology)
 เครื่องมือกล (Machine tools)
 Laws of Nature
 อวกาศ
 พลังงาน
 อิเล็กทรอนิกส์
 ทฤษฏีสัมพัทธภาพ
 ไครโอเจนิกส์
 เฮลิคอปเตอร์
 เกียร์อัตโนมัติ
 โทรศัพท์มือถือ
 ยาง
 รถไฟความเร็วสูง
 คลัตช์ และกระปุกเกียร์ธรรมดา
 เจ็ทแพ็ค
 แผ่นดินไหว
 คู่มือ ต้องรอด
 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ
 ดาวเทียม
 เชื่อมโลหะใต้น้ำ
 กังหันลมผลิตไฟฟ้า
 เครื่องยนต์ดีเซล
 เครื่องยนต์เบนซิน
 คัมภีร์สงครามซุนวู ฉบับเข้าใจง่าย
 โลหะ
 ฟิสิกส์
 ปัญหาพระยามิลินท์
 ยานยนต์สมัยใหม่
 แมคาทรอนิกส์
 เครื่องกล 6 แกน
 เครื่องยนต์เจ็ท
 หุ่นยนต์
 สินค้า ผลงาน
 เขียนแบบ
 ออกแบบ คำนวณ
 วางโครงการ
 งานโลหะ
 อุปกรณ์
 เครื่องกล
วันนี้ 1,065
เมื่อวาน 2,159
สัปดาห์นี้ 15,302
สัปดาห์ก่อน 12,965
เดือนนี้ 56,502
เดือนก่อน 76,610
ทั้งหมด 4,400,999
  Your IP :3.137.171.121

เครื่องกล 6 แกน

 

1. บทนำเข้าสู่ความรู้เครื่องกล 6 แกน

 

วิดีโอระบบหกแกน

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      เครื่องกล และเครื่องมือกลทางอุตสาหกรรมส่วนมาก เช่น เครื่องกัด, เครื่องเจาะ, เครื่องกลึง, แขนกลแบบแกนเรียงต่อกัน (Stacked axis robots) และอื่น ๆ มีสถาปัตยกรรมการสร้างโดยใช้พื้นฐานวิชาทาง จลศาสตร์ (kinematic: การเคลื่อนที่ของวัตถุโดยไม่ได้อ้างถึงแรงอันเป็นสาเหตุให้เกิดการเคลื่อนที่)

 

 

รูปแขนกลแกนเรียงต่อกัน

 

      แขนกลแบบแกนเรียงต่อกันจะทำงานแบบเรียงลำดับอนุกรม ที่เป็น วนรอบเปิด (Open loop) ซึ่งหมายถึงการรองรับแต่ละแกนเรียงต่อกัน (Series) แบบแกนต่อแกนไปจนถึงปลายของแขนกล ซึ่งจะรวมถึงข้อต่อ (Joints) และอุปกรณ์ทำงาน (Actuators) รูปด้านล่าง

 

 

รูปสถาปัตยกรรมหุ่นยนต์ (กลไกชิ้นต่อโยงต่อแบบอนุกรม)

 

      หุ่นยนต์ (แขนกล) ตั้งอยู่บนหลักการของส่วนประกอบที่ตั้งฉากกันของแกนสามแกน โดยแกนหนึ่งเป็นฐาน และอีกสองแกนจะเกิดการหมุน สามารถยืดออกไปทำงานได้ แต่ละส่วนการเคลื่อนที่จะทำงานอยู่ในรูปแบบ ระบบพิกัดคาร์ทีเชียน (Cartesian coordinate system) เพื่อควบคุมการเคลื่อนที่ทำงาน ภายในขอบเขตพื้นที่ที่กำหนด โดย ส่วนประกอบจะมี ส่วนฐาน (Bed), ส่วนโยง (Saddle) และอื่น ๆ

 

      การวิเคราะห์ทางจลศาสตร์ ของระบบแกนเรียงซ้อนกัน หรือเรียงลำดับอนุกรมเหล่านี้ อาจเกิดข้อผิดพลาดขึ้นมาได้ ถ้ามีการทำงานไม่สัมพันธ์กันในแต่ละแกน อาทิเช่น ถ้าเกิดความคลาดเคลื่อนในแกนใดแกนหนึ่ง จะส่งผลทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนขึ้นกับแกนทั้งหมดได้ จะทำให้ช่วงปลายที่ใช้ทำงานของแขนกลจะหลุดตำแหน่งไปจากตำแหน่งเดิม และความผิดพลาดอาจจะมีเพิ่มมากขึ้นถ้าเกิดความคลาดเคลื่อน เกิดขึ้นในแต่ละจุดหมุน

 

      นี้ก็เป็นข้อเสียหนึ่งของหุ่นยนต์ในระบบแขนกลแกนต่อโยงเรียงซ้อน และเพื่อให้เกิดความเสถียรในการเคลื่อนที่ทำงาน จึงมีความจำเป็นที่ต้องทำให้มันมีน้ำหนัก และออกแบบสร้างให้มันแข็งแกร่งมาก แต่ก็จะส่งผลทำให้มันมีความเทอะทะในการเคลื่อนที่ทำงาน

 

      ส่วนเครื่องกล และเครื่องมือกลสมัยใหม่ ในปัจจุบันจะมีข้อดีก็คือ จะทำงานในลักษณะวนรอบปิด (Closed-loop) ทำงานแบบจลศาสตร์ขนาน (Parallel) ซึ่งยังคงเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่ในศตวรรษที่ 21 การพัฒนาจึงยังคงมีอย่างต่อเนื่อง เป็นสิ่งที่น่าสนใจเป็นจำนวนมาก

 

      มีต้นแบบมากมายที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยบริษัทที่มีชื่อเสียงหลายบริษัท ตัวต้นแบบมีการทดสอบเพื่อให้ได้ผลเป็นไปตามแนวคิดตามระบบจลศาสตร์แบบขนาน (Parallel Kinematic System: PKS) ระบบลักษณะเช่นนี้เราจะรู้จักโดยเรียกมันว่า ระบบแบบหกแกน (Hexapod) และสามแกน (Tripods) รูปด้านล่าง

 

 

รูปเครื่องกลระบบจลศาสตร์แบบขนาน

 

 วิดีโอเทคโนโลยีเครื่องกลหกแกน OKUMA PM-600V

 

      ในรูปด้านบนเป็นรูปแบบอย่างที่มีชื่อเรียกว่า กลไกจลศาสตร์ขนาน (Parallel Kinematic Mechanism: PKM) ที่จะกำลังกล่าวนี้ จะได้ศึกษาจนรู้จัก การทำงานของตำแหน่งอุปกรณ์หกแกนขั้นพื้นฐานที่ถูกนำมาใช้งานในเทคโนโลยีเครื่องกล และเครื่องมือกล โดยจะกล่าวถึงลักษณะการออกแบบ, ส่วนประกอบ และลักษณะการติดตามนำร่อง

 

วิดีโอเครื่องกลหกแกน

 

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“จงประหยัด คำติ แต่อย่าตระหนี่ คำชม”

 

 

 

 

 

 

Share on Facebook
 
Google

WWW
http://www.thummech.com/
ฟังเพลงออนไลน์ คลิกเลย
 
Copyright © 2013-2015 Thummech All Rights Reserved. 
Powered by  ThaiWebPlus 
คนธรรมดามีความรู้คือคนฉลาด คนฉลาดมีความเข้าใจคือคนธรรมดา