อย่างไรก็ตาม ขณะที่มีการออกแบบขึ้นมาใหม่ ๆ กลไกหกแกนก็อาจยังคงมีปัญหาบางอย่างที่ต้องทำการพัฒนา อีกทั้งยังมีวิธีการปรับแต่ง เพื่อกำจัดจุดอ่อนของข้อจำกัดในกลไกหกแกน ซึ่งประกอบไปด้วย:
รูปกลไกหกแกน
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
1. ความเสียดทาน (Friction) นี้เป็นปัญหาที่สำคัญเป็นหลัก สำหรับกลไกหกแกน เนื่องจากถ้าค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานมีค่าสูง (m = 0.8) จะทำให้ความถูกต้องแม่นยำ และการทำงานแบบซ้ำ ๆ จะทำให้เกิดปัญหาในทางลบ ซึ่งในการออกแบบขั้นสูง จะใช้เทคโนโลยีที่มีการเคลือบโลหะด้วยเซรามิค และสารหล่อลื่นชนิดพิเศษ ซึ่งจะทำให้ค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานอาจลดลงมาถึง 0.2
รูปตัวอย่างข้อต่อเซรามิค
2. ความยาวของสตรัด ในเรื่องของความแม่นยำเที่ยงตรงของกลไกหกแกนจะเป็นสัดส่วนผกผันต่อความยาวสตรัด เนื่องมาจากมันอาจโมเมนต์ดัดโค้งบิดเบี้ยวได้ ปัญหานี้อาจเอาชนะโดยการทำการวิเคราะห์กลศาสตร์ของชิ้นส่วนเครื่องจักรกลในแต่ละส่วนประกอบของชิ้นสตรัดก่อนที่จะนำมาติดตั้งในเครื่องจักร
รูปแท่งสตรัดที่ยาวขณะทำงานอาจเกิดการดัดโค้งได้
รูปการวิเคราะห์ทางกลศาสตร์ของกลไกหกแกน
3. ขณะทำงานเกิดความร้อนขึ้น นี้เกิดจากการเคลื่อนที่ของสตรัดอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับการทำงานของเพลาหมุนทำให้เกิดความเร็วรอบด้วยความเร็วสูง (20,000-30,000 rpm) วิธีหนึ่งในการตรวจสอบปัญหานี้ก็คือ การตรวจสอบสตรัดในแบบโหมดเรียลไทม์ ด้วยการใช้วิเคราะห์ด้วยวิธีการไฟไนต์อิลิเมนต์ (Finite Element Method: FEM) และมีการปรับค่าแบบอัตโนมัติเพื่อทำการชดเชยแนวทางการปรับไปยังซอฟแวร์ตามการเกิดความร้อนเพิ่มขึ้นที่วัดได้จากสตรัด ในการนี้ อินเจอโซลก็มีการปรับปรุงเทคนิคทางความร้อนโดยการใช้ เลเซอร์ป้อนกลับ (Laser feedback) และส่งกลับไปประมวลผล และทำการแก้ปัญหาของสตรัดที่เกิดความร้อนแบบผิดปกติในกลไกหกแกน
รูปตัวอย่างการวิเคราะห์ชิ้นส่วนด้วยไฟไนต์อิลิเมนต์
4. การสอบเทียบ (Calibration) กลไกหกแกนมีความแม่นยำเที่ยงตรง ไม่เพียงแต่ขึ้นอยู่กับการควบคุมให้แม่นยำเท่านั้นของความยาวสตรัด แต่ยังขึ้นอยู่กับความรู้ของลักษณะทางเรขาคณิตของมัน ตามความคาดเคลื่อนของสตรัดกลไกหกแกน ปัจจัยมากมายเล่นกฎในสุดท้ายของกลไกหกแกน พารามิเตอร์มากมาย ต้องระบุเพื่ออธิบายต่อการพิจารณาลักษณะทางเรขาคณิตของกลไก นี้ทำผ่านการสอบเทียบที่ยุ่งยากของกลไก ซึ่งยังคงเป็นปัญหาเปิด ความท้าทายต้องเผชิญกับการพัฒนาระบบสอบเทียบนั่นจะสามารถรับประกันได้อย่างดีของความแม่นยำ ทำให้กลไกหกแกนสามารถผลิตชิ้นงานที่ซ้ำ ๆ กันได้ภายใต้ค่าความเผื่อที่ระบุไว้ ระบบสอบเทียบด้วยตัวเอง ควรยอมให้กลไกหกแกนเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของตัวเอง และแก้ไขความไม่ถูกต้องใด ๆ ที่ตรวจพบ
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“ความทุกข์เกิดขึ้นจริง ๆ เพียงครั้งเดียว
แต่ความคิด เกิดวนเวียนซ้ำซากนับพันครั้ง”
ท่านว. วชิรเมธี
4 ส.ค.2553
|