4.3.2 ข้อต่อบอลแยกสองทางแบบแม่เหล็ก
เป็นลักษณะที่สำคัญของข้อต่อที่ทำให้เกิดการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ มันทำมาจากเหล็กนีโอไดเมียม (Neodymium) ที่หายาก และมีราคาแพงมาก
รูปธาตุนีโอไดเมียม
แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window
รูปแม่เหล็กนีโอไดเมียมแม่เหล็กแรงสูง
ถ้วยเบ้าซอกเก็ตแม่เหล็กที่เป็นโบรอนที่มีลูกบอลแยกสองทางบรรจุอยู่ในช่อง การเคลื่อนที่ของลูกบอลแยกสองทางสามารถเคลื่อนที่ได้น้อยกว่าครึ่งเมื่ออยู่ในถ้วย
แต่เมื่อนำออกจากช่องบรรจุทำให้องศาอิสระมีมาก การเคลื่อนที่ก็กว้างมากขึ้น ซอกเก็ตแม่เหล็กมีลักษณะการเคลื่อนที่ป้องกันการเคลื่อนที่ของแกนสตรัดเกินระยะพิกัด การเคลื่อนที่แยกออกจากกันของสตรัดเมื่อมีแรงมากระทำมากเกินไปจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่กลไก
ส่วนบริเวณที่มีการเคลื่อนที่จะมีสารหล่อลื่นอยู่ระหว่างส่วนเคลื่อนที่ที่เป็นลูกบอล กับช่องซอกเก็ตทำให้มีการเคลื่อนที่ได้ดียิ่งขึ้น
ข้อต่อแม่เหล็กมีการใช้งานบ่อยเหมาะกับแรงที่กระทำที่มีไม่มากเกินไป ยกตัวอย่างเช่น ใช้ในเครื่องตัดเลเซอร์, เครื่องตัดวัสดุด้วยน้ำ (WJM) และเครื่องวัดระยะพิกัด (Coordinate Measuring Machines: CMM)
รูปเครื่องวัดระยะพิกัด
รูปเครื่องตัดวัสดุด้วยน้ำ
4.3.3 ข้อต่อบอลแยกสองทางแบบทางกล
แบบทางกลถูกพัฒนาเพื่อนำนำมาใช้งานในเครื่องจักรกลเบา คล้ายกับข้อต่อแบบแม่เหล็ก แต่ข้อต่อทางกลจะสร้างขึ้นจากจำนวนขั้นตอนที่เคลื่อนที่ ในแต่ละการกระจายในแต่ละจุดเคลื่อนที่มีการเคลื่อนที่อิสระ ซึ่งแตกต่างจากข้อต่อแม่เหล็ก ลูกบอลจะถูกเก็บไว้ใน ถ้วยวงแหวนกัก (Retaining ring)
รูปข้อต่อสองทางแบบทางกล
การออกแบบ รูปร่างแบบนี้จะทำให้สามารถรับแรงพิเศษ และกำจัดปัญหาของโลหะที่มีสิ่งปนเปื้อนเศษโลหะ อีกทั้งการเคลื่อนที่จะไม่เกิดระยะขีดจำกัดที่ออกแบบไว้
ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก
“จะไม่มีเชื้อโรคใดเจาะผ่านภูมิคุ้มกันของเราได้
หากมีจิตใจที่คิดแต่สิ่งดี
ภายในวิกฤตที่เลวร้าย หากใช้สติและเหตุผลพิจารณาอย่างรอบคอบ
เราอาจจะได้เห็นด้านดี ๆ ของชีวิตที่ซ่อนอยู่ก็ได้”
|